นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงวิสัยทัศน์แนวทางการขับเคลื่อนภาคเกษตร IGNITE AGRICULTURE HUB จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเกษตร และอาหารของโลก เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 โดยร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับนโยบายมาตรการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการเพื่อสนับสนุนภาคเกษตร ในการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ และเร่งศึกษาการใช้เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (Genome Editing, GEd) กรมวิชาการเกษตรจึงได้จัดประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพด้านการเกษตรกรมวิชาการเกษตรเพื่อพิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนเทคโนโลยี จัดทำร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และร่างประกาศกรมวิชาการเกษตรเพื่อรองรับการพัฒนาพันธุ์พืช สัตว์ ประมง จากเทคโนโลยีปรับแต่งจีโนม คาดว่าจะเสนอต่อ รมว.เกษตร ได้ภายในเดือน ก.ค. 2567 และสามารถประกาศในราขกิจจานุเบกษา ให้ทันต่อการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568
นางปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กล่าวว่า เทคโนโลยี Genome Editing เป็นเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูงและได้รับการยอมรับในองค์กรนานาชาติ (FAO, OECD) เพื่อการขับเคลื่อนเทคโนโลยีในประเทศ จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจ การผลักดันงานวิจัยและพัฒนาด้วยเทคโนโลยีGEdสำหรับรองรับภาวะวิกฤติคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพด้านการเกษตรกรมวิชาการเกษตร จะพิจารณาร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และร่างประกาศกรมวิชาการเกษตร และ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยัง ทำหน้า ประสานงานกับหน่วยงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งใน และต่างประเทศ ในการถ่ายทอดความรู้ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพให้ทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร และเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อคิดเห็นได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
การประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพด้านการเกษตรกรมวิชาการเกษตร เพื่อดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ตามมาตรการจขับเคลื่อนมาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและความยั่งยืน การดำเนินการด้านพันธุ์พืช โดยการใช้เทคโนโลยีการปรับแต่ง และแก้ไขยีน Gene Editingจะดำเนินงานโดยการบูรณาการร่วมกันของหลายหน่วยงาน อาทิ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมหม่อนไหม และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาช
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเน้นย้ำว่าการจัดประชุมในวันนี้ เพื่อระดมความคิดของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัย ให้ทัดเทียมนานาประเทศ รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมในภาคการเกษตรทั่วโลก (พืช/ประมง/ปศุสัตว์) แนวทางการพิจารณาเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม โดยคณะกรรมการเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ การดำเนินงานด้านเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมของกรมวิชาการเกษตร (ด้านงานวิจัย/ด้านการกำกับดูแล/ด้านสร้างการรับรู้) เพื่อจัดทำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการปรับปรุงพันธุ์สิ่งมีชีวิตทางการเกษตรด้วยเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ (New breeding Technique)ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขใน การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ (New breeding Technique) เพื่อนำไปสู่ท่าทีที่ชัดเจนของประเทศไทย ในด้านเทคโนโลยี GEd ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมที่จะขับเคลื่อนเทคโนโลยี GEd อย่างเป็นรูปธรรม ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป