วันที่ 6 ธันวาคม 2567 เวลา 7.30 – 10.00 น. นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วย ดร.ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร คณะผู้บริหารกรมวิชาการเกษตร ผู้อำนวยการกองแผนงานและวิชาการ และเจ้าหน้าที่กองแผนงานและวิชาการ เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรและพิธีน้อมรำลึกวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร 5 ธันวาคม ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 55 พรรษา กรมวิชาการเกษตร

วันที่ 3 ธันวาคม 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมาย ดร.ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช รักษาการในตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการกรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 6/2567 (กำหนดจัดระหว่างวันที่ 2 – 3 ธันวาคม 2567) โดยมี ที่ปรึกษาอธิบดีกรมวิชาการเกษตร คณะผู้เชี่ยวชาญกรมวิชาการเกษตรทุกท่าน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จ.อุบลราชธานี ผู้อำนวยการกองแผนงานและวิชาการ เข้าร่วมการประชุม และทีมกองแผนงานและวิชาการเป็นฝ่ายเลขานุการ โดยที่ประชุมได้ร่วมรับฟังการบรรยายสรุปและลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานวิจัยแผนงานวิจัย/โครงการวิจัยของ สวพ.4 ในสภาพห้องปฏิบัติการ โรงเรือน และแปลงทดลอง ในพื้นที่ สวพ.4 และหน่วยงานเครือข่าย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

  1. งานวิจัยการตรวจสอบความใช้ได้วิธีวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ fipronil imidacloprid และ dinotefuran ในผลิตภัณฑ์สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาเทคนิคการทดสอบแบบสารรวมและสารเดี่ยวในการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่จำหน่ายในท้องตลาด ณ ห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุอันตรายทางการเกษตร อาคารปฏิบัติการตรวจสอบรับรองคุณภาพมาตรฐาน สวพ.4
  2. งานวิจัยการตรวจวิเคราะห์สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในสิ่งแวดล้อมพื้นที่เกษตรกรรมลุ่มน้ำมูล และการสำรวจสารพิษตกค้างในเงาะ มะม่วง และทุเรียนจากแหล่งผลิตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภายใต้โครงการวิจัยการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลิตผลเกษตรและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องปฏิบัติการทดสอบสารพิษตกค้าง อาคารปฏิบัติการตรวจสอบรับรองคุณภาพมาตรฐาน สวพ.4
  3. การผลิตชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ในโครงการวิจัยและพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชสมุนไพรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ณ อาคารผลิตชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพ สวพ.4
  4. การผลิตและใช้ประโยชน์เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีควบคุมโรคพืชในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ณ อาคารผลิตชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพ สวพ.4
  5. การขยายผลชีวภัณฑ์ของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ บาซิลลัส ซับทีลิส 20W1 (ควบคุมโรคใบจุด) บีที กำจัดหนอนกระทู้ผัก เพื่อนำไปใช้ในพื้นที่แปลงสาธิตฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ และแปลงสาธิตปลูกพืชผสมผสานพื้นที่ 10 ไร่ ที่ปลูกไม้ผลผสมผสานการผลิตพืชอินทรีย์ และการสร้างบ่อขยายแหนแดง 1 บ่อ บ่อแม่พันธุ์ 5 บ่อ แจกจ่ายเกษตรกรที่เข้ามาศึกษาดูงานและเกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียง ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ อำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี

อีกทั้งที่ประชุมยังได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลสะท้อนกลับที่เป็นประโยชน์ เพื่อผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายทิศทางงานวิจัยและนวัตกรรมของกรมวิชาการเกษตร ไปสู่การปฏิบัติวิจัยเชิงรุกตามแนวทางนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ที่มุ่งเน้นพัฒนางานวิจัยตามพันธกิจของกรมฯ และดำเนินงานตามแนวทาง “BALANCE DOA TOGETHER” ให้ได้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและประเทศก้าวทันต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป

วันที่ 2 ธันวาคม 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมาย ดร.ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช รักษาการในตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการกรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 6/2567 ณ ห้องประชุมสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จ.อุบลราชธานี (กำหนดจัดระหว่างวันที่ 2 – 3 ธันวาคม 2567) โดยมี นายขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 พร้อมคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่าน ซึ่งประกอบด้วย ที่ปรึกษาอธิบดีกรมวิชาการเกษตร คณะผู้เชี่ยวชาญกรมวิชาการเกษตรทุกท่าน และทีมกองแผนงานและวิชาการเป็นฝ่ายเลขานุการ

สาระสำคัญการประชุมทั้งสองวันเพื่อรับทราบและพิจารณาในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการวิจัยและนวัตกรรมของกรมฯ :

  1. คำรับรองและแผนปฏิบัติงานโครงการพร้อมงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund : FF) และสนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Development Fund : ST) ของกรมฯ ปี 2568 ที่ได้รับจากกองทุนส่งเสริม ววน. สกสว. พร้อมหลักเกณฑ์การใช้จ่ายงบประมาณ และระบบวิจัยกรมฯ
  2. คำของบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund : FF) และสนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Development Fund : ST) ของกรมฯ ปี 2569 ส่งกองทุนส่งเสริม ววน สกสว.
  3. สรุปภาพรวมโครงการวิจัยกรมฯ ที่ได้รับงบประมาณจากหน่วยบริหารจัดการทุน (PMU) และเงินรายได้จากการดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตร
  4. โครงการพัฒนาระบบข้อมูลงานวิจัยและงบประมาณกรมฯ ปี 2568 และโครงการอบรมการร่างคำขอข้อเสนอโครงการวิจัยด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization : RU)
  5. ผลการใช้จ่ายงบประมาณงานวิจัยเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ปี 2567 และความคืบหน้าการศึกษาวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากงานวิจัยและนวัตกรรมกรมฯ ปี 2567
  6. การปรับสัดส่วนเบิกจ่ายงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) และมาตรการเร่งรัด (Penalty)
  7. รายงานการประเมิน Past Performance ของกรมฯ ประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ปี 2569
  8. แนวทางการติดตามการดำเนินงานวิจัยงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ปี 2568 การพิจารณาแผนปฏิบัติงานโครงการพร้อมงบประมาณ ปี 2569 และการพิจารณาข้อเสนองานวิจัย ส่งกองทุนส่งเสริม ววน. สกสว. ปี 2570
  9. การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานวิจัยในพื้นที่ ห้องปฏิบัติการ โรงเรือน และแปลงทดลองในเขตพื้นที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จ.อุบลราชธานี และหน่วยงานเครือข่าย

อีกทั้งที่ประชุมยังได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลสะท้อนกลับที่เป็นประโยชน์เพื่อขับเคลื่อนนโยบายทิศทางงานวิจัยและนวัตกรรมของกรมวิชาการเกษตร ไปสู่การปฏิบัติวิจัยเชิงรุกตามแนวทางนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ที่มุ่งเน้นพัฒนางานวิจัยตามพันธกิจของกรมฯ และดำเนินงานตามแนวทาง “BALANCE DOA TOGETHER” ให้ได้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและประเทศก้าวทันต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร (นายพงศ์ไท ไทโยธิน) ได้มอบหมายนักวิจัยรุ่นใหม่ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และผู้อำนวยการกลุ่มระบบวิจัย กองแผนงานและวิชาการ กรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมการประชุมและนำเสนอผลงานวิจัยโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund : FF) ปีงบประมาณ 2564-2566 จากกองทุนส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งในรูปแบบ Oral Presentation และ Poster Presentation ในการประชุมเครือข่ายบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (TSRI-RDP 2024 : Preparing Today for Tomorrow’s Challenges) ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 21 – 23 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท จ.เพชรบุรี

หัวข้อการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบ Oral Presentation และ Poster Presentation จำนวนทั้งสิ้น 23 ผลงาน อาทิ การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซาเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวาน ปริมาณสารพิษตกค้างของไพรไซมิโดนในมะม่วง
การพัฒนาเครื่องตรวจสอบแมลงศัตรูพืชกล้วยไม้ตัดดอก
การเพิ่มศักยภาพการผลิตแม่พันธุ์สับปะรด กวก.เพชรบุรี 2 โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในระบบไบโอริแอคเตอร์
การใช้และผลิตขยายชีวภัณฑ์เมตาไรเซียม DOA-M3 ควบคุมด้วงหมัดผักในกวางตุ้งและคะน้า
เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่
การประยุกต์ใช้แบบจำลองพืช
การพัฒนาระบบการตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าพืช
พฤกษศาสตร์และพัฒนาการในรอบปีของเท้ายายม่อม ชุดทดสอบอย่างง่ายโดยใช้ปฏิกิริยาสีตรวจหาสารตกค้างเอทีฟอนในผลทุเรียน

และเป็นโอกาสดีที่นักวิจัยจะได้รับข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒินักวิจัยอาวุโสเพื่อนำไปพัฒาต่อยอดงานวิจัยต่อไป

อีกทั้งนักวิจัยรุ่นใหม่ยังได้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิจัยรุ่นใหม่และนักวิจัยอาวุโสในหน่วยรับงบประมาณของกองทุนส่งเสริม ววน. และพัฒนาทักษะความรู้ให้นักวิจัยรุ่นใหม่ด้านเทคนิคการวิจัยการนำเสนอผลงาน

นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานดูแลสิทธิประโยชน์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ครั้งที่ 5/2567 วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.30 – 14.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ชั้น 5 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร และผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Application) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นในการต่ออายุสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร “สูตรและกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์สำหรับข้าว” ให้กับผู้ประกอบการ จำนวน 1 ราย