Search for:

ชื่อสามัญ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Musa ABB cv. ‘Kluai Namwa Maliong’

ชื่ออื่นๆ  กล้วยน้ำว้าไส้ขาว, กล้วยน้ำว้าสวน, กล้วยน้ำว้าขาว, กล้วยน้ำว้าอ่อง (ภาคเหนือ), กล้วยน้ำว้าเขมร (จันทบุรี)

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง อยู่ในแทบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี

ลักษณะทั่วไป

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเป็นกล้วยกลุ่มจีโนม ABB ลำต้นเทียม สูงประมาณ 38 เมตร สีเขียวปานกลาง มีปนสีน้ำาตาลเล็กน้อย เส้นรอบวง ยาวประมาณ 68 เซนติเมตร ก้านใบ ยาวประมาณ 35 เซนติเมตร สีเขียวปานกลาง เป็นร่องเปิด ขอบโค้งเข้า มีครีบ ใบอ่อนที่ยังม้วนอยู่สีเขียว เมื่อคลี่กางออกเต็มที่สีเขียวเป็นมัน แผ่นใบเป็นคลื่น กว้างประมาณ 69 เซนติเมตร ยาวประมาณ 208 เซนติเมตร ปลายใบมนเล็กน้อย โคนใบด้านหนึ่งมนอีกด้านหนึ่งสอบเรียว ก้านช่อดอกไม่มีขน สีเขียว กว้างประมาณ 3.8 เซนติเมตร ปลีรูปปานกลาง กาบปลีสีแดงแกมม่วง ซ้อนทับกันบางส่วน ปลายม้วนขึ้น ด้านในสีส้มแกมแดง มีร่องลึก ไหล่กาบปลีแคบ เครือรูปทรงกระบอก มี  9 หวี ผลโค้งเล็กน้อย พบซากก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ที่ปลายผล ก้านผลเรียบ เชื่อมกันบางส่วน ไม่มีขน ผลดิบสีเขียว เนื้อผลสีครีม ผลสุกผิวผลเป็นสีเหลืองเนื้อผลสีขาว แน่น รสหวาน ไม่มีเมล็ด

พันธุ์และการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ด้วยหน่อและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

วิธีการปลูก

1. ขุดหลุมขนาดประมาณ 50x50x50 ซม.

2.ผสมดินปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม ปุ๋ยร็อคฟอสเฟส 50 กรัม ให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม

3.ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุมโดยระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย

4.ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากหลุมทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา) ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก

5.กลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินบริเวณโคนต้นด้วยฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา

กล้อวยน้ำว้ามะลิอ่อง ชอบความชื้นสูง  กลางแจ้งในที่โล่ง  ดินทรายปนเหนียว

การใส่ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตราการใส่ปุ๋ย 1 กิโลกรัม ต้น/ปี แบ่งใส่ 4 ครั้ง ๆ ละ 250 กรัม คือ

  1. ใส่ปุ๋ยหลังปลูก 1 สัปดาห์ โดยใช้สูตร 15-15-15
  2. ใส่ปุ๋ยหลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน โดยใช้สูตร 15-15-15
  3. ใส่ปุ๋ยหลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน โดยใช้สูตร 15-15-15
  4. ใส่ปุ๋ยหลังจากครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน โดยใช้สูตร 13-13-21

การเก็บเกี่ยว
ระยะเก็บเกี่ยวกล้วยขึ้นกับระยะเวลาในการขนส่ง
– ตัดกล้วยเมื่อความแก่ประมาณ 75% หากขนส่งไปขายไกลๆ

ความอ่อนแก่ของกล้วย อาจดูจาก
– ลักษณะผล เช่น ขนาดผล เหลี่ยมกล้วยขนาด 3ใน 4ส่วน
– นับอายุจากวันตัดปลี อายุ 90-100 วัน

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

โรคตายพลาย หนอนม้วนใบ

การใช้ประโยชน์

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยกินวันละ 4-6 ลูก แบ่งกินกี่ครั้ง ก็ได้ กินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี เห็นผลได้ใน 1 สัปดาห์ กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคตินมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษา อาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผล หรือ 1 ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะ

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย