กปร. ลงพื้นที่เพื่อติดตามประสานการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้การผลิตพืชตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ จังหวัดพิษณุโลก
วันพุธ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 นายนพรัตน์ บัวหอม ผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) กรมวิชาการเกษตร มอบหมายให้ นางสาววรินดา เม่นทอง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ พร้อมด้วยนายสนอง บัวเกตุ ผู้อำนวยการกลุ่มจัดการพื้นที่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก ลงพื้นที่เพื่อติดตามประสานการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้การผลิตพืชตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ จังหวัดพิษณุโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแปลงตัวอย่างระบบเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนวพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” เป็นแปลงต้นแบบในเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร และการผลิตพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ เผยแพร่ผลงานกรมวิชาการเกษตร อย่างเป็นรูปธรรมโดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพระราชดำริทฤษฎีใหม่มาบริหารจัดการดินและน้ำ เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้แก่เกษตรกร และผู้ที่สนใจ ใช้เป็นแนวทางในการสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ เช่น เกษตรกรลดความเสี่ยงในการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ก่อให้เกิดความมั่นคงในครองครอบครัว
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มจัดการพื้นที่ ได้ดำเนินกิจกรรมภายในตามหลักทฤษฎีใหม่ แบ่งพื้นที่ตามความเหมาะซึ่งได้นำเทคโนโลยีพืชพันธุ์ดี (ถั่วเขียวพันธุ์ กวก.ชัยนาท 3 ถั่วฝักยาวพันธุ์ กวก.พิจิตร 3 กระเจี๊ยบเขียวพันธุ์พิจิตร 1 มะเขือเทศพันธุ์ศรีสะเกษ 2) การปลูกพืชหลังนา การตัดแต่งกิ่งไม้ผล และการใช้ปุ๋ยชีวภาพ (แหนแดง) ผ่านศูนย์เรียนรู้การผลิตพืชตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกษตรกรขยายผล และประชาชนทั่วไป เข้ามาเรียนรู้ แล้วนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของเกษตรกร
จากนั้นลงพื้นที่เกษตรขยายผล จำนวน 3 ราย คือ [1] นายตี๋ ปัญญาคำ เดิมเกษตรกรปลูกพืชหมุนเวียน สวพ.2 ได้นำเทคโนโลยีพืชพันธุ์ดี (มันเทศพันธุ์ กวก. พิจิตร 3) ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร ทำให้เกษตรมีรายได้จากการขายผลผลิตมันเทศ และยอดมันเทศ [2] นายหนูชัย นาเคน [3] นายบุญทัน นาเคน เดิมเกษตรกรทั้ง 2 ราย ได้ปลูกพืชผสมผสาน มีการนำปุ๋ยชีวภาพ (แหนแดง) ทำการปศุสัตว์ (เลี้ยงไก่) ทำให้เกษตรมีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น