อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และ นายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทยหารือ ผู้อํานวยการใหญ่ และ รองผู้อํานวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กระชับความร่วมมือด้านการเกษตร ขยายผลความร่วมมือทุกมิติ รวมถึง การลดก๊าซเรือนกระจก และ การจัดการคาร์บอนเครดิตภาคการเกษตร

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และ นายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศ ไทย หารือ Dr. QU Dongyu ผู้อํานวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และ Ms. Maria Helena Semedo รองผู้อํานวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ กระชับความ ร่วมมือด้านการเกษตร พร้อมขยายผลความร่วมมือทุกมิติ รวมถึง การลดก๊าซเรือนกระจกและการจัดการคาร์บอน เครดิตภาคการเกษตร และการปรับปรุงมาตรการด้านสุขอนามัยพืชต่างๆ การวิจัยร่วมการลดปริมาณการฉายรังสี เพื่อการกําจัดแมลงศัตรูพืชในผลไม้ ภายใต้อนุสัญญาอารักพืชระหว่างประเทศ พร้อมกันนี้อธิบดีกรมวิชาการ เกษตร รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ผู้แทนสํานักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจํากรุงโรม และ สมาคมดิน และปุ๋ยแห่งประเทศไทย ประชุมหารือ Dr. QU Dongyu ผู้อํานวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่ง สหประชาชาติ (FAO) ในด้านการจัดการดิน และปุ๋ย เพื่อความมั่นคงทางอาหาร และระบบอาหาร อย่างยั่งยืน
 

ในโอกาสนี้ได้ประชุมร่วมกับ รองผู้อํานวยการใหญ่ FAO ในการยกระดับระบบอาหารของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ที่มีนโยบายขับเคลื่อนระบบอาหารของไทยให้เกิดความยั่งยืน ประสานความร่วมมือทุกภาค ส่วน ให้ประชาชนไทยและประชาชนโลก อิ่มสุขภาพดี ภายใต้นโยบาย “เชื่อมไทย … เชื่อมโลก” ร่วมกัน บรรลุ วัตถุประสงค์ และ ขับเคลื่อนผลจากการประชุมสุดยอดผู้นําระบบอาหารโลก ทั้งนี้ได้ร่วมมือกับ FAO ประจํา ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกดําเนินโครงการ “Technical assistance for food loss national baseline survey and developing capacity on agricultural sustainability” ขอบคุณFAOที่สนับสนุนช่วยเหลือผลักดัน ให้ระบบอาหารและการเกษตรของไทย รวมถึงทั่วโลกให้มีความยั่งยืน และขอบคุณ FAO ที่ประกาศให้ “ระบบเลี้ยงควายปลักพื้นที่ทะเลน้อย” จ.พัทลุง เป็นพื้นที่ “มรดกโลกทางการเกษตร” แห่งแรกของไทย

พร้อมกันนี้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรและรองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ได้หารือร่วมกับ Mr. Li Feng Li, Director, FAO Land and Water Division (NSL) ถึงปัญหาการประเมินการพังทลายของดินและความเสื่อม โทรมของดิน ปัจจุบันประเทศไทยประเมินการพังทลายของดิน โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ร่วมกับสมการ การสูญเสียดินสากล ซึ่งวิธีการดังกล่าวยังต้องปรับปรุงให้แม่นยํามากขึ้น นอกจากนี้ในส่วนของการใช้จุลินทรีย์ใน การปรับปรุงดิน กรมพัฒนาที่ดิน และ กรมวิชาการเกษตร ได้มีการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์และ สารปรับปรุงดิน รวมถึงเผยแพร่สู่เกษตรกร ซึ่งกระบวนการศึกษาและวิจัยนวัตกรรมจุลินทรีย์นั้นจะต้องทําการแยก และคัดเลือกจุลินทรีย์ตามธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในดิน ตามกลุ่มจุลินทรีย์ที่ต้องการนํามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร

เมื่อคัดเลือกได้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพแล้ว จึงทําการศึกษาเพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ จุลินทรีย์ ในส่วนของสมาคมดินและปุ๋ยกําลังจะมีการจัดสัมมนาใหญ่ในเรื่อง Fertilizer Certification ซึ่งคาดหวัง ว่าจะได้รับความร่วมมือจาก FAO ทั้งในส่วนของการให้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี และ ผู้เชี่ยวชาญ ในเรื่อง ของการจัดการดิน และปุ๋ยรวมทั้งความสนับสนุนในการจัดตั้ง Center of Excellence For Soil Research in ASIA หรือ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย (CESRA) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เรื่องดิน ของไทยและภูมิภาคเอเชีย

หลังจากนั้นอธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้หารือร่วมกับ Mr. Kaveh Zahedi Director of the Office of Climate Change, Biodiversity, and Environment (OCB) at FAO ในโอกาสที่กรมวิชาการเกษตร ได้รับเลือกเป็นประธานเครือข่ายอาเซียน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ หรือ (ASEAN-Climate Resilient Network: ASEAN-CRN) โดยมีแนวทางในการพัฒนาคาร์บอน เครดิตภาคการเกษตร 2 แนวทางคือ พัฒนาโครงการนําร่องร่วมกับพันธมิตรภาคเอกชน ในการลดประมาณก๊าซ เรือนกระจก เพื่อเปลี่ยนเป็นคาร์บอนเครดิตผ่านกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร ในพืชนําร่อง 7 ชนิด ได้แก่ มันสําปะหลัง มะม่วง ทุเรียน ข้าวโพด ปาล์มน้ํามัน ยางพารา อ้อย และ การพัฒนากรมวิชาการเกษตร ในฐานะหน่วยงานตรวจสอบและยืนยัน ขอบคุณ FAO ในโอกาสที่ GCF (Green Climate Fund) UNFCCC อนุมัติงบประมาณสําหรับโครงการ FAO ให้กับกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศไทย ในการพัฒนาโครงการ “Technical Assistance for Strengthening Capacity of Policy Makers to Mobilize Investment for Resilient and Low Emission Agrifood Systems in Asia under Article 6 of the UNFCCC Paris Agreement” โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายในการใช้ประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐ และภาคเอกชนในการขยาย การดําเนินงานในระยะยาว เพื่อมุ่งสู่ระบบอาหารและเกษตรที่มียั่งยืน ตามข้อตกลงปารีส ข้อ 6 (Article 6) ที่ กล่าวถึงการดําเนินความร่วมมือระหว่างรัฐภาคี เพื่อเพิ่มความสามารถในการลดก๊าซเรือนกระจกและการ ปรับตัว รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนความการลดก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตรมี ความประสงค์ขอรับการสนับสนุนด้าน ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงข้อมูลทางวิชาการ ในการจัดทําระบบคาร์บอนเครดิตภาคการเกษตรและการพัฒนามาตรฐานด้านคาร์บอนเครดิตภาคการเกษตร อาทิ VCS CDM หรือ Golden standard จาก FAO ด้วย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร หารือร่วมกับ Dr. Osama El-Lissy IPPC Secretary FAO ด้านการมีส่วน ร่วมของไทยประเด็นเกี่ยวกับอนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ (International Plant Protection Convention: IPPC) ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ดําเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช โดยใช้ข้อมูลทางวิชาการจากการวิเคราะห์ มาออกประกาศข้อกําหนดมาตรการด้านสุขอนามัยพืชต่างๆ ซึ่งบังคับใช้ในการนําเข้าพืชต้องห้าม หลายชนิด โดยประสบความสําเร็จเป็นอย่างดีกับประเทศคู่ค้าสําคัญ ทั้งนี้ยังขอขอบคุณการให้ความช่วยเหลือทาง วิชาการจาก IPPC ผ่านกิจกรรมหลายอย่าง อาทิ การจัดประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนา เพื่อเพิ่ม ศักยภาพให้แก่นักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร ในการเรียนรู้กระบวนการจัดทํามาตรฐานระหว่างประเทศ พร้อมกันนี้ในโอกาสที่ไทยสามารถส่งออกส้มโอฉายรังสีไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาได้เป็นครั้งแรก กรมวิชาการ เกษตรยังเสนอความร่วมมือด้านงานวิจัยกับ IPPC ในการจัดการระบบการผลิตผลไม้และการลดปริมาณการ ฉายรังสีผลไม้ที่ส่งออกชนิดต่างๆ เพื่อคงคุณภาพของผลไม้ฉายรังสีที่ส่งออกและในขณะเดียวกันสามารถ ทําลายศัตรูพืชที่แฝงมาได้ด้วย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวในตอนท้ายว่า ขอขอบคุณ ผู้อํานวยการใหญ่ และ รองผู้อํานวยการ ใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ FAO ที่ได้ให้การ สนับสนุนความร่วมมือด้านต่างๆ กับประเทศไทยเป็นอย่างดีมาตลอด และเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมดําเนิน โครงการต่างๆกับ FAO ทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งขอบคุณ FAO สําหรับการจัดตั้งวันดนิโลก ขอบคุณประเทศสมาชิกทุกประเทศที่มีส่วนร่วม ในการสนับสนุนกิจกรรมวันดินโลกต่างๆ อย่างจริงจังของทุกภาค ส่วน สําหรับประเทศไทยตลอดทั้งปี มีการจัดงานวันดินโลก และร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมวันดินโลกพร้อมกัน ทั่วทั้งประเทศ ซึ่งความมุ่งมั่นของประเทศไทยนี้สะท้อนให้เห็นถึง ความเชื่อที่ว่า “ทุกวัน คือวัน ดินโลก” (Every day is World Soil Day) และ ปีนี้ ในโอกาสดี ที่ครบรอบ 10 ปี วันดินโลก จึงขอเชิญชวนสมาชิก FAO เฉลิมฉลองวันดินโลกและส่งผลงานของตนเพื่อพิจารณาเข้าร่วมชิงรางวัล King Bhumibol World Soil Day Award ของ FAO/United Nation ในส่วนของประเทศไทย สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ภาคี เครือข่ายนําเสนอการเข้าร่วมชิงรางวัล King Bhumibol World Soil Day Award ในหัวข้อ “Spirit of Soil Spirit of Partnership” ภายใต้ FAO/United Nation ในธีม “Soils where Food begins.