คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ผลของสารกำจัดวัชพืชและเวลาการใช้ต่อการควบคุมวัชพืชในการผลิตถั่วเหลือง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: ผลของสารกำจัดวัชพืชและเวลาการใช้ต่อการควบคุมวัชพืชในการผลิตถั่วเหลือง (/showthread.php?tid=1005)



ผลของสารกำจัดวัชพืชและเวลาการใช้ต่อการควบคุมวัชพืชในการผลิตถั่วเหลือง - doa - 01-04-2016

ผลของสารกำจัดวัชพืชและเวลาการใช้ต่อการควบคุมวัชพืชในการผลิตถั่วเหลือง
คมสัน นครศรี, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, กลอยใจ คงเจี้ยง และนงลักษณ์ ปั้นลาย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี

          การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชทั้งประเภทใช้ก่อนและหลังวัชพืชในถั่วเหลืองวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ จำนวน 13 กรรมวิธี ประกอบด้วย การใช้สาร alachlor, clomazone, oxadiazon, flumioxazin, pendimethalin, fluazifop-butyl, imazethapyr, fenoxaprop-p-ethyl, sethoxydim fomesafen และ haloxyfop-R-methyl + fomesafen อัตรา 336, 141.6, 150, 20, 330, 30, 20 30, 45, 40.5 และ 20.4 + 40.5 กรัมai/ไร่ ตามลำดับ เปรียบเทียบกับการกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานคน และวิธีไม่กำจัดวัชพืช ทำการระหว่างเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2552 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี จังหวัดลพบุรี พบว่าสารกำจัดวัชพืชเป็นพิษต่อถั่วเหลืองเพียงเล็กน้อยในระยะ 15 วัน และไม่พบความเป็นพิษที่ระยะ 30 วัน หลังการใช้สาร ส่วนประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชพบว่า การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอกสามารถควบคุมวัชพืชได้ดี ขณะที่การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้หลังงอก imazethapyr และ haloxyfop-R-methyl ควบคุมวัชพืชได้ดี และสาร fomesafen และ fenoxaprop-p-ethyl ควบคุมวัชพืชได้ปานกลาง วัชพืชที่พบได้แก่ หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona (L.) Link.) ผักเบี้ยหิน (Trianthema portulacustrum Linn.) ผักโขมหิน (Boerhavia diffusa Linn.) และแห้วหมู (Cyperus rotundus Linn.) การกำจัดวัชพืชทุกกรรมวิธีไม่ทำให้ความสูง จำนวนกิ่ง จำนวนข้อ จำนวนฝักต่อต้น และผลผลิตของถั่วเหลืองไม่แตกต่างกัน และวิธีการทดลองทุกกรรมวิธีไม่ทำให้จำนวนต้นต่อไร่ จำนวนเมล็ดต่อต้น และน้ำหนัก 100 เมล็ด แตกต่างกัน การใช้สาร clomazone และการกำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน มีผลผลิตถั่วเหลืองมากที่สุด 287.5 และ 269.5 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ แต่ไม่แตกต่างกับการใช้สาร pendimethalin, fomesafen, alachlor, flumioxazin และ imazethapry มีผลผลิต 259.0, 258.0, 257.5, 257.5 และ 249.5 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ขณะวิธีไม่กำจัดวัชพืชมีผลผลิตน้อยที่สุดเพียง 197.5 กิโลกรัมต่อไร่