พิธีเปิดงานเสวนา “เครือข่ายฟิวเจอร์เอิร์ธประเทศไทย พ.ศ.2567”

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2567 นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานเสวนา “เครือข่ายฟิวเจอร์เอิร์ธประเทศไทย พ.ศ.2567” จัดโดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหารสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ร่วมกับ Future Earth (Thailand) ภายใต้โครงการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อการจัดการด้านการเกษตรและแก้ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานสภานโยบายการอุดรศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยมี ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านสาขาต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุม ดร.สมศักดิ์และคุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ชั้น 2 อาคารสยามบรมราชกุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์

ในโอกาสนี้ นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ร่วมเสวนา “ความเป็นมาและบทบาทของ Future Earth Thailand” ในภาพรวม โดยนำเสนอแนวทางของกรมวิชาการเกษตร สำหรับเตรียมความพร้อมในการรองรับและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในด้านๆ ประกอบด้วย

  • การใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการพัฒนาภาคการเกษตร ทั้ง การใช้เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหาร และความปลอดภัยทางอาหาร ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล
  • กรมวิชาการเกษตร ให้กับความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้ตั้ง กองพัฒนาวิจัยพืชเศรษฐกิจใหม่และการจัดการก๊าซเรือนกระจก และคาร์บอนเครดิตภาคการเกษตร ซึ่งกองใหม่ที่จัดตั้ง จะช่วยให้เกิดการลดการปลอดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพืช การเป็นหน่วยตรวจรับรอง กรมวิชาการเกษตรมีผู้ผ่านการอบรม หลักสูตรผู้ตรวจสอบความใช้ได้ และผู้ทวนสอบสำหรับผู้ประเมินภายนอก สำหรับโครงการภาคสมัครใจ (VVB) จาก อบก. จำนวน รวม 31 ราย โดยกรมวิชาการเกษตรตั้งเป้าลดค่าใช้จ่ายในการตรวจประเมินลง 50%
  • การแก้ปัญหา PM 2.5 โดยใช้แนวทาง 3 R
  • การใช้ข้อมูลทางวิชาการในการโหลดใน App Chat GPT เพื่อเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ แปลได้หลายภาษา
  • ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง “หลักการ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองพืชที่พัฒนาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม พ.ศ. 2567 ซึ่งประกาศดังกล่าวจะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขอรับหนังสือรับรองพืชที่พัฒนาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้มีการปรับปรุงพันธุ์ และพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ รองรับวิกฤตความมั่นคงทางอาหาร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ