Search for:

ชื่อสามัญ กระเทียม

ชื่อวิทยาศาสตร์  Allium sativum Linn.

ชื่ออื่นๆ  

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

ลักษณะทั่วไป

 

พันธุ์และการขยายพันธุ์

 

วิธีการปลูก

  1. เตรียมแปลงกว้างประมาณ 1.20 เมตร ความยาวตามสภาพพื้นที่ความสูงของแปลงประมาณ 20 เซนติเมตร
  2. ใช้พันธุ์กระเทียมโดยฝังกลีบกระเทียมหลุมละ 1 กลีบ ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร
  3. ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 5-7 วัน/ครั้ง
  4. ระยะปลูก 15-20 เซนติเมตร X 15-20 เซนติเมตร

การดูแลรักษา

  1. ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รองพื้นระยะเตรียมดิน ประมาณ 2-3 ตัน/ไร่
  2. ปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 50-100 กก./ไร่

การให้น้ำ

โดยใส่น้ำขังแปลงและตักรดทุก 3-5 วัน/ครั้ง โดยสังเกตจากใบกระเทียมถ้าเริ่มเหี่ยวต้องรีบให้น้ำทันที การปฏิบัติอื่นๆ การคลุมฟางหลังปลูกกระเทียมแล้วให้ คลุมฟางหนาประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อควบคุมการงอกของวัชพืช และควบคุมความชื้นในดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต

การเก็บเกี่ยว อายุเก็บเกี่ยวสำหรับกระเทียมขึ้นอยู่กับพันธุ์

  1. พันธุ์เบา หรือพันธุ์ขาวเมือง ลักษณะใบแหลม กลีบเท่าหัวแม่มือ กลีบและหัวสีขาว กลิ่นฉุนอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 75 – 90 วัน
  2. พันธุ์กลาง ใบเล็กและยาว ลำต้นใหญ่ หัวขนาดกลาง หัวและกลีบสีม่วง อายุแก่เก็บเกี่ยวได้ประมาณ 90–120 วัน
  3. พันธุ์หนัก หรือพันธุ์จีน ลักษณะใบกว้าง ลำต้นเล็ก หัวใหญ่กลีบโต เปลือกหุ้มสีชมพูอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 150 วัน

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

1.โรคใบเน่าหรือแอนแทรกโนส จะทำให้ ใบเป็นแผลเน่ายุบตัวและระบาดจนถึงทำให้หัวเน่า โดยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เชนไดโพลาแทน, แมนเชทดี, ไดเท็นเอ็ม-45 หรือ ชินโคโฟน ฉีดยาพ่นทุก 5-7วัน/ครั้ง

  1. โรคใบจุดสีม่วง โรคนี้จะทำให้กระเทียมไม่ลงหัวใบแห้งมีแผลจำนวนมากตามใบและจะแห้งตายไปในที่สุด ป้องกันกำจัดโดยใช้ยากำจัดเชื้อรา เช่น ไดเท็นเอ็ม-45, ชินโคโพล เดอโรชาล, นาวิสติน หรือไดโพลาแทนฉีดพ่น ทุก 5-7 วัน/ครั้ง
  2. โรคหัวและรากเน่า กระเทียมเริ่มมีใบแก่ เหลืองเหี่ยวแห้งไปกาบหัวช้ำเริ่มมีเส้นใยสีขาวขึ้นฟูอยู่บนแผล และตามรากเน่าเป็นสีน้ำตาลจะทำให้หัวนิ่มเน่าและเนื้อเยื่อยุ่ยมีกลิ่นเหม็น
  3. โรคเน่าคอดิน ที่โคนต้นบริเวณเหนือพื้นดินขึ้นไปจะมีรอยช้ำเป็นจุดเล็กๆก่อนแล้วจึงขยายตัวขึ้นตาม ลำดับจนรอบต้น สังเกตดูจะเห็นรอยช้ำสีน้ำตาล ต้นกล้าจะหักพับและสวนยอดก็จะแห้งตาย

การใช้ประโยชน์

ประกอบอาหาร ดอง

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

<< กลับไปหน้าฐานข้อมูลพืชผัก