กาแฟอะราบิกาคัดเลือกแบบสายพันธุ์บริสุทธ์ (pure line) จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ Mundo Novo 1535/33 กับพันธุ์H.W. 26/14 (19/1 Caturra vermelho x CIFC 832/1 Hibrido de Timor (HDT)) โดยศูนย์วิจัยโรคราสนิมกาแฟ (Centro de Investigacao das Ferrugens do Cafeciro : CIFC) เมือง Oeiras ประเทศโปรตุเกส ได้ลูกผสมชั่วที่ 1 ในปี 2503 โดยแต่ละชั่ว (generation) ได้ถูกส่งไปปลูกคัดเลือกในประเทศแองโกลา บราซิล โปรตุเกส และไทย โดยในประเทศไทยได้ทำการทดสอบในชั่วที่ 2 ในปี 2518-2524 ดำเนินการที่ ศูนย์วิจัยและส่งเสริมกาแฟอะราบิกาแม่หลอด (ปัจจุบันคือ สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่) ประเทศไทย ชั่วที่ 3 ในปี 2525-2532 ดำเนินการที่ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ประเทศไทย ชั่วที่ 4 ในปี 2532-2543 ดำเนินการที่ ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ในประเทศไทย ชั่วที่ 5 ในปี 2543-2546 ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและส่งเสริมกาแฟอะราบิกาแม่หลอด (ปัจจุบันคือ สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่) ชั่วที่ 6 ในปี 2546-2555 ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและส่งเสริมกาแฟอะราบิกาแม่หลอด (ปัจจุบันคือ สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่) และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย (วาวี: 1,449 เมตร) อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ชั่วที่ 7 ในปี 2555-2561 ดำเนินการคัดเลือกและเปรียบเทียบในพื้นที่ที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 1,200-1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย (วาวี: 1,449 เมตร) อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (แม่จอนหลวง: 1,275 เมตร)ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ จนถึงปี 2563 ได้สายพันธุ์ดีเด่น กาแฟอะราบิกาสายพันธุ์คาร์ติมอร์H420/9ML2/8KW78KK106ML3/1WW29/13
–
ต้องปลูกภายใต้สภาพร่มเงา ป่าธรรมชาติ ระหว่างแถวปลูก เช่น ซิลเวอร์โอ๊ค ถั่วหูช้าง เหรียง สะตอ และมะคาเดเมีย เป็นต้น เนื่องจากโดยทั่วไปกาแฟอะราบิกาไม่ทนต่อสภาวะอากาศร้อน แห้งแล้ง โดยตรง
พันธุ์แนะนำ รับรองเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชสวน