Search for:

ชื่อสามัญ  มะม่วงหิมพานต์  Cashew

ชื่อวิทยาศาสตร์   Anacardium occidentale L.

ชื่ออื่นๆ    Cashew Apple, Cajueiro, Cashu, Acajoiba, Acaju, Cajou, Jocote, Maranon Pomme Cajou

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้ผลพื้นเมืองของอเมริกาใต้ มีปลูกกันทั่วไปตั้งแต่เม็กซิโกจนถึงเปรู ต่อมาได้ ขยายพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวางในทวีปอาฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ตามหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทร แปซิฟิค ตลอดจนถึงทวีปเอเซีย ประเทศที่นับได้ว่าเป็นผู้ส่งออกผลิตผลจากมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ของโลก ได้แก่ อินเดีย โมแซมบิค แทนซาเนีย บราซิล เป็นต้น

ลักษณะทั่วไป

ประเภทต้น:ไม้ยืนต้น ทรงพุ่ม:ทรงพุ่มเป็นรูปครึ่งวงกลม (Dome shape) – รูปร่างใบ:รูปไข่ (Oblong obovate) – ขนาดใบ กว้าง x ยาว (ซม.): 12-13.5 x 16.0-19.5 ซม. – การออกดอก:ปลายกิ่ง – ช่อดอก:แบบ Panicle – ความยาวช่อดอก 15-25 ซม. – จำนวนช่อดอก8-11ช่อดอก สีผลปลอม (Apple): สีเหลือง – รูปร่างเมล็ด:คล้ายไต (Kidney-shape) – สีเมล็ด:สีเทา

พันธุ์และการขยายพันธุ์

มะม่วงหิมพานต์สามารถขยายพันธุ์ได้ 2 แบบ คือ 1. การเพาะเมล็ด 2. การขยายพันธุ์(การตอน การติดตา การทาบกิ่ง แต่วิธีที่นิยมที่สุดคือ การเสียบข้าง)

วิธีการปลูก

ปลูกต้นพันธุ์ที่ได้จากการขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง (Grafting)

การดูแลรักษา

1. การใส่ปุ๋ย – หลังการปลูก 6 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยคอกรอบโคนต้น อัตรา 500กรัม/หลุม และใส่อีกครั้งหลังการปลูก 12 เดือนหรือ 1 ปี ทั้งนี้ ควรใส่ในช่วงต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน – มะม่วงหิมพานต์อายุ 1-2 ปี ให้ใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกรอบโคนต้นทั้ง 2 ครั้ง และปุ๋ยเคมีในอัตรา 200-800กรัม/ต้น โดยใช้ปุ๋ยสูตร12-24-12 ทั้งนี้ ควรใส่ปุ๋ยเคมีให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันความเค็มของปุ๋ยที่อาจทำให้รากเสียหายได้ – มะม่วงหิมพานต์อายุ 3 ปี ให้ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี สูตร12-24-12 จำนวน 3 ครั้ง/ปี อัตรา1กิโลกรัม/ต้น – มะม่วงหิมพานต์อายุ 4-6 ปี ขึ้นไป ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 15 – 15 – 15 จำนวน 2 ครั้ง/ปี ในอัตรา1.5-2กิโลกรัม/ต้น – มะม่วงหิมพานต์อายุ 7 ปี ขึ้นไป ให้ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง/ปี ปุ๋ยเคมีเป็นสูตร 13-13-21 อัตรา2-3กิโลกรัม/ต้น 2. การให้น้ำ มะม่วงหิมพานต์หลังจากการปลูกในช่วง 1 ปี แรก หากถึงช่วงฤดูแล้งที่ดินแห้งมาก ควรให้น้ำเป็นครั้งคราวเพื่อให้ต้นรอดได้ แต่หลังจาก 1 ปีไปแล้ว ต้นมะม่วงหิมพานต์จะสามารถทนแล้งได้มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องให้น้ำก็ได้ 3. การกำจัดวัชพืช ในช่วง 1 ปีแรก หลังการปลูก ให้กำจัดวัชพืชอย่างน้อย 3 เดือน/ครั้ง ด้วยการใช้รถไถพรวนกลบวัชพืชหรือใช้จอบถากกำจัดวัชพืชบริเวณรอบลำต้น หรือใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกันก็ยิ่งได้ผลดี เมื่ออายุมะม่วงหิมพานต์เข้าในปีที่ 2 แล้ว จะไม่ค่อยเป็นห่วงนัก เพราะลำต้นสามารถตั้งตัวได้ดี ทนแล้งได้ดี และมีอัตราการเติบโตที่เร็วขึ้น จึงแข่งกีบวัชพืชได้ดี แต่ทั้งนี้ ควรไถพรวนกำจัดวัชพืชในทุกๆ 6 เดือน/ครั้ง จนกว่าต้นจะมีอายุ 3-4 ปี ค่อยลดลงเหลือเพียงปีละครั้งก็ได้ 4. การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งจะเริ่มทำหลังจากต้นมีอายุแล้วประมาณ 2 ปี หรือหากต้นเติบโตเร็วก็อาจตัดแต่งกิ่งในช่วงปลายปีที่ 1 ทั้งนี้ การตัดแต่งกิ่ง ควรตัดกิ่งด้านล่างที่ยาวออกก่อน และให้ตัดกิ่งขนาดเล็กออก โดยเฉพาะกิ่งขนาดเล็กที่อยู่ชิดกับกิ่งขนาดใหญ่ รวมถึงกิ่งที่ติดโรคหรือกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ออกให้หมด

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

การใช้ประโยชน์

รับประทานเมล็ด

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

<<กลับไปหน้าฐานข้อมูลไม้ผล