อธิบดีกรมวิชาการเกษตร (นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์) ได้ให้ข้อมูลว่า จากการติดตามสถานการณ์ การแพร่ระบาดของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน (Mudaria luteileprosa) ที่มีผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนในตลาดจีน ซึ่งขณะมีปริมาณทุเรียนที่ถูกตีกลับ มาแล้วจำนวน ๓๔ ชิปเมนท์ ประมาณ ๕๙๔.๖๓ ตัน มูลค่าประมาณ ๘๓.๓๗ ล้านบาท จนอาจจะทำให้ขาดความเชื่อมั่นในการนำเข้าทุเรียนสดจากประเทศไทย และอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออกผลไม้เมืองของประเทศ ซึ่งเกิดความเดือดร้อนกับเกษตรกร ผู้ส่งออก และถึงแม้ว่ากรมวิชาการเกษตรได้มีมาตรการทางกฎหมายระงับโรงคัดบรรจุ (DOA) หรือล้ง จำนวน ๘ ล้ง และอยู่ระหว่างการระงับอีก ๖ ล้ง จากสาเหตุก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ หรือส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงทุเรียนไทยในภาพรวม รวมถึงกระทบกับข้อผูกพันทางการค้ากับจีน ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืช พ.ศ. 2563 ไปแล้ว นั้น แต่กรมวิชาการเกษตรเห็นว่า “การแพร่ระบาดของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน เป็นประเด็นให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจทางการเกษตร” จำเป็นต้องร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ได้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา และกำหนดมาตรการให้รอบคอบและรัดกุมทั้งในมิติของการส่งออก และการช่วยเหลือเกษตรกรที่อาจมีผลกระทบ คาดว่าปริมาณผลลิตในพื้นที่ภาคใต้จะออกมาไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ ตัน รวมถึงตลอด Supply Chain ของการส่งออกทุเรียนสดไทยไปจีน จึงได้มอบหมายให้รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร (นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง) ได้หารือระดมความเห็นกับผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ส่วนราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพื้นที่ภาคใต้ ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ เกษตรกร เตรียมความพร้อมเพื่อกำหนด มาตรการแก้ไข จัดการ ป้องกัน และควบคุม หนอนเจาะเมล็ดทุเรียนให้ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ประกอบด้วยมาตรการเร่งด่วน (ฤดูกาล ๖๖/๖๗) มาตรการต่อเนื่อง (ฤดูกาล ๖๗/๖๘) และระยะยาว
แนวทางการกำหนดเขตควบคุมศัตรูพืช หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน รวมกับกับทุกภาคส่วนเพื่อพิจารณาแนวทางกฎหมายในการควบคุมหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ในเขตควบคุพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช โดยจะออกประกาศชั่วคราวในพื้นที่ซึ่งมีการระบาด ให้อยู่ในพื้นที่จำกัด และเร่งกำจัด หรือสามารควบคุมสถานการณ์ได้จึงจะเพิกถอนเขตควบคุมศัตรูพืชดังกล่าว ทั้งนี้ การประกาศเขตควบคุมพืชไม่มีผลต่อความเสียหายต่อเกษตรกร ไม่ทำลายต้นทุเรียน และจะให้คำแนะนำทางวิชาการที่ถูกต้องในการจัดการกับหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนทั่วประเทศ ที่ได้รับการรับรอง GAP และสามารถส่งออกไปจีนแล้ว จำนวน 633,771.86 ไร่ 73,237 แปลง เกษตรกร เกษตรกรจำนวน 66,054 ราย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ กรมวิชาการเกษตร ประชุมเพื่อหารือในระดับนโยบาย ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานในสังกัดของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทูตเกษตร สมาคมผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ ผู้ประกอบการส่งออก เกษตรกร นักวิชาการอิสระ เพื่อให้การบริหารจัดการหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนครอบคลุมในทุกมิติ โดยใช้กลไกลของคณะทำงานแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ และการสวมสิทธิใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรเพื่อการส่งออกทุเรียนของประเทศไทย ซึ่งเป็นคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวอย่างมาตรการระยะเร่งด่วน มุ่งที่จะแก้ไขปัญหาผลผลิตพร้อมที่จะตัดออกจากสวนของเกษตรกร จึงกำหนดมาตรการ ให้มีการคัดกรองเพื่อลดความเสี่ยง จากแปลงเกษตรกร ได้แก่ การกำหนดมาตรการ ๔ กรอง
๑ การคัดทุเรียนคุณภาพ ให้เริ่มต้นจากสวน เช่น แยกแปลงที่มีการดูแลการกำจัด และควบคุมคุณภาพเป็นอย่างดี ซึ่งผลผลิตจะเรียกว่า ”ทุเรียนหนามเขียว”ต้องตัดผลผลิตที่มีคุณภาพ ให้บ่มเพื่อให้หนอนนออกมา และคัดลูกที่มีหนอนออก และนำผลผลิตที่คุณภาพสมบูรณ์ ส่งขายโรงคัดบรรจุ
๒ ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ หรือล้งเพิ่มขั้นตอนในการคัดทุเรียนที่มีหนอนติดมาโดยการบ่มแยกกองตามแหล่งที่มา แล้วกำจัดหนอน
๓ นายตรวจพืชเพิ่มเปอร์เซ็นต์การสุ่ม ณ โรงคัดบรรจุ
๔ เปิดตรวจสอบ ณ ด่านตรวจพืชปลายทาง ทั้งทางบกทางเรือ ทางอากาศ ทุกชิปเมนท์รับรองก่อนออกใบรับรองสุขอนามัยพืช
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เพื่อหาช่องทางจำหน่ายทุเรียนสดที่มีความเสี่ยงจากหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนต้องจำหน่ายไปยังตลาดบริโภคภายในประเทศ โรงงานแปรรูป เป็นทุเรียนทอด หรือทุเรียนกวน หรือการแกะเนื้อทุเรียนแช่แข็งเพื่อส่งออก ซึ่งมีหน่วยงานพร้อมให้การเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ได้แก่ กระทรวงพานิชย์ ส่วนราชการในจังหวัด รวมถึงผู้ประกอบการแปรรูป