ข้อมูลหลัก

ก่อตั้งกองการยาง

กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้ง

“กองการยาง” สืบเนื่องมาจาก การตั้งการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องโอนภาระกิจของกรมวิชาการเกษตรในส่วนที่เกี่ยวข้อง

กับราชการของสถาบันวิจัยยาง ไปเป็นของการยางแห่งประเทศไทย เว้นแต่บรรดาภาระกิจที่เกี่ยวกับการดำเนินกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยาง

ตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542

 

ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เพื่อรองรับและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยาง โดยให้มีฐานะเทียบเท่ากอง และให้มีอำนาจหน้าที่

 

ดังนี้

  1. ควบคุมการผลิต การค้า การส่งออก และการนำเข้ายางตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยาง
  2. ศึกษา วิจัยเกี่ยวกับยางเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยาง
  3. ให้การรับรองมาตรฐานห้องปฎิบัติการเกี่ยวกับยาง และให้บริการวิเคราะห์ ตรวจสอบคุณภาพยาง
  4. ให้บริการวิชาการและเทคโนโลยีแก่เจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ เกษตรกร และเอกชนที่เกี่ยวข้อง
  5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบิตงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

กองการยางได้จัดตั้ง “ศูนย์ควบคุมยาง” ครอบคลุมพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศไทย
จำนวน 6 ศูนย์ ดังนี้

  1. ศูนย์ควบคุมยางสงขลา
  2. ศูนย์ควบคุมยางสุราษฎร์ธานี
  3. ศูนย์ควบคุมยางฉะเชิงเทรา
  4. ศูนย์ควบคุมยางบุรีรัมย์
  5. ศูนย์ควบคุมยางหนองคาย
  6. ศูนย์ควบคุมยางเชียงราย

 

ศูนย์ควบคุมยางสุราษฎร์ธานี

(Surat Thani Rubber Regulatory Center)

มีหน้าที่

ควบคุมการผลิต การค้า การส่งออก และการนำเข้ายางตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยางในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน

ศึกษา วิจัย เกี่ยวกับยางเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยาง

 

ให้บริการ

ออกใบอนุญาตผ่านด่านศุลกากรส่งยางออกนอกราชอาณาจักร

ออกใบอนุญาตค้ายาง (บุคคลธรรมดา)