โรคใบด่างถั่วเขียว

🌱🌱🌱 #ระวังโรคใบด่างในถั่วเขียว ปัจจุบันเกษตรกรพบปัญหาผลผลิตลดลงหรือเก็บเกี่ยวไม่ได้เลย เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส 2 วงศ์ (Family) ได้แก่ GeminiViridae: Begomovirus และ Potyviridae: Potyvirus) ซึ่งสร้างความเสียหายในพื้นที่ปลูกถั่วเขียวภาคกลาง เช่นพิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย ชัยนาท ลพบุรี นครสวรรค์เป็นต้น
❌ใบมีลักษณะด่างเหลือง (อาจมีอาการใบไหม้แห้งร่วมด้วย)
❌ ออกดอกและติดฝักน้อย (ฝักถั่วเขียวมักมีลักษณะลีบและงอ)
🔑 เริ่มจากควรใช้เมล็ดพันธุ์สะอาด(จากการกระจายเป็นวงกว้างและรวดเร็ว ในส่วนนี้น่าจะเป็นเหตุผลหลักของการระบาดในครั้งนี้ครับ)
🔑 ทำความสะอาดแปลงปลูก กำจัดวัชพืช(อาจเป็นแหล่งอาศัยของแมลงพาหะได้)
🔑 ปลูกพืชหมุนเวียน(เพื่อลดการสะสมของเชื้อในแปลงปลูก และการระบาดแมลงพาหะ)
🔑 ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือในการเก็บเกี่ยว(สาเหตุหนึ่งของการถ่ายทอดเชื้อไวรัส)
🔑 พ่นสารฆ่าแมลงเพื่อกำจัดแมลงพาหะเพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว) โดยทำการพ่นสารทุก7 วันได้แก่สาร
– ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร(กลุ่ม2)
-อิมาเม็กตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร(กลุ่ม6)
-อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร(กลุ่ม4)
-คาร์บาริล 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร(กลุ่ม1)
ควรพ่นทุก 7 วันบนต้นถั่วเขียวในแปลงที่พบอาการใบด่างและแปลงข้างเคียง
📢📢📢หากเกษตรกรมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กลุ่มวิจัยการกักกันพีช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
โทรศัพท์ 0 2561 2145 ต่อ 101
เฝ้าระวังโรค 06 1415 2517
ข้อมูลจากเพจ กลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช