คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาและพัฒนาวิธีการพ่นสารเพื่อป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: ศึกษาและพัฒนาวิธีการพ่นสารเพื่อป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง (/showthread.php?tid=1001)



ศึกษาและพัฒนาวิธีการพ่นสารเพื่อป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง - doa - 01-04-2016

ศึกษาและพัฒนาวิธีการพ่นสารเพื่อป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง
ดำรง เวชกิจ, จีรนุช เอกอำนวย, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

         ทำการศึกษาวิธีการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสในมะม่วงโดยการพ่นสาร azoxystrobin (Amistar 25% SC) ที่สวนเกษตรกรอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน การทดลองที่ 1 ทดลองระหว่างเดือนเมษายน ถึงกรกฎาคม 2552 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี คือ พ่นด้วยเครื่องพ่นสาร Airblast อัตราพ่น 4, 5 และ 6 ลิตร/ต้น เปรียบเทียบกับการพ่นด้วยเครื่องยนต์พ่นสารแบบแรงดันน้ำสูง อัตราพ่น 8 ลิตร/ต้น และกรรมวิธีไม่พ่นสาร ผลการทดลองพบว่า การพ่นด้วยเครื่อง Airblast อัตราพ่น 4 และ 6 ลิตร/ต้น ให้ผลในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสไม่แตกต่างทางสถิติกับการพ่นด้วยเครื่องยนต์พ่นสารแบบแรงดันน้ำสูงที่อัตรา 8 ลิตร/ต้น การทดลองที่ 2 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 5 ซ้ำ 5 กรรมวิธี คือ ทำการพ่นสารเมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อโดยพ่นสาร azoxystrobin (Amistar 25% SC) จำนวน 1, 2, 3 และ 4 ครั้ง ก่อนมะม่วงติดผลและกรรมวิธีไม่พ่นสารผลการทดลองไม่เป็นที่น่าพอใจนักเนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัดมาก ทำให้ผลผลิตมะม่วงไม่สม่ำเสมอ มีจำนวนผลน้อย ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารระดับการเป็นโรคไม่แตกต่างกัน เป็นโรคน้อยกว่ากรรมวิธีไม่พ่นสารแต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ