Search for:

ชื่อสามัญ   ไผ่ซางหม่น

ชื่อวิทยาศาสตร์  Dendrocalamus sericeus Munro

ชื่ออื่นๆ 

ไผ่ซางหม่น ไผ่นวลราชินี

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

ไผ่ซางหม่น เป็นไม้วงศ์หญ้า (Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ ไผ่ซางหม่น เป็นไผ่สายพันธุ์พื้นเมืองที่พบมากเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ แถบจังหวัด เชียงใหม่ แพร่ ลำปาง และลำพูน แต่ด้วยลักษณะพิเศษที่ลำมีขนาดใหญ่ ลำตรง แข็งแรง เนื้อไม้หนา สวยงาม กิ่งแขนงน้อย สูงประมาณ 25-30 เมตร สามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดทั้งลำ ทำให้ไผซางหม่นกลายเป็นที่ต้องการของตลาด  ขายได้ราคาดี นิยมนำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ ไม้ไผ่คุณภาพดี จนเป็นที่ขนานนามว่า “เพชรแห่งล้านนา”

ลักษณะทั่วไป

ไผ่ซางหม่น มีลำใหญ่ตรงสูงประมาณ 25-30 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำเฉลี่ย 6-10 ซม. ปล้องยาว 30-40 ซม. ความหนาของเนื้อไม้ 1.5 – 3 เซนติเมตร ลำมีสีเขียวหม่น ลำอ่อนมีแป้งสีขาวที่ปล้อง ลำแก่สีเขียวเข้มเนื้อหนาใบคล้ายไผ่ตง

พันธุ์และการขยายพันธุ์

วิธีการขยายพันธุ์ไผ่ซางหม่นที่นิยมใช้ คือการตอนกิ่งแขนง

วิธีการปลูก

ไผ่ซางหม่นสามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพพื้นดิน จะโตได้ดีในพื้นที่ที่มีน้ำมาก ปริมาณน้ำมีผลต่อระยะปลูก ปลูกในระยะ 4 x 4 เมตร หากพื้นที่ปลูกนั้นมีปริมาณน้ำฝนหรือมีการให้น้ำมาก ระยะปลูกจะต้องห่างออกไป 6 x 6 เมตร เนื่องจากไผ่จะโตเร็ว หลังจากปลูกไผ่ 2 เดือนแรกจะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งมีการเจริญเติบโตของต้นใหม่ ในธรรมชาติตั้งแต่ปลูกจนถึงตัดลำไผ่ได้จะใช้เวลา 4-5 ปี แต่ถ้าหากต้นไผ่ได้รับน้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอใช้เวลา 3 ปีก็จะเริ่มตัดลำไผ่ได้

การดูแลรักษา

  1. การใส่ปุ๋ยคอก ขี้วัวหรือขี้ไก่ ปีละ 1 กระสอบ( 20 กิโลกรัม) ต่อกอ
  2. ให้น้ำสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ในพื้นที่ชุ่มน้ำอาจลดเหลือ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง พิจารณาตามสภาพพื้นที่

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

การใช้ประโยชน์

  1. ลำต้นมีความแข็งแรง สามารถนำไปแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ใช้เป็นโครงสร้างนั่งร้านในงานก่อสร้าง
  2. หน่อไม้ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย

<<กลับไปหน้า”ไผ่”

<<กลับไปหน้าฐานข้อมูลพืชผัก