Search for:

ชื่อสามัญ : มะพร้าว : พันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง Coconut

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cocos nucifera L.

ชื่ออื่นๆ  

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

มีถิ่นกำเนิดในประเทศไอวอรีโคสต์ (โควติวอร์) ในแอฟริกาตะวันตก ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรนำเข้ามาเมื่อปี 2517 เพื่อการปรับปรุงพันธุ์

ลักษณะทั่วไป

ผลดกเมื่ออายุ 5-6 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 60-70 ผล/ต้น/ปี น้ำมันต่อเนื้อมะพร้าวแห้ง 70 เปอร์เซ็นต์  น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้ง 170 กรัม/ผล

พันธุ์และการขยายพันธุ์

มะพร้าว : พันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด (ผลพันธุ์มะพร้าว)

วิธีการปลูก

เตรียมหลุมขนาด 1x1x1 เมตรตากหลุมทิ้งไว้ 7 วัน รองก้นหลุมด้วยกาบมะพร้าว 2 ชั้น เอาดินบนใส่ลงไปครึ่งหลุมและใช้ดินล่างผสมกับปุ๋ยคอก 25 กก. และหินฟอสเฟตครึ่งกิโลกรัมต่อหลุมใส่ลงให้เต็มทิ้งไว้จนถึงฤดูปลูก (ควรเริ่มปลูกต้นฤดูฝนหลังจากที่ฝนตกหนักแล้วประมาณ 2 ครั้ง)

การดูแลรักษา

  1. การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยเคมีควรใส่ตั้งแต่มะพร้าวมีอายุ 6 เดือนหรือแตกใบย่อย และ ควรใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 10 – 25 กก./ต้น/ปี ปุ๋ยเคมี 13 – 13 – 21 อัตรา 4 กก./ต้น/ปีแบ่งใส่ปีละ 2 หรือ 3 ครั้ง ร่วมกับปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต อัตรา 500 กรัม/ต้น หรือหินปูนโดโลไมท์
  2. การให้น้ำ ควรมีการให้น้ำมะพร้าวอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการพัฒนาของตาดอก อย่างต่อเนื่องและมะพร้าวผลผลิตไม่ขาดคอ
  3. การจัดการสวน การกำจัดวัชพืช ส่วนใหญ่ใช้วิธีตัดหญ้า หรือการปลูกพืชคลุมดินในสวนมะพร้าวเพื่อควบคุมวัชพืชและช่วยรักษาความชื้นในดิน และยังช่วยเพิ่มธาตุอาหารและช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

  1. ด้วงแรดมะพร้าว (Coconut Rhinoceros Beetle) ชื่อวิทยาศาสตร์ Oryctes rhinoceros (Linnaeus) การป้องกันกำจัด หมั่นรักษาสวนให้สะอาด ทำลายตัวอ่อนตามกองปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก หมั่นกลับกองปุ๋ยทุกเดือนหรือใช้เชื้อราเขียว (Metarhizium anisopliae) ใส่ไว้ตามกองขยะ กองปุ๋ยคอก กองปุ๋ยหมัก และใส่ลูกเหม็น 6-8 ลูก และทรายบริเวณคอยอดมะพร้าวเพื่อไล่และป้องกันด้วงแรดมะพร้าวเจาะทำลายยอด
  2. แมลงดำหนามมะพร้าว (Coconut Hispine Beetle) ชื่อวิทยาศาสตร์ Brontispa Longissima ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง วางไข่ ระยะหนอนทำลายมากที่สุดอาศัยกัดกินอยู่ในใบอ่อนที่ยังไม่คลี่ แทะกินผิวใบ การป้องกันกำจัด ใช้แตนเบียนอะซีโคเดส ฮิสไพนารัม (Asecodes hispinarum) หรือแตนเบียนเตตระสติคัส บรอนทิสปี้ Tetrastichus brontispae

การใช้ประโยชน์

สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ใช้เป็นพ่อพันธุ์ในการผลิตมะพร้าวลูกผสม

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร พื้นที่ปลูกภายในศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร จำนวน 25 ไร่

<<กลับไปหน้า”มะพร้าว”

<<กลับไปหน้าฐานข้อมูลพืชอุตสาหกรรม