การพัฒนาพันธุ์กาแฟโรบัสต้าดำเนินการ 2 วิธี คือ 1) การรวบรวมพันธุ์จากแหล่งปลูกต่างๆ ภายในประเทศมาทำการคัดเลือกพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 2) การนำพันธุ์กาแฟโรบัสต้าจากต่างประเทศมาทดสอบตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 โดยศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรได้รับพันธุ์กาแฟโรบัสต้า จากบริษัทเนสท์เล่ (ไทย) จำนวน 45 สายพันธุ์ จากศูนย์วิจัยเนสท์เล่ประเทศฝรั่งเศสและมาเลเซีย โดยกาแฟโรบัสต้าที่นำเข้ามาทดสอบจัดอยู่ในกลุ่มพวก Guinean (G) และ Congolese (C) หรือเป็นลูกผสมระหว่างพวก Guinean กับ Congolese และศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรค้นคว้าได้พันธุ์กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ดีที่มีคุณลักษณะดีและเมล็ดได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการใน ช่วงปี พ.ศ.2543-2549 สามารถค้นคว้าและคัดเลือกได้ 5 พันธุ์ ในปี พ.ศ.2550 ได้นำเสนอพันธุ์ FRT65 เป็นพวก Congolese CIRAD (Centre de Coperation Internationale en Recherche Agronomique pour le Developpement ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในประเทศ Togo ได้เก็บรวบรวมและส่งมอบในรูปกิ่งตอนให้ศูนย์วิจัย เนสท์เล่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ.2532 และนำเข้ามาทดสอบในประเทศไทยปี พ.ศ.2538 สรุปการคัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538-2550 รวมระยะเวลาการวิจัย 13 ปี
ทรงพุ่มปานกลาง ใบสีเขียวเข้ม จำนวนผลต่อข้อ 11.85 ผล ดอกสีขาว ขนาดผล (กว้างxยาว) 1.18x1.32เซนติเมตร รูปร่างกลมรี ปลายมน ขนาดเมล็ด (กว้างxยาวxหนา) 0.64x0.84×0.35 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 16.2 กรัมต่อ 100 เมล็ดแห้ง ความยาวก้าน 78.72 เซนติเมตร จำนวนข้อที่ให้ผลผลิต 18.04 ข้อ
ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 73.7 เปอร์เซ็นต์ คือเฉลี่ย 4 ปี (2545/46-2548/49) 349.3 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ขนาดเมล็ดได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการคือมีน้ำหนัก 16.2 กรัมต่อ100 เมล็ดแห้ง การทดสอบคุณภาพการชิมเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ โดยจัดอยู่ใน Class 7.2
เหมาะสำหรับพื้นที่จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง ยกเว้นพื้นที่ที่เป็นทรายและน้ำท่วม
ไม่มี
พันธุ์แนะนำ รับรองเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2551
ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร สถาบันวิจัยพืชสวน