การประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 2/2566

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุม คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 2/2566 ในโอกาสนี้นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และคณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 134-135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และระบบออนไลน์

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรแจ้งว่ามติที่ประชุมเห็นชอบ ตามข้อเสนอให้ การเปิดตลาดนำเข้าสินค้าเกษตรในโควต้าตามความตกลง WTO คราวละ 3 ปี (พ.ศ. 2567-2569) จำนวน 5 รายการ ได้แก่ เมล็ดกาแฟ ผลิตภัณฑ์กาแฟ ชา พริกไทย และลำไยแห้ง และการขอขยายปริมาณการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดกาแฟดิบในโควต้า เพิ่มเติมปริมาณ 200 ตัน ภายใต้ความตกลงองค์การการค้าโลก (WTO)

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้รายงานการจัดสรรโควต้ากล้วยสดภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกกล้วยสดไปประเทศญี่ปุ่น เป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ผลิตกล้วยคุณภาพของไทย สอดคล้องกับมาตรการความปลอดภัยอาหารของญี่ปุ่น โดยมีหลักเกณฑ์ที่ใหม่ (ปีที่ 18) เพื่อให้ผู้ส่งออกของไทยได้มีโอกาสส่งออก กรมวิชาการเกษตรจึงได้ปรับ โควตากล้วยสด ดังนี้ กำหนดให้กับผู้ส่งออกภายใต้โครงการการจัดการสารเคมีในกล้วย เพื่อส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น (Control Measure) ได้รับสิทธิในการจัดสรรโควตาเป็นลำดับแรก จำนวน 5,600 ตัน เป็นกลุ่มเดิมที่มีระบบการควบคุมคุณภาพ ความปลอดภัยที่เข้มงวด มีบัญชีรายชื่อแสดงที่ด่านนำเข้าประเทศญี่ปุ่น ได้รับสิทธิในการยกเลิกการกักกันตรวจสารเคมีตกค้างที่ด่านนำเข้าประเทศญี่ปุ่น และผู้ส่งออกรายใหม่ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้โครงการการ (Control Measure) จัดการสารเคมีในกล้วย เพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น จะได้รับ จำนวน 1,600 ตัน โดยมีการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานก่อนการส่งออกจากกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมวิชาการเกษตร กล้วยสดที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย จากแหล่งผลิต GAP หรือ แหล่งผลิตพืชอินทรีย์ หรือ จากหน่วยรับรองมาตรฐานการผลิตพืช (CBs) และขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืชกับกรมวิชาการเกษตร แต่จะไม่ได้รับสิทธิในการยกเลิกการกักกันตรวจสารเคมีตกค้างที่ด่านนำเข้าประเทศญี่ปุ่น ส่วนการจัดสรรโควตา ร้อยละ 10 เป็นโควตากลาง จำนวน 800 ตัน ไว้สำหรับพิจารณาให้ทั้งสองกลุ่มหากมีความต้องการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มเติมเพิ่ม