การเสริมสร้างความต้านทานของต้นยางพาราต่อการเข้าทำลายเชื้อราโรครากขาว - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การเสริมสร้างความต้านทานของต้นยางพาราต่อการเข้าทำลายเชื้อราโรครากขาว (/showthread.php?tid=1039) |
การเสริมสร้างความต้านทานของต้นยางพาราต่อการเข้าทำลายเชื้อราโรครากขาว - doa - 01-05-2016 การเสริมสร้างความต้านทานของต้นยางพาราต่อการเข้าทำลายเชื้อราโรครากขาว นริสา จันทร์เรือง, บัญญัติ สิทธิผล และอุไร จันทรประทิน ศูนย์วิจัยยางสงขลา สถาบันวิจัยยาง ศึกษาแนวทางการควบคุมและลดการระบาดของโรครากขาวของยางพารา โดยใช้สารเสริมสร้างความแข็งแรงของรากยางพารา โดยทำการทดสอบประสิทธิภาพของสารเสริม 4 ชนิด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซิลิกอน น้ำสกัดชีวภาพ และไคโตรซาน ในสภาพห้องปฏิบัติการ ผลการทดลองพบว่า สารเสริมทั้ง 4 ชนิดในความเข้มข้นทั้ง 4 อัตราไม่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อราโรครากขาว ยกเว้นน้ำสกัดชีวภาพในอัตรา 1.0% โดยปริมาตร สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ในระดับหนึ่ง ผลการทดลองในสภาพเรือนทดลองพบว่าสารเสริมทั้ง 4 ชนิด ไม่มีผลยับยั้งการเข้าทำลายของเชื้อรา R. lignosus โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำสกัดชีวภาพ มีอัตราการตายของต้นยางสูงคือ 60 และ 90 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สารไคโตซานและซิลิกอนที่มีคุณสมบัติเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับผนังเซลของรากยางไม่สามารถยับยั้งการเข้าทำลายของเชื้อราโรครากขาวได้ สำหรับปุ๋ยอินทรีย์มีอัตราการตายของต้นยางต่ำคือ 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ อาจเนื่องจากต้นยางได้รับสารอาหารทำให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีจึงมีความแข็งแรงทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ช้าลง
|