นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากการที่ นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ได้ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 16 กันยายน 2566 และได้หารือถึงแนวทางการลดฝุ่น PM 2.5 ซึ่งกรมวิชาการเกษตร ได้รับนโยบาย นายกฯ ไปปฏิบัติ สอดรับกับนโยบายของ ร้อยเอกธรรมมนัส พรหมเผ่า รมว เกษตรฯ ด้านการจัดการทรัพยากรการเกษตร โดยใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม ที่กรมวิชาการเกษตรน้อมรับไป ปฏิบัติ โดยบูรณาการกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อวางมาตรการในการลดฝุ่น PM 2.5 แบบมุ่งเป้า ร่วมกัน โดยกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน, สวก.) และสํานักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดทําแผนงานแก้ไขปัญหาและตอบสนอง ภาวะวิกฤตเร่งด่วนของประเทศ “งานวิจัยนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วน ฝุ่นละออง PM 2.5 แบบมุ่งเป้า และบูรณาการเพื่อพร้อมรับมือสถานการณ์วิกฤติ”
เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ประชุมร่วมกับ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่า ราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายปิ่นศักดิ์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นางสาวเพชรดา อยู่สุข รอง ผู้อํานวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) นางสาวกุลวรา โชติพันธุ์โสภณ รองผู้อํานวยการ สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหาร สัตว์ไทย นักวิจัยจากกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับหน่วยงานภาคี หน่วยงานภาคเอกชน ประกอบด้วยสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และคุณฤทธิชัย ภูมิอมร ผู้อำนวยการอาวุโส โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกลำพูน พร้อมด้วยผู้บริหารจากบริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์แก่ซีพีเอฟ หารือความร่วมมือการดําเนินการโครงการส่งเสริมการจัดการเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 สําหรับภาคเกษตรอย่างยั่งยืน ภายใต้มาตรฐานการผลิตพืช ณ ห้องประชุม สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ การ ประชุมครั้งนี้เป็นการระดมความคิดเห็น และความร่วมมือหน่วยงานทุกภาคส่วน ในการการแก้ไขปัญหา และ ตอบสนองภาวะวิกฤตเร่งด่วนของประเทศ ด้วยงานวิจัยนวัตกรรม และการใช้ประโยชน์ เพื่อแก้ปัญหา เร่งด่วน ฝุ่นละออง PM2.5 แบบมุ่งเป้า และบูรณาการ โดยมีประเด็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ดังนี้
• การลดการเผาพื้นที่เกษตร /เกษตรในพื้นที่สูง
• การลดการเผาและการจัดการในพื้นที่ป่าไม้
• การลดควบคุมปริมาณการปล่อยไอเสียจากการคมนาคมในพื้นที่เมือง
• การยกระดับมาตรการและกลไกในการลดฝุ่นควันข้ามแดน
• การบูรณาการฐานข้อมูลกลางเพื่อติดตามระบบคาดการณ์ระบบเตือนภัยและการวิเคราะห์
ข้อมูลสถิติเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ สําหรับแนวทางในการดําเนินงานตามข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่เป็นการบูรณาการร่วมกันของหลาย หน่วยงาน อาทิเช่น กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้แก่
1. โครงการศึกษาเชิงนโยบายเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ในภาคเกษตร ประกอบไปด้วย
กิจกรรมที่ 1.1 ศึกษาการปลูกพืชที่มีศักยภาพทดแทนพืชอายุสั้น เช่น ข้าวโพด อ้อย ที่มีการเผาในเขต ภาคเหนือตอนบน เพื่อลดปัญหาการเผาในพื้นที่ปลูกอ้อย และข้าวโพด
กิจกรรมที่ 1.2 ศึกษาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนพื้นที่นาปรังหรือพื้นที่นอกเขตชลประทานเพื่อลด การเผาในพื้นทปี่ลูกข้าวโดยเฉพาะนาปรัง
2. โครงการ ส่งเสริมการจัดการเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 สําหรับภาคเกษตรอย่างยั่งยืนภายใต้ มาตรฐานการผลิตพืช ประกอบไปด้วย
กิจกรรมที่ 2.1 การพัฒนามาตรฐาน GAP PM 2.5 Free กรมวิชาการเกษตรในฐานะหน่วยรับรอง (Certification Body, CB) มีการตรวจรับรองแปลง GAP ให้กับพืชอาหาร (ผัก และผลไม้) ข้าวโพดเมล็ดแห้ง และ อ้อยโรงงาน ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.ที่เกี่ยวข้อง โดยเกษตรกรไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
กิจกรรมที่ 2.2 การพัฒนาแปลงต้นแบบการผลิตพืชแบบไม่เผาตามมาตรฐาน GAP PM2.5 free ใน อําเภอแม่แจ่ม และดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ไม่ได้รับการรับรอง GAP
กิจกรรมที่ 2.3 การยืนยันการผลิตพืชแบบไม่เผาด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ภายใต้มาตรฐานการผลิตพืช ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ไม่ได้รับการรับรอง GAP
กิจกรรมที่ 2.4 การจัดการซากพืชในแปลง และเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน การผลิตพืช โดยนําผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ในการทําปุ๋ยหมักของสํานักวิจัยพัฒนาปัจจัย การผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เพื่อเร่งกระบวนการย่อยสลายตอซังข้าวโพดในแปลง ซึ่งสามารถเร่ง การย่อยสลายตอซังข้าวโพดในระดับที่ไม่กระทบต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวโพดที่จะปลูกในฤดู ถัดไป และมีแนวโน้มให้ผลผลิตข้าวโพดเพิ่มขึ้น ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า การดําเนินการจัดการเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 สําหรับภาคเกษตรอย่างยั่งยืน ภายใต้มาตรฐานการผลิตพืช จะเป็นการสนับสนุนจังหวัดเชียงใหม่ ตามนโยบาย ของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ “เชียงใหม่ เมืองสะอาด ถนนสวย ดอกไม้งาม” ในการผลิตกล้าต้นนางพญาเสือ โคร่ง ปีงบประมาณ 2566-67 จํานวน 50,000 ต้น สนับสนุนชุมชนปลูกเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า ลดฝุ่น PM 2.5 และสร้าง สีสันที่สวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน