Search for:

มะนาวพันธุ์ กวก. พิจิตร 1

มะนาวพันธุ์ กวก. พิจิตร 1

       มะนาวพันธุ์พิจิตร 85-1 หรือมะนาวพันธุ์ M33 เป็นมะนาวลูกผสมจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์แป้นรำไพเป็นแม่กับ มะนาวพันธุ์น้ำหอมเป็นพ่อ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ซึ่งมีขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ดังนี้
      – ปี 2535-2538 รวบรวมและศึกษาพันธุ์มะนาว ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร จำนวน 10 พันธุ์
      – ปี 2539-2540 ผสมข้ามพันธุ์มะนาว ที่ศูนย์วิจัยละพัฒนาการเกษตรพิจิตร จำนวน 3 คู่ผสม คือพันธุ์แป้นรำไพ x พันธุ์น้ำหอม, พันธุ์แป้นรำไพ x พันธุ์หนังคันธุลี และพันธุ์ตาฮิติ x พันธุ์แป้นรำไพ
      – ปี 2541-2543 คัดเลือกพันธุ์มะนาวลูกผสม ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร เป็นมะนาวลูกผสมระหว่าง พันธุ์แป้นรำไพ x พันธุ์น้ำหอม จำนวน 300 พันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ดีเด่นได้ 2 พันธุ์
      – ปี 2549-2553 ทดสอบพันธุ์มะนาว ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย จำนวน 4 พันธุ์ เป็นพันธุ์คัดเลือก 3 พันธุ์ และพันธุ์เปรียบเทียบพันธุ์แป้นรำไพ 1 พันธุ์ ได้พันธุ์มะนาวที่มีความทนทานต่อโรคแคงเกอร์ มีการเจริญเติบโตดี ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี 1 พันธุ์ คือ
พันธุ์
M33

  • มะนาวสายพันธุ์ M33 ทนทานต่อโรคแคงเกอร์ดีกว่ามะนาวพันธุ์แป้นรำไพ (พันธุ์การค้า) สายพันธุ์ M33 พบอาการของโรคแคงเกอร์ที่ใบร้อยละ 17.15 ส่วนพันธุ์แป้นรำไพพบอาการของโรคที่ใบร้อยละ 78.3
  • เจริญเติบโตเร็ว เมื่ออายุ 4 ปี สายพันธุ์ M33 มีความสูงต้นเฉลี่ย 219 เซนติเมตร พันธุ์แป้นรำไพมีความสูงเฉลี่ย 121เซนติเมตร
  • ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์แป้นรำไพร้อยละ 663 ผลผลิตเฉลี่ย 3 ปี สายพันธุ์ M33 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 794 กิโลกรัมต่อไร่พันธุ์แป้นรำไพให้ผลผลิตเฉลี่ย 104 กิโลกรัมต่อไร่
  • น้ำหนักผลมะนาวสายพันธุ์ M33 มีน้ำหนักผล 67.2 กรัม/ผล สูงกว่ามะนาวพันธุ์แป้นรำไพร้อยละ 35.5
  • ปริมาณน้ำคั้น มะนาวสายพันธุ์ M33 มีปริมาณน้ำคั้น 20.5 มิลลิตรต่อผล สูงกว่ามะนาวพันธุ์แป้นรำไพร้อยละ 17.1

      ปลูกได้ทั่วไปในพื้นที่แหล่งน้ำสมบูรณ์และไม่ขาดแคลนในช่วงฤดูแล้ง

      ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่ขาดแคลนแหล่งน้ำ

       พันธุ์แนะนำ รับรองเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556

     ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร  สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2