Search for:

ชื่อสามัญ จำปูลิ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์   Baccaurea minor Hook. f.

ชื่ออื่นๆ จำไหร จำหลี (ยะลา) มะไฟลิง (สตูล-สงขลา)

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

เป็นผลไม้ป่าในท้องถิ่นภาคใต้ของประเทศไทย

ลักษณะทั่วไป

ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง

ลำต้น สูง 10-15 เมตร เปลือกไม้ ไม่เรียบ สีน้ำตาลแกมเทา

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตัวเวียนสลับ แผ่นใบเรียบรูปรีหรือรูปไข่ ผิวใบเรียบ ทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียว       แหลม โคนใบมน ใบกว้าง 7-10 เซนติเมตร ยาว 15-18 เซนติเมตร เส้นใบแตกแบบขนนก  เส้นกลางใบ          เห็นชัดเจน ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร

ดอก เป็นช่อกระจะ ขนาดเล็ก ออกบริเวณกิ่งก้านขนาดใหญ่และบริเวณตอนบน สีขาวเหลือง

ผล ผลเดี่ยว เป็นช่อยาว รูปผลกลม ปลายผลมีติ่งแหลมสั้นๆ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-2.0 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง เปลือกแข็ง เมื่อบีบจะแตกออกกลางพู เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงส้ม

พันธุ์และการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

วิธีการปลูก

จำปูลิงเป็นพันธุ์ไม้ป่า เจริญเติบโตได้ดีบนพื้นที่ราบใกล้ ๆ เชิงเขา ลักษณะดินร่วนปนทราย

การดูแลรักษา

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

การใช้ประโยชน์

รับประทานผลสด ผลสุกเมื่อรับประทานมากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ผลสุกมีรสเปรี้ยว ช่วยลดความอยากอาหาร ความรู้สึกหิวอาหาร

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา พื้นที่ปลูกภายในศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา จำนวน 1 ไร่

<<กลับไปหน้าฐานข้อมูลไม้ผล