คู่มือแนวทางการจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาแผนปฏิบัติงานโครงการวิจัย ประจำปี 2568 (ว – 1 สกสว) และข้อเสนองานวิจัย ประจำปี 2569 ตามระบบวิจัยและพัฒนาของกรมฯ ประกอบการเสนอขอรับงบประมาณการวิจัยเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund : FF) จากกองทุนส่งเสริม ววน. สกสว.” ประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ระบบวิจัยและทิศทางงานวิจัยกรมวิชาการเกษตร
ส่วนที่ 2 แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการวิจัย ประจำปี 2568
– หลักเกณฑ์การพิจารณาการจัดสรรงบประมาณการวิจัยเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน
– ขั้นตอนและปฏิทินการพิจารณาแผนปฏิบัติงานโครงการวิจัยกรมฯ ประจำปี 2568
– แนวทางการจัดทำรายละเอียดงบประมาณประกอบการจัดสรรงบประมาณการวิจัย ประจำปี 2568
– แบบฟอร์มความสอดคล้องแผนงานวิจัยกับเป้าหมายและตัวชี้วัดภายใต้แผนปฏิบัติการด้าน ววน. ของกรมฯ เพื่อประกอบการจัดทำคำรับรองฯ สกสว. ประจำปี 2568
– แบบเสนอแผนปฏิบัติงานโครงการวิจัย ปีงบประมาณ 2568 (ว-1 สกสว.)
– ขั้นตอนการจัดทำคำรับรองฯ ส่ง สกสว. ผ่านระบบ NRIIS
ส่วนที่ 3 แนวทางการจัดทำข้อเสนองานวิจัย ประจำปี 2569
– หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนองานวิจัยเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน
– ขั้นตอนและปฏิทินการพิจารณาข้อเสนองานวิจัยกรมฯ ส่ง สกสว. ประจำปี 2569
– แนวทางการจัดทำรายละเอียดงบประมาณประกอบการเสนอขอรับงบประมาณ ประจำปี 2569
– แบบฟอร์มเสนอแผนงาน ประจำปี 2569
– แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการวิจัย ประจำปี 2569
– ขั้นตอนการส่งข้อเสนองานวิจัยผ่านระบบ NRIIS
ส่วนที่ 4 ภาคผนวก (คำสั่ง/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง)
Category: Uncategorized
ผ่านระบบสารสนเทศ โปรแกรม Scorecards Cockpit Enterprise ผ่านระบบ VDO Conference
วันที่ 23-24 เมษายน 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมายให้กองแผนงานและวิชาการ กลุ่มติดตามและประเมินผล จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การรายงานแผน/ผลการใช้จ่ายงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ประจำปี 2567 ผ่านระบบสารสนเทศ โปรแกรม Scorecards Cockpit Enterprise ผ่านระบบ VDO Conference ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมวิชาการเกษตร สามารถจัดทำรายงานแผน/ผลการใช้จ่ายงบประมาณผ่านระบบสารสนเทศ โปรแกรม Scorecards Cockpit Enterprise (SCE) ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน รวมถึงเข้าใจระบบการใช้งาน เพื่อให้กรมฯ มีฐานข้อมูลที่แม่นยำ และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ มีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งสิ้น 240 ราย
โดยวันที่ 23 เมษายน 2567 เป็นการประชุมในส่วนของหน่วยงานส่วนกลาง และเครื่อข่าย
โดยวันที่ 24 เมษายน 2567 เป็นการประชุมในส่วนของหน่วยงานส่วนภูมิภาค(สวพ.1-8) และเครื่อข่าย
วันอังคารที่ 23 เมษายน 2567 เวลา 09.30 – 14.00 น. นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดี กรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมาย ดร.สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช ร่วมกับ ดร.ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช, ดร.ศุภกาญจน์ ล้วนมณี ผู้เชี่ยวชาญด้านดินและปุ๋ย, นางเพลิน สิริวีระพันธุ์ ผู้อำนวยการกองคลัง, น.ส.วิยวรรณ บุญทัน ผู้อำนวยการกลุ่มระบบวิจัย, นางให้พร กิตติกูล ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย และน.ส.นงลักษณ์ ขันตี ผู้แทนผู้อำนวยการกลุ่มติดตามและประเมินผล ให้การต้อนรับคณะอาจารย์และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ข้อมูล ยุทธศาสตร์ด้านงานวิจัยและนวัตกรรมและการบริหารงานวิจัยและงบประมาณงานวิจัยตามระบบวิจัยและกลไกการขับเคลื่อนผลงานวิจัยของกรมฯ ตลอดเส้นทางผลกระทบ ในฐานะหน่วยงานวิจัยภาครัฐที่ได้รับงบประมาณการวิจัยผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการให้สัมภาษณ์ เรื่อง “โครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของหน่วยงานวิจัยภาครัฐ” (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำไปวิเคราะห์จัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของหน่วยงานวิจัยภาครัฐ ณ ห้องประชุมผู้บริหาร ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร และผ่านโปรแกรม Zoom Meeting
วันที่ 3-5 เมษายน 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมาย ดร.สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการและติดตามประเมินผลแผนงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 1/2567 (รวม 6 คณะ) ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร เพื่อพิจารณาผลการปฏิบัติงานวิจัยที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สกสว. ปี 2566 (รายงานผลสัมฤทธิ์) รวม 64 แผนงานวิจัย(307 โครงการ) และผลการปฏิบัติงานวิจัยปี 2567 (รอบ 6 เดือน) รวม 67 แผนงานวิจัย(296 โครงการ)
โดยวันที่ 3 เมษายน 2567 เป็นการติดตามและประเมินผล คณะที่ 1 และ คณะที่ 3
คณะที่ 1 งานวิจัยเพิ่มศักยภาพสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น/ระบบการผลิตพืชอย่างยั่งยืนและเหมาะสมกับพื้นที่ (ประธาน: นางณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช) รวม 11 แผนงานวิจัย(72 โครงการ)
คณะที่ 3 งานวิจัยสนับสนุน พ.ร.บ. กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ (ประธาน: นายเกรียงไกร สุภโตษะ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร) รวม 10 แผนงานวิจัย(38 โครงการ)
โดยวันที่ 4 เมษายน 2567 เป็นการติดตามและประเมินผล คณะที่ 5 และ คณะที่ 4 และได้เชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร นำโดย รศ.ดร. สุวรรณา ประณีตวตกุล (หัวหน้าโครงการ), รศ.ดร. กัมปนาท วิจิตรศรีกมล (ผู้วิจัยหลัก) และผศ.ดร. จักรกฤษณ์ พจนศิลป์(ผู้วิจัยหลัก) มาให้ความรู้ในเรื่องแนวทางการติดตามและการประเมินผลกระทบงานวิจัย ของกรมวิชาการเกษตร
คณะที่ 4 งานวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะ/เครื่องจักรกลการเกษตร (ประธาน: นายสุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช) รวม 14 แผนงานวิจัย(43 โครงการ)
คณะที่ 5 งานวิจัยวิจัยและพัฒนากลุ่มพืชไร่(ประธาน: นายสุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช) รวม 11 แผนงานวิจัย(41 โครงการ)
โดยวันที่ 5 เมษายน 2567 เป็นการติดตามและประเมินผล คณะที่ 6 และ คณะที่ 2
คณะที่ 6 งานวิจัยและพัฒนากลุ่มพืชสวน (ประธาน: นายวินัย สมประสงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคุ้มครองพันธุ์พืช) รวม 10 แผนงานวิจัย(53 โครงการ)
คณะที่ 2 งานงานวิจัยยกระดับมาตรฐานการผลิตพืชและผลิตภัณฑ์ สู่เกษตรปลอดภัย /เกษตรชีวภาพ/แปรรูปผลิตภัณฑ์ (ประธาน: นางสาววลัยพร ศะศิประภา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ) รวม 13 แผนงานวิจัย(60 โครงการ)