ชื่อสามัญ ไผ่ซางนวล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrocalamus Membranaceus Munro
ชื่ออื่นๆ ไผ่ซางนวล (ภาคเหนือ), ไผ่ซางดอย, ไผ่ซาง, ไผ่ไล่ลอ (น่าน), ไผ่นวล (กาญจนบุรี)
ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา
ไผ่ซางนวล จัดเป็นไผ่ที่นิยมปลูกกันมาก และพบมากในป่าทางภาคเหนือของประเทศไทย สามารถเพาะปลูกได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศ
ลักษณะทั่วไป
ไผ่ซางนวล เป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำ ประมาณ 6-16 ซม. ลำมีสีเขียวนวล ลำอ่อนมีผงสีขาวคล้ายแป้งปกคลุมลำไม่มีหนาม ลำปล้องของไผ่ซางนวลจะตรงเรียวยาวมีสีเทาขาวเนียนสวยงามไม่มีขน หน่อสีนํ้าตาลปนส้มกาบหุ้มหน่ออ่อนมีขนสีนํ้าตาลปกคลุม ขนาดลำโตเต็มที่จะมีขนาด 4 – 6 นิ้ว ความสูงของลำต้น 20-25 เมตร เนื้อไม้หนา 1-3 เซนติเมตร หน่อมีขนาดกลาง 2-4 กิโลกรัม เป็นไม้ที่สามารถปลูกได้ในสภาพดินที่เป็นหิน เพราะเป็นไม้ภูเขา ทนแล้งได้ดี กอไผ่ซางนวลจะดูแลง่าย ไม่ยุ่งยากในการตัดแต่งกิ่ง
พันธุ์และการขยายพันธุ์
การเพาะเมล็ด การแยกเหง้า การชำลำ การขยายพันธุ์ที่นิยมและรวดเร็วโดยวิธีการตอนกิ่งแขนงข้าง
วิธีการปลูก
1.ทำการตอนกิ่งแขนงข้าง อย่างน้อย 4-5 เดือน จึงสามารถนำไปปลูกได้
2.ไผ่ซางนวลมีการแตกหน่อไม่ห่างกันมาก จึงมีระยะปลูกที่เหมาะสมดังนี้
– 2.1 3×4 เมตร ปลูกได้ 130 ต้น
– 2.2 4×4 เมตร ปลูกได้ 100 ต้น (เหมาะสมที่สุด)
– 2.3 4×5 เมตร ปลูกได้ 80 ต้น
การดูแลรักษา
การให้น้ำในช่วงปีแรกควรให้ทุกวัน พอปีที่ 2 สามารถยืนต้นได้ มีหน่อเล็กออกควรให้น้ำแล้วแต่สภาพอากาศ และบริเวณพื้นที่ปลูก สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
การใช้ประโยชน์
ไผ่ซางนวลสามารถนำไปใช้ประโชยน์ได้ตั้งแต่อายุ 1 ปี ดังนี้
- ไผ่อายุ 1-2 ปีแรกหลังจากปลูก จะมีหน่อขนาดปานกลาง และ สามารถตอนกิ่งแขนงนำไปขยายพันธุ์ต่อได้
- ไผ่อายุ 3 ปีขึ้นไป มีการเจริญเติบโตดี ทำให้มีหน่อขนาดใหญ่ สามารถนำหน่อไม้ไปจำหน่ายได้
- ไผ่อายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป มีการไว้หน่อเพื่อสามารถตัดลำขาย นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ เช่น ไม้แบบ ไม้คานในงานก่อสร้าง ทำตะเกียบ ไม้เสียบ ทำเฟอร์นิเจอร์ เศษซากจากการแปรรูปหรือข้อไม้สามารถนำไปเผาถ่านได้หรือทำชีวมวลให้โรงไฟฟ้า และทำกระดาษ เป็นต้น
แหล่งพืชอนุรักษ์
ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย