Search for:

ชื่อสามัญ ดูกู

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lansium domesticum Corres

ชื่ออื่นๆ    ลองกองป่า

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

เกาะมาลายูหมู่เกาะชวา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์  และประเทศไทย

ลักษณะทั่วไป

ต้น       จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 30 เมตร เปลือกลำต้นชั้นนอกมีสีส้มและสีเทาเป็นดวงๆ และลำต้นมียาง

ใบ         มีใบเป็นใบประกอบ เกิดสลับซ้ายขวา ใบค่อนข้างหนา มีสีเขียวเข้มคล้ายใบลองกอง แต่รอยหยักเป็น    คลื่นจะน้อยกว่า โดยใบดูกูนั้นมีลักษณะเป็นรูปไข่รีโค้งมน

ดอก      ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกมีขนาดเล็ก ดอกมีสีขาวจนถึงสีเหลืองอ่อน ก้านช่อดอกเป็นสีเหลืองอมสีเขียว โดยช่อดอกมักจะเกิดตามลำต้นและตามกิ่ง

ผล        ผลสดออกเป็นช่อ ลักษณะคล้ายกับลองกองแต่มีขนาดใหญ่กว่า โดยผลมีลักษณะกลมรี ขนาดประมาณ             2-4 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีเหลือง เปลือกของผลค่อนข้างบาง ผิวละเอียด เนื้อผล  ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นฉุน รสหวานอมเปรี้ยวและหอม มีเมล็ดในผลมาก โดยเมล็ดจะไม่ขมเหมือนลางสาด

พันธุ์และการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง การเสียบยอด หรือการติดตา

วิธีการปลูก

เลือกพื้นที่ปลูก ควรเป็นพื้นที่ราบ น้ำไม่ท่วมขัง ดินเป็นดินร่วน ระบายน้ำได้ดี กำหนดระยะปลูกที่เหมาะสม คือ              4 X 6 เมตร หรือ 6 X 6 หรือ 6 X 8 เมตร ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่

การเตรียมหลุมปลูก  ควรใส่ปุ๋ยคอก วัสดุปรับปรุงดิน ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีสูตร 0-3-0 ผสมกับดินเดิมก่อนปลูก

การดูแลรักษา

รดน้ำทุกๆ 5 วัน ไม่ควรให้น้ำมากเกินไปเพราะจะทำให้รสชาติของดูกูจืด ชอบแสงแดด 100% ส่วนการให้ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยเคมีทางดิน สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ช่วงพัฒนาดอกและติดผล เมื่อพบการแตกใบอ่อน พ่นด้วยปุ๋ยทางใบ 3 ครั้ง ช่วงพัฒนาการของผลใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 13-13-21 อัตรากิโลกรัมต่อต้น

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

  1. โรคราสีชมพู
  2. โรครากเน่า
  3. โรคผลเน่า
  4. โรคราดำ
  5. เพลี้ยไฟ
  6. หนอนกินใต้ผิวเปลือก
  7. แมลงวันผลไม้

การใช้ประโยชน์

ผลสดใช้รับประทานเป็นผลไม้  ลำต้นสามารถนำมาทำเป็นวัสดุสำหรับใช้ในงานก่อสร้างได้ เนื่องจากมีเนื้อไม้ที่แข็งแรง เมล็ดมีขนาดใหญ่ นิยมเพาะเมล็ดเพื่อใช้เป็นต้นตอ สำหรับขยายพันธุ์ลองกองและลางสาดพื้นที่ปลูกภายในศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา จำนวน 0.25 ไร่

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา

<<กลับไปหน้าฐานข้อมูลไม้ผล