นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ได้มอบหมาย นายมาร์ค กิลคีย์ (Mr. Marc Gilkey) ผู้จัดการประจําภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกใต้ ผู้แทน จากสํานักงานให้บริการตรวจสอบพืชและสัตว์ (APHIS) กระทรวงเกษตรและสหรัฐอเมริกา (USDA) ประจํา กรุงเทพมหานคร เข้าพบเพื่อมอบหนังสือแจ้งผลอย่างเป็นทางการ “ตามที่ APHIS ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาดําเนินการ ทดสอบประสิทธิภาพการแพร่กระจายรังสี (dose mapping) ในบรรจุภัณฑ์ส้มโอ ก่อนการส่งออกที่ประเทศ ไทยนั้น ผลการดําเนินการได้สิ้นสุดแล้ว ขอแจ้งให้กรมวิชาการเกษตร ทราบว่าได้อนุญาตศูนย์ฉายรังสีของ ประเทศไทย สามารถดําเนินการฉายรังสีเพื่อการส่งออกส้มโอผลสดไปสหรัฐอเมริกาได้แล้ว พร้อมทั้งโรงคัด บรรจุที่ได้รับอนุญาตในการดําเนินการส่งออกส้มโอได้” นับว่าเป็นข่าวดีสําหรับเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ รวมทั้ง ผู้ประกอบการส่งออกผลไม้จะได้เพิ่มตลาดส่งออกได้มากขึ้น ซึ่งสหรัฐอเมริกานับได้ว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพมาก ที่สุดแห่งหนึ่งสําหรับการส่งออกส้มโอจากประเทศไทยซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานสากลและรสชาติที่หวานฉ่ำสีสัน สวยงาม

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรและ APHIS ได้จัดทําโครงการ Pre Clearance Program ส่งออกผลไม้ ไปสหรัฐอเมริกา โดยที่ผ่านมา หน่วยงาน APHIS ให้การรับรองผลการทํา dose mapping ผลไม้สด 8 ชนิดคือ มะม่วง ลิ้นจี่ ลําไย สับปะรด มังคุด แก้วมังกร และเงาะ ที่ต้องฉายรังสี แกมมา ปริมาณ 400 เกรย์ ก่อนการส่งออก โดยส้มโอเป็นผลไม้ชนิดล่าสุด อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้แนะนํา ให้ผู้ส่งออก เกษตรกร และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทําแผนการส่งออกผลไม้สดทั้ง 8 ชนิด เพื่อให้สามารถ ส่งออกได้ตลอดทั้งปี โดยทาง APHIS จะจัดเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบตามแผนที่ผู้ส่งออกจัดทําไว้ ซึ่งกระบวนการ ดังกล่าวจะเป็นการขยายการส่งออก และเป็นการลดค่าตรวจของเจ้าหน้าที่ของ APHIS ที่จะมาดําเนินการใน ประเทศไทย ซึ่งจะนําไปสู่ความยั่งยืนของโครงการ
แผนทางเรือ บริษัท DP Produce Inc. จะส่งออกส้มโอ พันธุ์ทองดี และขาวน้ำผึ้ง จากประเทศไทยไปรัฐ ลอสแอนเจลิส ทางเรือ โดยเริ่มส่งออกวันที่ 1 สิงหาคม 2566 ขนส่งโดยตู้บรรจุสินค้าขนาด 20 ตัน จํานวน 700 กล่อง ปริมาณ 8,400 กิโลกรัม เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียล (ระยะเวลาเดินทางจากประเทศไทยไป สหรัฐอเมริกาประมาณ 30 วันไม่ทําให้ส้มโอฉายรังสีเสียหายและรสชาติเปลี่ยนแปลง