ชื่อสามัญ บ๊วย Chinese Plum / Japasnese Apricot
ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus mume
ชื่ออื่นๆ
ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา
มีแหล่งกำเนิดในจีน แต่แพร่กระจายไปหลายประเทศ เช่นญี่ปุ่น เวียดนาม ลาว พม่า และไทย สำหรับประเทศไทยนั้นบ๊วยกระจายเข้ามาทางตอนเหนือของประเทศ เช่น จังหวัดเชียงราย ดังจะเห็นได้ว่ามีบ๊วยพันธุ์พื้นเมือง เรียกว่า พันธุ์เชียงรายหรือแม่สาย
ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ ใบรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบกลม ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกมีสีขาว ผลกลมหรือรูปไข่ เมื่อผลแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
พันธุ์และการขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบกิ่งพันธุ์ปลูกที่เหมาะสม พันธุ์เชียงรายหรือแม่สาย พันธุ์ปิงติง พันธุ์เจียนโถ พันธุ์บารมี 1 (ขุนวาง 1) และพันธุ์บารมี 2 (ขุนวาง 2)
วิธีการปลูก
ระยะปลูก 10 x 10 หรือ 12 x 12 เมตร ขุดหลุมให้มีขนาด ความกว้าง x ความยาว x ความลึก ตั้งแต่ 70 เซนติเมตร ขึ้นไปจนถึง 1 เมตร ใส่หินฟอสเฟต อัตรา 100 -200 กรัม (1-2 ขีด) ต่อหลุม และปุ๋ยคอก (ปุ๋ยมูลสัตว์ต่างๆ) หรือ ปุ๋ยหมัก จำนวน 5-10 กิโลกรัมต่อหลุม ผสมคลุกเคล้ากับดินชั้นบนแล้วใส่ลงไปในหลุมโดยใส่ให้สูงกว่าระดับดินเดิม 10-15 เซนติเมตร
การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย : ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 15-15-15 12-24-12 ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ตามช่วงอายุ
การให้น้ำ : ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ดังนั้นสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ในสภาพแปลงที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว
การตัดแต่งกิ่ง : รูปร่างแบบเปิดกลาง โดยหลังปลูก 3 – 6 เดือน ให้เลือกกิ่งข้างที่ทำมุม 45 องศากับลำต้น สูงจากพื้นดิน 60 – 90 เซนติเมตร จำนวน 3 – 4 กิ่ง รอบลำต้นแล้วตัดยอด
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
โรค : ใบจุดรู และผลมีจุดลาย
แมลง : เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง หรือเพลี้ยหอย หนอนเจาะลำต้น และแมลงวันทอง
การใช้ประโยชน์
สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้บริโภคได้ เช่น บ๊วยดองหรือบ๊วยเจี่ย บ๊วยดองหรือบ๊วยเจี่ย เหล้าดองบ๊วย ฯลฯ
แหล่งพืชอนุรักษ์
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่