ข่าวกิจกรรมบุคลากร

กปร. ติดตามผลการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดกระบี่

วันพฤหัสบดี ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 น. นายพงษ์มานิตย์ ไทยแท้ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่กองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมวิชาการเกษตร ร่วมด้วย เจ้าหน้าที่จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 ติดตามผลการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนทั่วไปเกิดความรู้สึกหวงแหนทรัพยากรพันธุ์พืชที่มีอยู่ของชาติและรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี

จากการลงพื้นที่ติดตามประสานการดำเนินงาน พบว่า ปีงบประมาณ 2565 มีแผนการขยายพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ 2,500 ต้น ขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 1,500 ต้น โดยมีแผนที่จะปล่อยกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่คืนสู่ป่าร่วมกับจังหวัดในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565

เวลา 10.00 น. นายพงษ์มานิต ไทยแท้ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่กองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ร่วมด้วย เจ้าหน้าที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 ติดตามผลการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดกระบี่ โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงและถ่ายทอดเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรแก่เกษตรกรผู้สนใจ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมด้านการประกอบอาชีพด้านการเกษตร

โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดกระบี่ ดำเนินการจัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกพืชผสมผสาน พื้นที่ 10 ไร่ ประกอบด้วย แปลงปลูกส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม แปลงทดสอบการใช้ปุ๋ยหมักเติมอากาศในฝรั่งพันธุ์กิมจู แปลงศึกษาเรียนรู้พืชผัก แปลงปลูกไม้ผลผสมผสาน ได้แก่ ส้มโอควนลัง แปลงปลูกไม้ผลประจำถิ่นร่วมกับกล้วยหอมทอง ได้แก่ มะเม่า มะม่วงทองดำ แปลงปลูกไม้ผลประจำถิ่นแซมสับปะรด ได้แก่ ส้มจุก ทุเรียนพันธุ์สาริกา จำปาดะ นอกจากนี้ได้นำเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรมาใช้ภายในแปลง ได้แก่ แหนแดง ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย ปุ๋ยหมักเติมอากาศ เป็นต้น

เวลา 11.00 น. นายพงษ์มานิต ไทยแท้ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่กองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ร่วมด้วย เจ้าหน้าที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 ติดตามผลการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดกระบี่ โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อนุรักษพันธุกรรมพืชและความหลากหลายทางชีวภาพโดยการรวบรวม ปลูกรักษาพันธุกรรมพืชสมุนไพรในท้องถิ่น และพืชหายากในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ ถ่ายทอด และใช้ประโยชน์งานอนุรักษ์แบบครบวงจร ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและเกิดความรักความหวงแหน

ศวพ.กระบี่ ดำเนินงานตามกรอบกิจกรรมของ อพ.สธ. ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักทรัพยากร พื้นที่ 60 ไร่ ดำเนินการปกปักพันธุ์ไม้ในพื้นที่ป่าเดิม ทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติและจัดทำป้ายบอกชนิดพันธุ์พืช

เวลา 14.00 น. นางสาวกาญจนา ทองนะ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันกระบี่ และรักษาการฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการผลิตพืชฯ ภาคใต้ตอนบน (สวพ.7) พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่กองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ร่วมด้วย เจ้าหน้าที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 ติดตามผลการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปกปักพื้นที่ป่าที่อยูในความรับผิดชอบของศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันกระบี่ สำรวจ รวบรวม ปลูกรักษา และอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่น พืชอาหาร พืชสมุนไพร และพืชหายากอื่น ๆ ในภาคใต้ เพื่อพัฒนาให้เกิดประโยชน์นำไปสู่การจัดทำศูนย์เรียนรู้พืชสมุนไพรหรือนิทรรศการแสดงฐานเรียนรู้เรื่องพืชสมุนไพร และการนำไปใช้ประโยชน์จากพืชประจำท้องถิ่น ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและเกิดความรักความหวงแหนต่อทรัพยากร

ศวป.กระบี่ ดำเนินการตามกรอบกิจกรรมของ อพ.สธ. ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักทรัพยากร พื้นที่ 35 ไร่ ดำเนินการจัดทำแนวกันไฟ ทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติและจัดทำป้ายบอกชนิดพันธุ์ไม้และกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร ดำเนินการรวบรวมพันธุ์ไม้ในพื้นที่ต่าง ๆ มาปลูกในพื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ ตะเคียน ตะเคียนทอง ยางนา มะฮอกกานี และสัก เป็นต้น