นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยดังนี้
.
– วันที่ 23 มิย 66 กรมศุลกากรจับกุมทุเรียนลักลอบนำเข้าจากชายแดน
.
– วันที่ 24 มิย 66 อธิบดีกรมวิชาการเกษตรสั่งการผู้ที่เกี่ยวข้องติดตามข่าวการจับกุมทุเรียน และให้เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ สืบหาข้อเท็จจริง
.
– วันที่ 27 มิย 66 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ประชุมด่วนร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ พาณิชย์จังหวัด และผู้ประกอบการในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหัวหน้าด่านตรวจพืชทั่วประเทศ เพื่อควบคุมคุณภาพทุเรียน และกำชับมาตรการเข้มป้องกันการสวมสิทธิ์โดยเด็ดขาด
.
– วันที่ 28 มิย 66 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ประขุมร่วมกับ ผอ. กมพ และ ผอ.สำนักนิติการ หาข้อสรุป เพื่อเตรียมดำเนินการกับผู้กระทำความผิด และได้มอบหมายให้ ผอ.สคว. ลงพื้นที่ภาคใต้กับกรมการค้าภายใน ไปตรวจโรงคัดบรรจุ ตามมาตรฐาน มกษ. ๙๐๔๗ – ๒๕๖๐ มาตรฐานสินค้าเกษตร หลักปฏิบัติสำหรับกระบวนการรับวัตถุดิบของโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุทุเรียน มาตรการในการตรวจสอบคุณภาพทุเรียน เพื่อป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพปะปนไปในชวงฤดูการส่งออก
.
– โดยวันนี้ วันที่ 29 มิย 66 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ดังนี้
1. มอบอำนาจให้หัวหน้าด่านตรวจพืชนครพนม ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานี
ตำรวจภูธรเมือง นครพนม จ.นครพนม ให้ดำเนินคดีบริษัทผู้ส่งออก ฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ได้รับรองสุขอนามัยพืช (ส่งออกทุเรียน) ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ตามมาตรา 137 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
2. กรมวิชาการเกษตรออกคำสั่ง “ระงับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งผลทุเรียนสดออกไปนอกราชอาณาจักร, ทะเบียน DU” (ระงับบริษัทผู้ส่งออกที่กระทำความผิด) ซึ่งเป็นการนำหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนไปใช้หรืออ้างถึงในทางที่ทำให้เกิดความเสียหาย หรือส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของประเทศเป็นส่วนรวม หรืออาจทำให้เข้าใจผิดในการได้รับการจดทะเบียนนั้นๆ ปฏิบัติไม่เป็นไปตาม ข้อ 9.3 ของประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งผลทุเรียนสดออกไปยังนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2563
3. กรมวิชาการเกษตรออกคำสั่ง “ระงับหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืช, ทะเบียน DOA” (ระงับล้งที่กระทำความผิด) ซึ่งเป็นการนำการขึ้นทะเบียนไปใช้หรืออ้างอิงในทางที่ทำให้เกิดความเสียหาย หรืออาจทำให้เข้าใจผิดในการหรืออาจทำให้เข้าใจผิดในการได้รับการขึ้นทะเบียนนั้นๆ ปฏิบัติไม่เป็นไปตามข้อ 7.3 ของประกาศกรมวิชาการเกษตรเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืช พ.ศ. 2563
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้สั่งการให้ ผอ.สคว กำชับให้ด่านตรวจพืชทุกด่าน ที่ทำหน้าที่ออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (พ.ก.7) เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบใบรับรองแหล่งผลิตพืช (GAP) ให้ถูกต้อง หากตรวจสอบพบว่าผู้ส่งออก หรือ โรงคัดบรรจุ (ล้ง) มีเจตนาแจ้งหรือให้ข้อมูลกับทางราชการในการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (พ.ก. 7) อันเป็นเท็จ ให้ทุกด่านตรวจพืช ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและรอบคอบ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้แนะนำวิธีการรับรองการใช้ GAP เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ไว้แล้ว
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า กรมวิชาการเกษตรได้ยื่นคำขอตั้งงบประมาณโครงการพัฒนา application ตรวจสอบปริมาณผลผลิตทุเรียน ในปีงบประมาณ 2567 เพื่อจัดทำการเชื่อมโยงระหว่างฐานข้อมูล GAP กับระบบออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (e-Phyto) ให้เกษตรกรสามารถบันทึกข้อมูลการขายผลผลิต วันออกดอก วันเก็บเกี่ยว และปริมาณผลผลิตทุเรียนในฤดูกาลนั้น ทำให้สามารถตัดยอดปริมาณผลผลิตเพื่อประกอบการของใบรับรองสุขอนามัยพืช (PC) กับด่านตรวจพืชได้แบบ real-time โดยเกษตรกรจะเป็นผู้ยืนยันข้อมูลผ่าน application ได้ด้วยตัวเอง ซึ่ง application ดังกล่าว จะเป็นการตรวจสอบย้อนกลับ ระหว่างเกษตรกร โรงคัดบรรจุ ผู้ประกอบการ ทำให้สามารถป้องกันการสวมสิทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเรื่องดังกล่าวกรมวิชาการเกษตรเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องกระทำอย่างเร่งด่วน โดยหวังว่าจะได้งบประมาณสนับสนุนให้กับโครงการดังกล่าว
.
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรย้ำขอให้พี่น้องเกษตรกรเก็บรักษาใบ GAP ไว้อย่างดี ใบรับรอง GAP ของท่านมีค่าอย่าให้ใครนำมาใช้สวมสิทธิ์ รวมถึงหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนโรงงาน (ล้ง, ใบ DOA) ของท่านไม่สามารถให้เช่าใช้แทนกันได้ โดยหากไม่ปฏิบัติตามกรมวิชาการเกษตรสามารถระงับใช้หรือเพิกถอนใบ GAP/GMP หรือหนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนล้งได้