Search for:

ชื่อสามัญ กระเจียว

ชื่อวิทยาศาสตร์  Curcuma spp

ชื่ออื่นๆ  

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

มีถิ่นกาเนิดแถบอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร มีการกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียเขตร้อน ออสเตรเลีย และแอฟริกา ไม่น้อยกว่า 70 ชนิด ประเทศไทยพบไม่น้อยกว่า 35 ชนิดกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาค โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีความหลากหลายของสายพันธุ์สูง แหล่งผลิตใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน เลย ชัยภูมิ และกาญจนบุรี

ลักษณะทั่วไป

เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี ใบเลี้ยงเดี่ยวมีลำต้นใต้ดิน ทำหน้าที่ สะสมอาหาร เรียกว่า เหง้า หรือหัว มีลําต้นเทียม (pseudostem) ซึ่งเกิดจากการอัดตัวกันของกาบใบ โดยกาบใบเจริญมาจากตาข้างของเหง้า ราก เป็นรากฝอย ที่ปลายรากสะสมอาหาร ทําให้รากบวมเป็นตุ่มขนาดใหญ่ เรียกว่า ตุ้มราก ดอก ช่อดอกแน่น เป็นใบประดับที่ออกจากปลายยอดของลำต้นเทียม เรียงซ้อนกันเป็นเกลียวหรือ เป็นแถว มีลักษณะคล้ายทรงกระบอกหรือกระสวย ดอกจริงจะอยู่ในซอกของใบประดับ แต่ละ ใบประดับจะมีดอกอยู่รวมกันหลายดอก จะบานไม่พร้อมกัน

พันธุ์และการขยายพันธุ์

กระเจียวเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงแดดจัดประมาณ 70-100%  ถ้าได้รับแสงแดดน้อยจะทำให้ก้านดอกอ่อน คอตกช่วงปลูกในฤดูปกติ เดือนเมษายน-พฤษภาคม หลังปลูกประมาณ 2-3 เดือน ต้นปทุมมาจะเริ่มให้ดอกตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน จากนั้นจึงพักตัวเมื่อย่างเข้าฤดูหนาว ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

การขยายพันธุ์

1.การเพาะเมล็ด เมล็ดของพืชสกุลนี้ ติดเมล็ดได้ง่ายตามธรรมชาติ นำเมล็ดมาเพาะในฤดูปลูกถัดไป  ในการขยายพันธุ์แบบนี้ อาจพบความแปรปรวนของสายพันธุ์  ที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ตามธรรมชาติ
2.การแยกหัวปลูก เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติ ช่วงฤดูปลูกที่เหมาะสม คือ ในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากสามารถให้ดอกได้เร็ว
3.การผ่าเหง้าปลูก เป็นวิธีการเพิ่มชิ้นส่วนของหัวพันธุ์ให้มากขึ้น โดยผ่าแบ่งตามยาวเป็น 2 ชิ้น เท่าๆ กัน แนวการผ่าจะต้องอยู่กึ่งกลางระหว่างตาที่อยู่สองข้างของเหง้า ชิ้นเหง้าที่ได้ควรมีตาข้างที่สมบูรณ์ไม่น้อยกว่า 1 ตา และมีรากสะสมอาหารติดมาด้วยอย่างน้อย 1 ราก วิธีนี้จะเป็นการประหยัดค่าหัวพันธุ์เริ่มต้น แต่เกษตรกรไม่นิยมเนื่องจากมีปัญหาเรื่องโรคเข้าทำลายบริเวณบาดแผล
4.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นการเลี้ยงจากส่วนของช่อดอกอ่อนที่ได้จากต้นที่ไม่เป็นโรค และยังมีกาบใบห่อหุ้มอยู่จะดีที่สุด  มีข้อดีคือปราศจากเชื้อ   หรือมีการปนเปื้อนน้อย เปรียบเทียบกับการใช้ชิ้นส่วนจากหัว    จะมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราสูงมาก ต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะใช้เวลาประมาณ 1 ½ – 2 ปี ที่จะให้ดอกและหัวพันธุ์ที่ได้คุณภาพ

วิธีการปลูก

-เจริญเติบโตในที่มีแสงแดดจัด  ประมาณ 70 – 100%

-ดินที่เหมาะสมเป็นดินร่วนหรือร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี

-การเตรียมแปลง : ปลูกลงแปลง ควรไถตากดินนาน 10-14 วัน ใช้ยูเรียผสมปูนขาว อัตราส่วน 1:10 (80:800) เพื่อป้องกันโรคหัวเน่า ไม่เคยมีประวัติการระบาดของโรคหัวเน่าหรือโรคเหี่ยว และไม่เคยปลูกพืชอาศัยของโรคนี้ เช่น พืชตระกูลขิง มะเขือ มันฝรั่ง งา ยาสูบ

-วางเหง้าปลูกแบบวางเหง้านอน

การดูแลรักษา

-การให้น้ำ  อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง  จนกระทั่งดอกโรย ใบโทรมและเหลือง จนถึงช่วงที่ใกล้ลงหัวแล้ว  ช่วงนี้เริ่มงดน้ำ เพื่อให้ต้นยุบตัวและทำให้เก็บผลผลิตได้เร็วขึ้น

การขุดหัวพันธุ์ ควรเก็บเมื่อต้นแก่เต็มที่ ใบแห้งเป็นสีน้ำตาลและต้นยุบตัว ก่อนขุดทยอยงดน้ำให้ดินแห้ง เพื่อให้มีการเคลื่อนย้ายอาหารจากใบลงสู่หัว อย่างน้อย 1 – 1.5 เดือน การเก็บเกี่ยวเร็วในขณะที่ต้นยังแก่ไม่เต็มที่ ใบมีสีเหลืองปนเขียวและดินยังมีความชื้น จะทำให้หัวพันธุ์ที่ขุดเหี่ยวเร็ว เก็บรักษาได้ไม่นานและความงอกต่ำ ต้นที่ยังไม่แก่จัดใบยังมีสีเหลืองโคนต้นยังรัดตัวไม่ดี ไม่ควรดึงใบออกเพราะจะทำให้หัวพันธุ์เกิดแผล ให้ใช้กรรไกรตัดจุกเหลือประมาณ 1 เซนติเมตร

การล้างหัวพันธุ์  ทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้รากหักเสียหาย ถ้าพบรากสีน้ำตาล นิ่ม ให้ทิ้งทั้งกอ นำเฉพาะกอดีมาคัดแยก

การตัดแต่งหัวพันธุ์ ตัดแต่งหัวพันธุ์ด้วยกรรไกร กรรไกรควรจุ่มแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ หรือคลอร็อกซ์ 10 เปอร์เซ็นต์บ่อยๆ ตัดแต่งรากที่หักไม่สมบูรณ์และมีแผลออก

การแช่หัวพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรค  นำไปแช่สารเคมีเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของศัตรูพืชประมาณ 15 – 20 นาที นำไปผึ่งบนชั้นให้แห้งคัดแยกหัวพันธุ์ตามมาตรฐานที่กำหนด

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

  1. โรคหัวเน่า เป็นโรคที่สำคัญที่สุดในการผลิตปทุมมา ลักษณะอาการหัวพันธุ์แก่คล้ำมีสีม่วงและมีสีน้ำตาลเมื่อเป็นโรคนาน ส่วนหัวพันธุ์และรากสะสมอาหารมีสีคล้ำขึ้น เน่าเหม็น เมื่อผ่าหัวพันธุ์ที่เป็นโรคในระยะแรก เนื้อเยื่อหัวพันธุ์อ่อนมีลักษณะฉ่ำน้ำหรืออาการเนื้อแก้ว
  2. โรคจุดสนิม ลักษณะอาการเข้าทำลายจะทำให้เกิดความเสียหายกับทุกส่วนของพืช ลำต้น ใบ ก้านช่อดอก และดอก มักระบาดในช่วงฤดูฝนซึ่งจะทำให้ปทุมมาที่ปลูกเป็นไม้ตัดดอกไม่สวยงาม ดอกจุด ดอกลาย คล้ายสนิมไม่เป็นที่ต้องการของตลาด และทำให้อายุการปักแจกันสั้นลง
  3. โรคใบจุดและใบไหม้ พบแผลมีลักษณะเป็นจุดช้ำ ฉ่ำน้ำ สีเหลืองอยู่ที่บริเวณใบ เมื่อแผลพัฒนาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ถ้าอาการรุนแรงแผลที่เกิดขึ้นจะลุกลามอย่างรวดเร็ว ทำให้ใบไหม้
  4. โรคใบจุดโฟมา แผลจุดยุบตัวเล็กน้อย ขนาดประมาณ 1.0-5.0 มิลลิเมตร ค่อนข้างกลม ขนาดไม่แน่นอน มีสีน้ าตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำเมื่อแผลลามติดต่อกัน ทำให้เกิดแผลไหม้ ระบาดช่วงฤดูฝนเช่นเดียวกับโรคอื่นๆ

การใช้ประโยชน์

  • ไม้ตัดดอก (Cut flower plant)
  • ไม้ดอกกระถาง (Flowering pot plant)
  • ไม้ดอกประดับแปลง (Bedding plant)
  • ผลิตหัวพันธุ์ เพื่อจำหน่าย และส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย