ชื่อสามัญ ไผ่เปาะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrocalamus giganteus Munro
ชื่ออื่นๆ ไ
ไผ่ซางหม่น ไผ่นวลราชินี
ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา
พบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในประเทศพม่า อินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย และไทย
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ตระกูลหญ้า สูง 25-30 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 20-25 เซนติเมตร เป็นไม้ไผ่ขนาดใหญ่ เป็นกอกิ่งเรียว ปล้องค่อนข้างสั้นบาง ตอนล่างของลำเปลาไม่มีกิ่ง ตอนปลายลำสีเขียวอมเทาคล้ายกับมีขี้ผึ้งสีขาวคลุมทั่วๆ ไป ลำต้นอ่อน ข้อตอนล่างมีขนและมีรอยราก มีกิ่งหลายกิ่ง กาบหุ้มลำใหญ่ยาว 25-50 เซนติเมตร กว้าง 25-50 เซนติเมตร มักร่วงเร็วเมื่อยังอ่อน กาบหุ้มลำมีสีม่วงอ่อน ด้านนอกมีขนสีน้ำตาลแก่คลุมขอบของกาบเรียบ กาบหุ้มลำมองไม่ค่อยเห็น กระจังกาบหุ้มลำเห็นชัดสูง 6-12 เซนติเมตร หยักขอบมัน มีขนเป็นเส้นๆ ใบส่วนยอดกาบรูปหอกงอพับ ใบเรียวแหลม โคนใบทู่เป็นมุมป้าน ยาว 45 เซนติเมตร กว้าง 3-6 เซนติเมตร หลังใบ สีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียวอ่อน ขอบใบสากคม ก้านใบสั้น กระจังใบสูง 3 มม. หยักไม่เป็นระเบียบ ออกดอกเป็นช่อมีกาบหุ้มเหมือนหญ้า เมื่อไผ่มีดอก ดอกแห้งแล้วต้นมักจะตาย (ไผ่ตายขุย) เมล็ดมีขนาดเล็กคล้ายเมล็ดข้าวสาร
พันธุ์และการขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า ใช้ลำปักชำ หรือใช้เมล็ดจากขุยไปเพาะเป็นกล้า
วิธีการปลูก
- ควรปลูกใช่ช่วงฤดูฝน เนื่องจากในพื้นที่มีความชื้นสูงและดินที่อุดมสมบูรณ์ทำให้ต้นไผ่เจริญเติบโตได้ดี
- การทำแนวปลูก 5 x 5 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะได้ไผ่ประมาณ 75 ต้น ขุดหลุม ขนาด 50 x 50 x 30 เซนติเมตร รองพื้นด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 5-7 กำมือ แล้วฝังกลบพอหลวมๆ จากนั้นก็ดูแลให้น้ำกันไปตามสภาพอากาศหรือทุก 2-3 วัน
- ปลูกช่วงเดือนสิงหาคม – เดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูฝน พอเข้าธันวาคม ก็จะเริ่มให้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ อัตรา 1-2 กำมือต่อกอ ผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 500 กรัมต่อต้น ช่วงหลังใบไผ่ร่วงก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ไผ่งอกงามดี และดูแลไปเรื่อยๆ จนกว่าไผ่จะเริ่มให้ผลผลิต ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 ปี จึงจะเริ่มตัดหน่อขายได้ โดยหน่อไผ่จะออกมากช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม สามารถตัดหน่อขายในช่วงนี้ได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 70-100 กิโลกรัม และจะมีหน่อทะยอย ออกเรื่อยๆ ในสภาพอากาศร้อนชื้น และออกหน่อน้อยในช่วงที่มีอากาศเย็น(ฤดูหนาว)หรือในช่วงเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม นั้นจะมีหน่อน้อย แต่เป็นช่วงที่หน่อไผ่มีราคาแพง เพราะเป็นช่วงนอกฤดูกาลออกหน่อตามปกติ สามารถบังคับให้ไผ่ออกหน่อในช่วงนี้ได้
- ควรใส่ใจการน้ำ เพราะถ้าให้น้ำหรือได้รับน้ำมากเกินไปก็มีโอกาสเกิดรากเน่าได้ แต่ถ้าให้น้ำน้อยเกินไป รสชาติหน่อไผ่ที่ได้ก็จะฝาดเฝื่อนไม่หวาน ไม่กรอบ ไม่อร่อยไป นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการเลี้ยงต้นแม่ และการตัดแต่งกิ่งที่ควรจะดูแลให้ดี เพราะถ้าเลี้ยงต้นแม่หรือเลือกไว้หน่อไม่เป็นจะทำให้ไผ่กอนั้นตายได้
การดูแลรักษา
- การให้ปุ๋ยไผ่เป๊าะ จะให้สูตรเสมอ เช่น 15-15-15 ยืนพื้น 500 กรัม ผสมกับปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก 20 กิโลกรัม ในช่วงก่อนที่ไผ่จะให้หน่อ(เดือนธันวาคม) และต้องมีการให้ปุ๋ยยูเรียบ้าง เพราะไผ่คือพืชตระกูลหญ้า ซึ่งต้องการไนโตรเจนในการเติบโตสูงพอกับข้าวและหญ้าชนิดอื่น
- ต้นไผ่ต้องการน้ำมากแต่ก็ต้องไม่มากเกินไป เริ่มแรกนั้นให้รดน้ำจนกว่าจะมีน้ำระบายออกมาจากตรงฐานเล็กน้อย ให้ดินด้านบนลึกลงไป 2-3 นิ้ว (5-7.5 ชั่วโมง) แห้งก่อนจึงค่อยรดน้ำอีกครั้ง ถ้าผ่านไปแล้ว 1 หรือ 2 วันดินยังชื้นอยู่ ให้ลดปริมาณน้ำ
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
การใช้ประโยชน์
- หน่อสดมีรสหวาน นำมาต้มสุกรับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริก ทำเมนูอาหารได้หลากหลาย
- ใบสด ขับปัสสาวะ ขับและฟอกโลหิตระดูที่เสีย แก้มดลูกอักเสบ
- ตาไผ่ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
- ราก ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
แหล่งพืชอนุรักษ์
ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย