สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8
ข่าวกิจกรรม

ผอ.สวพ.8 ร่วมคณะ อธก.กรมวิชาการเกษตร เนื่องในโอกาส คณะ รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ ณ แปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมบ้านชุมพล ต.ชุมพล อ.สทิงพระ จ.สงขลา

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 ศ.ดร.นฤมล ภิณโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายอิทธิ ศิริลัทยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ แปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมบ้านชุมพล ต.ชุมพล อ.สทิงพระ จ.สงขลา ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ร่วมจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการผลิตมะพร้าวน้ำหอม ตามมาตรฐานการผลิตพืช และการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน เพื่อให้ได้ผลผลิตมะพร้าวที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีการแจกต้นกล้ามะพร้าวน้ำหอม มอบใบรับรองมาตรฐาน GAP ชีวภัณฑ์ Bacillus thuringiensis แตนเบียนโกนีโอซัส แตนเบียนบราไคมีเรีย แก่เกษตรกรอีกด้วย

ในการนี้ นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร คณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายชณาดลย์ สัตธณภัทร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 พร้อมด้วย ผู้บริหาร สวพ.8 และ ศวพ.จังหวัด เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ดังกล่าวด้วย อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เน้นย้ำการผลิตมะพร้าวน้ำหอมคุณภาพ โดยส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มเป้าหมายรับรองมาตรฐาน GAP ซึ่งเป็นการทำงานเชิงรุกผ่านกิจกรรม GAP mobile unit และเป็นการทำงานแบบบูรณาการ ระหว่างหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงการแก้ไขปัญหาหนอนหัวดำมะพร้าว ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ได้จัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดหนอนหัวมะพร้าว ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

กรณีมีการระบาดรุนแรง (ต้นมะพร้าวมีทางใบถูกทำลาย มากกว่า 10 ทางใบขึ้นไป) ต้นมะพร้าวมีความสูงเกิน 12 เมตรให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ดังนี้ – สารอิมาเมกตินเบนโซเอต 1.92%EC อัตรา 10 มล./ต้น ส่วนต้นที่มีความสูง4-12 เมตร ใช้อัตรา 5 มล./ต้น

กรณีพบการระบาดรุนแรงน้อย ให้ใช้ชีวภัณฑ์ Bacillus thuringiensis (BT) ฉีดพ่นอัตรา 100 มล.ต่อน้ำ 20ลิตร ผสมสารจับใบ 5 มล. ฉีดพ่นต้นละ 3-5 ลิตร ช่วงเย็น และใช้ แตนเบียนโกนีโอซัส(แตนเบียนระยะตัวหนอน) อัตราปล่อย 200 ตัวต่อไร่ ทุก 7 วัน ติดต่อกัน 4 ครั้ง และแตนเบียนบราไคมีเรีย(แตนเบียนระยะดักแด้) อัตราปล่อย 120 ตัวต่อไร่ ทุก 7 วัน ทุก 7 วัน

ทั้งนี้เพื่อความยั่งยืนในการผลิต และการใช้ชีวภัณฑ์ จึงมีการขยายผลการผลิตผ่านศูนย์ต้นแบบการผลิตชีวภัณฑ์แตนเบียนควบคุมมะพร้าว ในระดับชุมชนอีกด้วย