เป็นผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ไปร่วมงาน FTI Expo 2022 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่
เป็นผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ไปร่วมงาน FTI Expo 2022
ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ
พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่
วันที่ 29 มิถุนายน 2565 นางสาวจงรัก อิ่มใจ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 เป็นผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ไปร่วมงาน FTI Expo 2022 : Northern Chaper ภายใต้แนวคิด Shaping Future Industries
ยกระดับธุรกิจสร้างเศรษฐกิจยั่งยืนตามแนวทางการพัฒนา BCG Model ระหว่างวันพุธที่ 29 มิถุนายน ถึงวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2565 โดยมีนายประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิดงาน โดยกรมวิชาการเกษตรได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการเรื่อง การใช้นวัตกรรมขับเคลื่อน BCG Model มีรายละเอียด ดังนี้
1. “BCG model กับการพัฒนา กัญชา กัญชง อย่างยั่งยืน”
1.1 B : เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) กัญชา กัญชง : รวบรวม ศึกษา และขยายพันธุ์กัญชาพันธุ์พื้นเมืองของไทยและพันธุ์การค้าจากต่างประเทศ สำหรับผลิตต้นกล้าพันธุ์ดีให้แก่เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรตลอดจนผู้สนใจ รวมถึงใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมพืชสกุลกัญชา เพื่อการศึกษาและพัฒนาสายพันธุ์พืชสกุลกัญชา สำหรับใช้ประโยชน์พืชสกุลกัญชาทางการแพทย์และอุตสาหกรรม ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตต่อไป
1.2 C : เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) ระบบการปลูก/เทคโนโลยีการผลิตพืชสกุลกัญชาที่เหมาะสม ที่สามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าของผลผลิตเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการคัดเลือกสายพันธุ์และทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชสกุลกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และอุตสาหกรรม โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตพืชสกุลกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และโครงการทดสอบพันธุ์กัญชงที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของประเทศไทย
1.3 G : เศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) คู่มือ การผลิตพืชสกุลกัญชา (Cannabis sativa L.) ประกอบการตรวจรับรองตามมาตรฐานฯ เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพร (มกษ.3502-2561) สำหรับพืชสกุลกัญชา วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชสกุลกัญชา เพื่อลดการใช้สารเคมีในการควบคุม ป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูพืช
2. เครื่องมือเก็บเกี่ยวผลกาแฟ
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและพัฒนาเครื่องมือเก็บเกี่ยวผลกาแฟเป็นแบบพกพาที่มีความรวดเร็วกว่าการใช้แรงงานคนเก็บถึง 2 เท่า ลดต้นทุนค่าเก็บเกี่ยวได้เฉลี่ย 3 บาทต่อกิโลกรัมผลสด หรือประมาณ 1,425 บาทต่อไร่
3. เครื่องล้างผลกาแฟอาราบิกา
เครื่องประกอบด้วยการทำงาน 2 ส่วน คือ ตะแกรงโยกทำความสะอาดเบื้องต้น และชุดคัดแยกผลกาแฟเสียโดยใช้ความถ่วงจำเพาะ สามารถต่อเข้ากับเครื่องมือแปรรูปกาแฟในขั้นตอนต่อไปได้ ทำให้ทำงานต่อเนื่อง สามารถแปรรูปกาแฟตั้งแต่ต้นทางจากผลสด จนถึงขั้นตอนทำให้เป็นกาแฟกะลาแห้งได้
4. โรงอบแห้งกาแฟอะราบิกาด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับเกษตรกร แบบควบคุมความชื้นและอุณหภูมิภายในอัตโนมัติ
การลดความชื้นเมล็ดกาแฟอะราบิกาด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยโรงตากแบบหลังคาโค้ง สั่งงานระบบควบคุมอัตโนมัติด้วยสมองกลฝังตัว ใช้ระยะเวลา 7-10 วัน กะลากาแฟมีความชื้นเริ่มต้น 55 %wb ได้เมล็ดกาแฟความชื้นสุดท้าย 12 %wb อัตราการอบแห้งเฉลี่ย 0.2665 %wb ต่อชั่วโมง กาแฟกะลาหลังตากแห้งมีลักษณะทางกายภาพดี ไม่แตกร้าวและบิดงอ ไม่ต่างจากการผึ่งลมในปัจจุบัน ซึ่งใช้เวลานานกว่าถึงสามเท่า
5. โรงเรือนอัจฉริยะควบคุมสภาวะอากาศอัตโนมัติสำหรับการผลิตสตรอเบอรี่
เป็นโรงเรือนต้นแบบที่ใช้เซนเซอร์และสมองกล ควบคุมสภาวะอากาศอัตโนมัติในโรงเรือนให้เหมาะสมสำหรับการผลิตสตรอเบอรี่ และใช้ IoT เพื่อบันทึกข้อมูลและเตือนภัย พบว่าภายในโรงเรือนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 21.6 ?C ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 68% สตรอเบอรี่ที่ปลูกในโรงเรือนมีการเจริญเติบโตดี เมื่ออายุ 70 วันหลังปลูก มีการเจริญเติบโตด้านการแตกยอด การออกดอกและการติดผลสูงที่สุด ผลผลิตตั้งแต่เดือน มี.ค.- ส.ค. 64 รวม 6,619 กรัม น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย 33.09 กรัม/ต้น จำนวนผลเฉลี่ย 5.13 ผล/ต้น น้ำหนักผลเฉลี่ย 6.46 กรัม/ผล และความหวานเฉลี่ย 11.4 Brix