คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลาย RRI-CH-36/2/3 - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลาย RRI-CH-36/2/3 (/showthread.php?tid=1037)



การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลาย RRI-CH-36/2/3 - doa - 01-05-2016

การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลาย RRI-CH-36/2/3
นภาวรรณ  เลขะวิพัฒน์, พิกุล  ซุนพุ่ม และกรรณิการ์  ธีระวัฒนสุข
ศูนย์วิจัยยางหนองคาย สถาบันวิจัยยาง, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 และศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สถาบันวิจัยยาง 

          การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกพันธุ์ยางใหม่ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง การเจริญเติบโตดี ต้านทานโรค เหมาะสมสำหรับแนะนำให้ปลูกในพื้นที่กึ่งแห้งแล้งที่มีปริมาณฝนต่ำกว่า 1,600 มิลลิเมตรต่อปี รวมทั้งมีลักษณะอื่นๆ ที่ดี คุณสมบัติของน้ำยางที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมยาง และมีลักษณะของพันธุ์ยางตรงตามความต้องการของเกษตรกร โดยการทดลองนี้เป็นการนำพันธุ์ยางลูกผสมของไทยปี 2536 ที่ผ่านการคัดเลือกจากการเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นต้น 22 สายพันธุ์ มาปลูกทดลองและคัดเลือกอีกครั้งในแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลายในพื้นที่ 32 ไร่ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร เพื่อใช้ในการประเมินเสถียรภาพ (Stability Parameter) ของพันธุ์ยางก่อนนำไปใช้ในการแนะนำพันธุ์ เริ่มปลูกยางลูกผสมในปี 2551 ระยะปลูก 3 x 7 เมตร วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design จำนวน 3 ซ้ำ ๆ ละ 40 ต้นต่อแปลงย่อย ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ยาง 24 สายพันธุ์ ประกอบด้วยพันธุ์ยางลูกผสมปี 2536 (RRI-CH-36) ที่ผ่านการคัดเลือกจากการเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นต้น 22 สายพันธุ์ ได้แก่ ลูกผสม RRI-CH-36-0067, RRI-CH-36-0123, RRI-CH-36-0301, RRI-CH-36-0334, RRI-CH-36-0358, RRI-CH-36-0361, RRI-CH-36-0384, RRI-CH-36-0385, RRI-CH-36-0387, RRI-CH-36-0357, RRI-CH-36-0847, RRI-CH-36-0897, RRI-CH-36-0928, RRI-CH-36-0966, RRI-CH-36-1035, RRI-CH-36-1249, RRI-CH-36-1282, RRI-CH-36-1286, RRI-CH-36-1290, RRI-CH-36-1292, RRI-CH-36-1463 และ RRI-CH-36-1446 โดยให้พันธุ์ RRIM 600 และ RRIT 251 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ดูแลรักษาตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตโดยการวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นที่ระดับ 10 เซนติเมตรจากจุดแตกตา และวัดความสูงของต้นยางทุก 3 เดือน ผลการทดลองหลังปลูกถึงต้นยางอายุ 24 เดือน ไม่พบความแตกต่างของการเจริญเติบโตของพันธุ์ยางอย่างมีนัยสำคัญ โดยพันธุ์ RRIM 600 และ RRIT 251 ซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบมีขนาดลำต้นเฉลี่ย 2.54 และ 3.19 ซม. มีความสูงลำต้นเฉลี่ย 252.5 และ 308.5 ซม. ตามลำดับ ลูกผสม RRI-CH-36-1035 และ RRI-CH-36-0123 เป็นลูกผสมปี 36 ที่มีการเจริญเติบโตดีที่สุด โดยมีขนาดลำต้นที่ระดับ 10 ซม. เฉลี่ย 3.56 และ 3.31 ซม. และมีความสูงของลำต้นเฉลี่ย 316.1 และ 304.2 ซม. ตามลำดับ