วันที่ 27 – 29 กันยายน 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมาย ดร.สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการและติดตามประเมินผลแผนงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 2/2567 (รวม 6 คณะ) ณ โรงแรมฟอร์จูน ริเวอร์วิว นครพนม จังหวัดนครพนม เพื่อพิจารณาะผลการปฏิบัติงานวิจัยปี 2567 (รอบ 12 เดือน) รวม 67 แผนงานวิจัย (296 โครงการ) โดยมีรายละเอียดดังนี้

คณะที่ 1 งานวิจัยเพิ่มศักยภาพสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น/ระบบการผลิตพืชอย่างยั่งยืนและเหมาะสมกับพื้นที่ (ประธาน: นางณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช) รวม 11 แผนงานวิจัย(72 โครงการ)

คณะที่ 2 งานงานวิจัยยกระดับมาตรฐานการผลิตพืชและผลิตภัณฑ์ สู่เกษตรปลอดภัย /เกษตรชีวภาพ/แปรรูปผลิตภัณฑ์ (ประธาน: นางสาววลัยพร ศะศิประภา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ) รวม 13 แผนงานวิจัย(60 โครงการ)

คณะที่ 3 งานวิจัยสนับสนุน พ.ร.บ. กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ (ประธาน: นายเกรียงไกร สุภโตษะ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร) รวม 10 แผนงานวิจัย(38 โครงการ)

คณะที่ 4 งานวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะ/เครื่องจักรกลการเกษตร (ประธาน: นายสุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช) รวม 14 แผนงานวิจัย(43 โครงการ)

คณะที่ 5 งานวิจัยวิจัยและพัฒนากลุ่มพืชไร่(ประธาน: นายสุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช) รวม 11 แผนงานวิจัย(41 โครงการ)

คณะที่ 6 งานวิจัยและพัฒนากลุ่มพืชสวน (ประธาน: นายวินัย สมประสงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคุ้มครองพันธุ์พืช) รวม 10 แผนงานวิจัย(53 โครงการ)

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.45 น. รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร(ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม เรื่อง การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย (Research Impact Evaluation) ระหว่างวันที่ 9-10 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมเดอะเกรช อัมพวา รีสอร์ท จังหวัดสมุทรสงคราม จัดโดย กองแผนงานและวิชาการ ดำเนินการภายใต้แผนงานเสริมสร้างความเข้มแข็งการบริหารจัดการแผนงานและโครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของกรมวิชาการเกษตร ปี 2567 เพื่อพัฒนาบุคลากรในระบบวิจัยและนวัตกรรมของกรมวิชาการเกษตร ให้เป็นต้นแบบการประเมินผลกระทบจากงานวิจัย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบโครงการและการประเมินงานวิจัยของหน่วยงานตนเองได้ พร้อมทั้งคัดเลือกผลงานเพื่อประเมินผลกระทบรวม 8 โครงการ เพื่อแสดงศักยภาพและความคุ้มค่าในการดำเนินงานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การสร้างผลลัพธ์ และผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ตามเงื่อนไขคำรับรองของการอนุมัติงบประมาณด้านการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 วงเงินรวม 316.9340 ล้านบาท ตามที่กรมวิชาการเกษตรได้ลงนามไว้กับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) โดยเชิญคณาจารย์จาก คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ รศ.ดร.สุวรรณา ประณีตวตกุล รศ.ดร.กัมปนาท วิจิตรศรีกมล และ ผศ.ดร.นภสม สินเพิ่มสุขสกุล ซึ่งเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ ด้านศาสตร์การประเมิน ด้านเศรษฐศาสตร์ และการประเมินโครงการด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และฝึกปฏิบัติ แก่ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และผู้เกี่ยวข้องในระวิจัยและพัฒนากรมฯ รวมทั้งสิ้น 100 คน และในการฝึกอบรมครั้งนี้มีหน่วยงานเสนอผลงานวิจัย เพื่อคัดเลือกเข้าประเมินผลกระทบ รวม 16 หน่วยงาน / 18 เรื่อง

ผ่านระบบสารสนเทศ โปรแกรม Scorecards Cockpit Enterprise ผ่านระบบ VDO Conference

วันที่ 23-24 เมษายน 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมายให้กองแผนงานและวิชาการ กลุ่มติดตามและประเมินผล จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การรายงานแผน/ผลการใช้จ่ายงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ประจำปี 2567 ผ่านระบบสารสนเทศ โปรแกรม Scorecards Cockpit Enterprise ผ่านระบบ VDO Conference ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมวิชาการเกษตร สามารถจัดทำรายงานแผน/ผลการใช้จ่ายงบประมาณผ่านระบบสารสนเทศ โปรแกรม Scorecards Cockpit Enterprise (SCE) ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน รวมถึงเข้าใจระบบการใช้งาน เพื่อให้กรมฯ มีฐานข้อมูลที่แม่นยำ และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ มีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งสิ้น 240 ราย

โดยวันที่ 23 เมษายน 2567 เป็นการประชุมในส่วนของหน่วยงานส่วนกลาง และเครื่อข่าย

โดยวันที่ 24 เมษายน 2567 เป็นการประชุมในส่วนของหน่วยงานส่วนภูมิภาค(สวพ.1-8) และเครื่อข่าย

วันที่ 3-5 เมษายน 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมาย ดร.สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการและติดตามประเมินผลแผนงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 1/2567 (รวม 6 คณะ) ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร เพื่อพิจารณาผลการปฏิบัติงานวิจัยที่ได้รับงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สกสว. ปี 2566 (รายงานผลสัมฤทธิ์) รวม 64 แผนงานวิจัย(307 โครงการ) และผลการปฏิบัติงานวิจัยปี 2567 (รอบ 6 เดือน) รวม 67 แผนงานวิจัย(296 โครงการ)

โดยวันที่ 3 เมษายน 2567 เป็นการติดตามและประเมินผล คณะที่ 1 และ คณะที่ 3

คณะที่ 1 งานวิจัยเพิ่มศักยภาพสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น/ระบบการผลิตพืชอย่างยั่งยืนและเหมาะสมกับพื้นที่ (ประธาน: นางณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช) รวม 11 แผนงานวิจัย(72 โครงการ)

คณะที่ 3 งานวิจัยสนับสนุน พ.ร.บ. กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ (ประธาน: นายเกรียงไกร สุภโตษะ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร) รวม 10 แผนงานวิจัย(38 โครงการ)

โดยวันที่ 4 เมษายน 2567 เป็นการติดตามและประเมินผล คณะที่ 5 และ คณะที่ 4 และได้เชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร นำโดย รศ.ดร. สุวรรณา ประณีตวตกุล (หัวหน้าโครงการ), รศ.ดร. กัมปนาท วิจิตรศรีกมล (ผู้วิจัยหลัก) และผศ.ดร. จักรกฤษณ์ พจนศิลป์(ผู้วิจัยหลัก) มาให้ความรู้ในเรื่องแนวทางการติดตามและการประเมินผลกระทบงานวิจัย ของกรมวิชาการเกษตร

คณะที่ 4 งานวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะ/เครื่องจักรกลการเกษตร (ประธาน: นายสุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช) รวม 14 แผนงานวิจัย(43 โครงการ)

คณะที่ 5 งานวิจัยวิจัยและพัฒนากลุ่มพืชไร่(ประธาน: นายสุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช) รวม 11 แผนงานวิจัย(41 โครงการ)

โดยวันที่ 5 เมษายน 2567 เป็นการติดตามและประเมินผล คณะที่ 6 และ คณะที่ 2

คณะที่ 6 งานวิจัยและพัฒนากลุ่มพืชสวน (ประธาน: นายวินัย สมประสงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคุ้มครองพันธุ์พืช) รวม 10 แผนงานวิจัย(53 โครงการ)

คณะที่ 2 งานงานวิจัยยกระดับมาตรฐานการผลิตพืชและผลิตภัณฑ์ สู่เกษตรปลอดภัย /เกษตรชีวภาพ/แปรรูปผลิตภัณฑ์ (ประธาน: นางสาววลัยพร ศะศิประภา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ) รวม 13 แผนงานวิจัย(60 โครงการ)