ร่วมลงพื้นที่รับฟังแนวทางการแก้ปัญหาด้านการเกษตร จังหวัดพะเยา

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2566 ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และคณะสวพ. 1 ร่วมลงพื้นที่ติดตามงานกับคณะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่าเพื่อ ประชุมส่วนราชการ และรับฟังแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดพะเยา ณ อนุสาวรีย์พ่อขุนงําเมือง ตําบล เวียง อําเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยกรมวิชาการเกษตรได้ดําเนินการร่วมบูรณาการในการพัฒนาในพื้นที่ จังหวัดพะเยา ดังนี้

1) แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ได้แก่ (1) โครงการศูนย์เรียนรู้เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ทู และแหนแดง

(2) การดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ขยายผลเทคโนโลยีการผลิต สู่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ลิ้นจี่ หอมแดง และกระเทียม

2) แผนงานยุทธศาสตร์การเสริมสร้างพลังทางสังคม ได้แก่ โครงการส่งเสริมการดําเนินงานอัน เนื่องมาจากพระราชดําริ จํานวน 3 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ บ้านหนองห้า ต.ร่มเย็น อ.เชียงคํา จ.พะเยา (2) โครงการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาเกษตร อ่างเก็บน้ําห้วยไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ตําบลภูซาง อําเภอภูซาง จังหวัดพะเยา (3) โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ พระบาทสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร

3) แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร ได้แก่ จดทะเบียน ตรวจสอบรับรองแหล่งผลิต ได้ตรวจรับรองแหล่งผลิตพืช GAP ปัจจุบัน จํานวน 4,033 แปลง 3,074 ราย 16,173.76 ไร่ กิจกรรมหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ จํานวน 1 แปลง 1 ราย พืชผสมผสาน 4.625 ไร่ กํากับดูแลร้านจําหน่ายปัจจัยการผลิตการเกษตร 361 ร้าน

ในการนี้ได้เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนบ้านโป่งเกลือ นิลลาพะเยา ตําบลแม่ปืม อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีความต้องการใช้ปริมาณไข่ผําจํานวนมาก จึงต้องการยื่นขอตรวจรับรองแหล่งผลิตพืช (GAP) ทั้งนี้ ทางกรมวิชาการเกษตร กรมประมง และสํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้มีการ ประชุมหารือเพื่อกําหนดรหัสชนิดสินค้าพืช (ไข่ผํา และสาหร่ายอื่นๆ เช่น เทา/ไก เกลียวทอง) ซึ่งอยู่ระหว่าง ดําเนินการ และกรมวิชาการเกษตรได้มีโครงการวิจัยเกี่ยวกับไข่ผํา โดยแหล่งงบประมาณจากรายได้จากงานวิจัย (กองทุนกรมฯ) ในปีงบประมาณ 2566 จากการหารือแนวทางการพัฒนาศักยภาพการผลิตไข่ผําตามนโยบาย “ตลาดนําการวิจัย” พัฒนาศักยภาพการผลิตไข่ผําพรีเมียม เพื่อตอบโจทย์แนวทางการส่งเสริมตลอดห่วงโซ่การ ผลิตต่อไป โดยวิสาหกิจชุมชนได้นําปลานิลที่เลี้ยงกันมากในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทขนม ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดเศษเหลือน้อยที่สุดซึ่งสอดคล้องกับหลักการ Zero Waste ภายใต้ BCG Model ปัจจุบัน มีการนําไข่ผํามาใช้ประโยชน์จากเดิมใช้เลี้ยงปลามาใช้ประโยชน์เป็นส่วนผสมของอาหาร และพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่จากไข่ผํา อาทิเช่น ปลานิลหยองผสมผําเสริมแคลเซียม คุกกี้ไข่ผํา วุ้นกะทิไข่ผํา ขนมอินทนินไข่ ผํา เป็นต้น