วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.00 น. นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมายให้ นางศศิญา ปานตั้น ผู้อำนวยการกองแผนงานและวิชาการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองแผนงานและวิชาการ เข้าร่วมการเสวนาสาธารณะ “Research and Policy Dialogue ครั้งที่ 7 : รื้อรัฐ ปรับใหญ่ ปฏิรูปราชการไทยสู่อนาคต” ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดร่วมกับ 101 Public Policy Think Tank และเว็บไซต์ The 101 World โดยมี รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานและกล่าวต้อนรับผู้ร่วมเสวนา ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 15 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) อาคารเอสเอ็ม ทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร
Category: Uncategorized
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร มอบหมายให้ ดร.สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิจารณาโครงการวิจัยด้านการเกษตร เพื่อพิจารณาโครงการวิจัยที่เสนอขอรับสนับสนุนงบประมาณจากเงินรายได้จากการดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตร เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง ทดสอบพิษวิทยาเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม DOA M5 ของกรมวิชาการเกษตรในการควบคุมด้วงแรดมะพร้าว และวิจัยพัฒนากระบวนการผลิต Biochar จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร
วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมาย ดร.สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช พร้อมด้วย ดร.ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช น.ส.วิยวรรณ บุญทัน ผู้อำนวยการกลุ่มระบบวิจัย น.ส.ปฏิมา ประภาสะวัต ผู้อำนวยการกลุ่มติดตามและประเมินผล และ นางให้พร กิตติกูล ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย กองแผนงานและวิชาการ เข้าประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการด้านการผลิต ในคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวแผนการดำเนินงาน งบประมาณ และวิธีการบริหารจัดการการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในด้านการเกษตรตามภารกิจของกรมวิชาการเกษตร ในฐานะหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมยกระดับการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม Cisco Webex Meeting ณ ห้องประชุม 501 ชั้น 5 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.30 น. นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมาย ดร.สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการกรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะผู้เชี่ยวชาญกรมวิชาการเกษตร ผู้แทนกองคลัง และมีทีมผู้อำนวยการกลุ่มของกองแผนงานและวิชาการ เป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการติดตามการดำเนินงานวิจัย ปี 2567 แนวทางการพิจารณาแผนปฏิบัติงานโครงการวิจัยพร้อมงบประมาณ ปี 2568 ข้อเสนองานวิจัย ส่ง สกสว. ปี 2569 ภายใต้งบประมาณการวิจัยที่ได้รับสนับสนุนเพื่องานมูลฐาน (Fundamental Fund) จากกองทุนส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สกสว. รวมทั้งพิจารณาคัดเลือกพืช/ผลิตภัณฑ์สินค้าพืชที่มีศักยภาพเพื่อการยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร Products Champion ของกรมวิชาการเกษตร และมอบหมายผู้รับผิดชอบบริหารจัดการผลงานวิจัยตลอด Value Chain เพื่อเสนออธิบดีกรมวิชาการเกษตรอนุมัติตามขั้นตอนระบบวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร
เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร มอบหมายให้ ดร. สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช ครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านพืชสวน พืชไร่ และผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาเฉพาะด้านเข้าร่วมให้ข้อมูลทางวิชาการงานด้านการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อพิจารณารับรองพันธุ์ พันธุ์แนะนำ พันธุ์รับรอง ตามขั้นตอนของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งในการประชุมดังกล่าวมีพันธุ์พืชของหน่วยงานเสนอเข้าพิจารณา จำนวน 8 พันธุ์ ประกอบด้วย กระเจี๊ยบเขียว 2 พันธุ์ ถั่วฝักยาวสีม่วง 1 พันธุ์ ฟ้าทะลายโจร 1 พันธุ์ กาแฟอะราบิกา 1 พันธุ์ ถั่วหรั่ง 2 พันธุ์ และ สับปะรด 1 พันธุ์ ก่อนเสนอคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชรับรองตามขั้นตอนกรมฯ ก่อนนำไปพันธุ์พืชไปขยายผลต่อยอดและใช้ประโยชน์สู่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมายและเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีคุณภาพเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเป็นทางเลือกให้เกษตรกรได้