Search for:

ชื่อสามัญ ปัญจขันธ์

ชื่อวิทยาศาสตร์  Gynostemma pentaphyllum

ชื่ออื่นๆ  เจียวกู่หลาน  Miracle grass,  อะมาซาซูรู(ชื่อญี่ปุ่น)

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

มีถิ่นก้าเนิดทางภาคตะวันออกของประเทศจีน และมีการปลูกกระจายไปยังประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบตามธรรมชาติที่ดอยอินทนนท์ และมีการนำมาปลูกทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ลักษณะทั่วไป

เจียวกู่หลานเป็นพืชสมุนไพรที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน มีชื่อไทยว่า ปัญจขันธ์ เบญจขันธ์ ทิกวนอิม หรือซาสตูล เป็นพืชล้มลุกชนิดเถาเลื้อยขนานกับพื้นดิน รากงอกออกจากข้อเป็นประเภทแตงน้ำเต้า มีใบ 3-5 ใบ ด้านบน และด้านใต้ใบมีขนอ่อนสีขาวปกคลุม

ราก  รากฝอย มีสีขาวอยู่ใต้ดินและเหนือดินบริเวณข้อของลำต้น  ความยาวรากใต้ดิน 25-50                                  เซนติเมตร

ลำต้น  ลำต้นของปัญจขันธ์มีขนาดเล็ก ขนาดลำต้นกว้าง 0.18-0.26 เซนติเมตร ประกอบด้วยข้อหลายข้อ ความยาวข้อ 5.44-8.68 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นทอดยาวเป็นเถา ความยาวเถาขึ้นกับพันธุ์    เถายาวเต็มที่ตั้งแต่ 3.12-7.56 เมตร ลำต้นมีขนสีขาวปกคลุม

กิ่ง  แตกออกมาจากข้อของลำต้นเหนือดิน และมีการแตกยอด ใบและข้อของกิ่งย่อย มีจำนวน      45-83 กิ่ง

ใบ  เป็นใบประกอบ ประกอบด้วย 3-7 ใบย่อย แต่ส่วนใหญ่มี 5 ใบย่อย ใบที่มีขนาดใหญ่สุดอยู่ปลายสุด ใบคู่ที่ 2 และ 3 อยู่ถัดลงมามีขนาดเล็กใบแรก รูปร่างของใบเป็นรูปรีถึงรูปไข่ ขนาดของใบแรกที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดความกว้าง 2.57-4.52 เซนติเมตร ความยาว 5.56-9.98 เซนติเมตร มีสีเขียวเข้ม มีขนปกคลุมทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ ลักษณะของขนบนใบสีขาว บางพันธุ์มีขนสั้นหนา บางพันธุ์มีขนยาวบาง    ขอบใบมีรอยหยักเหมือนฟันเลื่อยจำนวน 17-25 หยัก

ดอก  ดอกออกเป็นช่อ สีขาวขนาดเล็ก ช่อดอกมี 2 ประเภท คือ ช่อดอกตัวผู้ และตัวเมียแยกกันอยู่คนละต้น ส่วนใหญ่พบช่อดอกตัวผู้มากกว่าตัวเมีย ดอกตัวผู้มีเกสรตัวผู้แยกเป็น 5 แฉก ละอองเกสรมีสีเหลือง ส่วนดอกตัวเมียมีกะเปาะรังไข่สีเขียวอยู่ตรงกลางดอก 1 อัน กลีบดอกเล็ก มี 5 กลีบ ออกดอกยาก ต้นต้องเจริญเติบโตเต็มที่และกระทบอากาศหนาวเย็นจึงจะออกดอก ดอกตัวผู้เกิดก่อนและบานก่อนตัวเมีย การผสมเกสรเกิดขึ้นหลังดอกบาน 1-3 วัน เมื่อติดผลถึงผลแก่ ประมาณ 80-85 วันหลังดอกบาน

ผลและเมล็ด ผลแบบ berry ออกเป็นพวงคล้ายองุ่นมีขนาดเล็ก กลม มีขนปกคลุม ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีดำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางผล 5-6 มิลลิเมตร ภายในประกอบด้วยเมล็ด ซึ่งมีเปลือกหุ้ม จำนวน 1-3 เมล็ด เมล็ดรูปหัวใจ สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลดำ มีขนาดเล็กความกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร

พันธุ์และการขยายพันธุ์

พันธุ์

  1. พันธุ์เชียงราย1 เป็นพันธุ์ลูกผสม ที่ระหว่างพันธุ์สิบสองปันนา (พันธุ์แม่) กับ พันธุ์พื้นเมืองสันกำแพง (พันธุ์พ่อ)

ลักษณะเด่น

1.1สารซาโปนินทั้งต้นเฉลี่ย 11.47 กรัม/น้้าหนักแห้ง 100 กรัมสูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนา ร้อยละ 52

1.2 ผลผลิตน้้าหนักแห้ง 210.5 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 31

1.3 อายุเก็บเกี่ยว 105 วัน สั้นกว่าพันธุ์สิบสองปันนาที่มีอายุเก็บเกี่ยว 116 วัน

  1. พันธุ์เชียงราย2 เป็นพันธุ์ลูกผสม ระหว่างปัญจขันธ์พันธุ์พื้นเมืองสันกำแพง (พันธุ์แม่) กับ พันธุ์สิบสองปันนา (พันธุ์พ่อ)

ลักษณะเด่น

2.1ปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบ 291.1 มิลลิกรัม/ตารางเมตร สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 29

2.2 ผลผลิตน้้าหนักสด 2,635 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 34 น้้าหนักแห้ง 240.3 กก./ไร่

สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 28

2.3 ประกอบด้วยใบย่อย 7 ใบ มากกว่าพันธุ์สิบสองปันนาที่มีใบย่อย 5 ใบ

การขยายพันธุ์

  1. การปักชำ ต้นแม่พันธุ์ที่นำมาขยายพันธุ์ต้องมีอายุที่เหมาะสมไม่อ่อนหรือแก่เกินไป ต้นแม่พันธุ์ที่มีอายุอ่อนเกินไปการแตกกิ่งไม่ค่อยดี ต้นแคระแกร็นไม่ค่อยเจริญเติบโต  แต่ถ้าต้นแม่พันธุ์มีอายุมากเกินไปเมื่อนำมาขยายพันธุ์และปลูกในแปลง ปัญจขันธ์จะเจริญเติบโตทางลำต้นไม่เต็มที่และจะออกดอกเร็วกว่ากำหนด  ทำให้ผลผลิตต่ำ และคุณภาพในการแปรรูปด้อยลง  อายุของต้นแม่พันธุ์ที่จะนำมาขยายพันธุ์ควรมีอายุ ประมาณ 2-3 เดือน โดยมีวิธีการเตรียมต้นกล้าดังนี้

1.1 เตรียมดินผสมสำหรับเพาะชำ ประกอบด้วยส่วนผสมของดิน  ขี้เถ้าแกลบ และปุ๋ยคอก  อัตรา 1:1:1  ผสมให้เข้ากัน  กรอกลงในถุงดำสำหรับเพาะกล้าขนาด 2×6 นิ้ว

1.2 นำกิ่งปัญจขันธ์ตัดเป็นท่อน ความยาวประมาณ 10 ซม.  ที่มีตาพร้อมแตก 1-2 ตา (ภาพที่ 3.1) นำมามัดรวมกันห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์แช่ลงในถังที่มีน้ำบรรจุอยู่ประมาณ 2-3 ชั่วโมง

1.3 ใช้ไม้เจาะรูวัสดุเพาะซึ่งอยู่ในถุงดำลึกประมาณ 1-2 นิ้ว  นำกิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้ปักชำลงในถุงดำและกดดินให้ชิดกิ่งปักชำ

1.4 นำไปไว้ในโรงอบที่ควบคุมความชื้น นานประมาณ 2 สัปดาห์  ดูแลรักษา  รดน้ำประมาณ 1-2 เดือน ก็จะแตกยอดจากนั้นนำไปปลูกในแปลง

2.การเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด นำเมล็ดพันธุ์ที่มีอายุที่เหมาะสม ซึ่งมีอายุ 81-85 วันหลังดอกบาน หรือผลมีลักษณะผิวสีดำและเปลือกเริ่มยุบตัว  ซึ่งจะมีเปอร์เซ็นต์ความงอก ความมีชีวิต และความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ที่สูง (วิมลและคณะ, 2557)ทำให้ได้ต้นที่ที่แข็งแรงสมบูรณ์

โดยมีวิธีการเตรียมดังนี้

2.1 นำเมล็ดพันธุ์แช่เมล็ดในน้ำที่อุณหภูมิห้อง นาน 48 ชั่วโมง (วิมลและคณะ, 2557)

2.2 นำไปเพาะในถาดหลุมขนาด 104 หลุม ที่มีวัสดุเพาะเมล็ดได้แก่ พีทมอส รดน้ำให้ชุ่ม ใช้ไม้ทิ่มลงไปในหลุมลึกประมาณ 0.5 -1 เซนติเมตรแล้วนำเมล็ดหยอดลงไป 1 หลุมต่อ 1 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่ม นำถาดหลุมไปวางในโรงเพาะ

2.3 เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกออกมาและมีใบจริง 1-3 ใบ ย้ายต้นกล้าลงถุงเพาะที่มีวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของดิน  ขี้เถ้าแกลบ และปุ๋ยคอก  อัตรา 1:1:1  ผสมให้เข้ากัน  กรอกลงในถุงดำสำหรับเพาะกล้าขนาด 2×6 นิ้ว

2.4 นำไปไว้ในโรงเพาะ  ดูแลรักษา  รดน้ำประมาณ 1-2 เดือน ก็จะต้นกล้าที่มีสมบูรณ์จากนั้นนำไปปลูกในแปลง

วิธีการปลูก

1.การเตรียมดิน  โดยไถกลบวัชพืชลงดินเพื่อกำจัดวัชพืชและเพื่อให้ดินมีอินทรียวัตถุ  ตากดิน 30 วัน  หลังจากนั้นอบฆ่าเชื้อในดินโดยใส่ปุ๋ย 46-0-0 และปูนขาว อัตรา 80 : 800 กก./ไร่ ไถคลุกเคล้าให้ทั่วและทิ้งไว้อย่างน้อย 15 วัน แล้วไถด้วยจอบหมุนเพื่อให้ดินเหมาะสำหรับปลูกพืช  สามารถปลูกปัญจขันธ์ได้ตลอดปีในพื้นที่ที่มีระบบน้ำ

2.สร้างโรงเรือน  สภาพแสงที่ปัญจขันธ์เจริญเติบโตได้ดีคือร่มรำไร ดังนั้นจึงควรปลูกภายใต้โรงเรือนพรางแสง โครงสร้างของโรงเรือนขึ้นกับต้นทุนการผลิต เช่น  เสาใช้เสาปูนซีเมนต์หรือเสาไม้ไผ่ ด้านบนโรงเรือนใช้ไม้ไผ่ หรือใช้ไม้ไผ่ร่วมกับลวดสลิง  ด้านบนโรงเรือนคลุมด้วยตาข่ายพรางแสง 50-70 % ด้านข้างโปร่งใช้ตาข่ายพรางแสง 50 %  (ศศิธรและคณะ, 2552) สำหรับด้านข้างนั้น มัดไว้กับโครงสร้างของโรงเรือน และกลบดินทับชายตาข่ายพรางแสงเพื่อป้องกันสัตว์เข้าในโรงเรือน

  1. ทำแปลง ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร หรือยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ในโรงเรือน และใส่ปุ๋ยคอก 2-5 ตัน/ไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลง  ควรใช้มูลวัวเนื่องจากปัญจขันธ์ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยมูลวัวมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่นๆ (ศศิธรและคณะ, 2551)  หากต้องการรักษาความชื้นดินและควบคุมวัชพืชควรคลุมด้วยฟางข้าว

4.การปลูก นำต้นกล้าที่ปักชำมาปลูกแบบแถวคู่ในแปลงที่เตรียมไว้  ระยะปลูกระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 50 เซนติเมตร เว้นหัวท้ายแปลงด้านละ 50 เซนติเมตร การปลูกต้องทำอย่างระมัดระวัง อย่าให้ต้นกล้าหักพับ  เพราะต้นกล้าเปราะบางมาก ขนาดของลำต้น 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น

  1. การให้น้ำ ให้น้ำวันเว้นวันในช่วงแรกปลูก จากนั้นให้ตามสภาพความชื้นดิน
  2. สำรวจแปลงทุกวันเพื่อป้องกันและกำจัดโรค-แมลง หากพบด้วงเต่าไม่ควรพ่นสารเคมี  ให้กำจัดโดยวิธีกล  และกำจัดวัชพืชในโรงเรือน
  3. การกำจัดวัชพืช โดยการใช้จอบถาก หรือใช้มือถอน ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เพราะปัญจขันธ์ไวต่อสารเคมีทุกชนิด
  4. การนำเถาขึ้นค้าง เนื่องจากต้นปัญจขันธ์บางส่วนยาวและทอดเลื้อยลงไปตามผิวดิน  บริเวณข้อของลำต้นที่ทอดนอนไปตามผิวดินจะออกรากได้  จึงควรนำเถากลุ่มนี้พาดขึ้นบนค้าง

การดูแลรักษา

การให้น้ำ

หลังจากปลูกปัญจขันธ์บนแปลงปลูกภายใต้โรงเรือน และทำค้าง ในช่วงแรก 1-15 วัน ให้น้ำวันเว้นวัน จากนั้นให้ตามสภาพความชื้นดิน ถ้าฝนไม่ตกประมาณ 2-3 วัน/ครั้ง การให้น้ำ มี 2 รูปแบบดังนี้

1.การให้น้ำแบบน้ำหยด โดยการต่อท่อเข้าตรงกลางแปลงหลังจากปลูกและขึ้นค้าง และให้น้ำหยดบริเวณโคนต้นของปัญจขันธ์โดยตรง

2.การให้น้ำแบบใช้สายยางรด โดยการต่อจากก็อกน้ำในแปลง เป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและทำได้ง่าย

การกำจัดวัชพืชโดยการใช้จอบถากหรือใช้มือถอนทิ้งไม่ควรพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดวัชพืชเพราะ     ปัญจขันธ์เป็นพืชที่เปราะบางและไวต่อสารเคมีต่างๆ เช่นสารป้องกันกำจัดโรค แมลง และสารป้องกันกำจัดวัชพืช

การใส่ปุ๋ย

  1. ปุ๋ยอินทรีย์ ใส่ปุ๋ยคอกหรือมูลวัวครั้งเดียวก่อนปลูกอัตราปุ๋ยคอก 2-5 ตัน/ไร่ ปัญจขันธ์สามารถเจริญเติบโตได้ตลอดระยะฤดูปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี ประกอบกับมีการป้องกันกำจัดวัชพืช ศัตรูพืช และดูแลแปลงไม่ให้มีน้ำขังหรือโรงเรือนมีความชื้นสูงเกินไป สภาพดินปลูกมีคุณสมบัติเบื้องต้นและธาตุอาหารในดินดังนี้ ความเป็นกรดเป็นด่าง 4.47 อินทรียวัตถุ 2.31% ปริมาณธาตุอาหารฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ปัญจขันธ์สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ แต่ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำมากอยู่ในระดับ 1-2% ก็ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้นเพื่อปรับปรุงดินก่อนปลูก
  2. ปุ๋ยเคมี ปริมาณธาตุอาหารหลักที่พบในต้นปัญจขันธ์มีไนโตรเจน (N) 4.89% ฟอสฟอรัส (P) 0.477% และโพแทสเซียม (K) 3.65% ความต้องการธาตุอาหารในการสร้างผลผลิต 2 ตัน/ไร่ N เท่ากับ 22 กก. P2O5 4.6 กก. และ K2O 19.2 กก. หรือสัดส่วนของ N:P2O5:K2O 5:1:4 การใส่ปุ๋ยปัญจขันธ์ควรใส่ตามความต้องการธาตุอาหารซึ่งต้องการธาตุไนโตรเจนมากกว่าโพแทสเซียม สำหรับคำแนะนำการใส่ปุ๋ยมีดังนี้ ใส่ 46-0-0 6 กก. ร่วมกับ 18-46-0 1 กก. และ 0-0-60 3.5 กก./ไร่ เมื่ออายุ 1-2 เดือนหลังปลูก และใส่ครั้งที่ 2 หลังเก็บเกี่ยวรุ่นที่ 1 ในอัตราเดิม ปล่อยให้ปัญจขันธ์แตกยอดใหม่หลังจากนั้น 2 เดือน จึงจะใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 โดยใส่ปุ๋ยทั้ง 3 ชนิด อัตราเท่าเดิม ในการปลูก 1 ครั้ง สามารถเก็บผลผลิตได้ 2 ครั้ง เมื่ออายุครบ 4 เดือน และ 8 เดือน (อายุต้นตอ) จากนั้นจึงรื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่ผลผลิตในรุ่นที่ 2 จะน้อยกว่ารุ่นแรกเล็กน้อย วิธีการใส่ปุ๋ยโดยการหว่านลงดินให้ทั่วแปลงอย่าให้ตกค้างบนใบแล้วให้น้ำตามเพื่อให้ปุ๋ยละลาย เนื่องจากใบปัญจขันธ์บางมากหากไม่ระมัดระวังเม็ดปุ๋ยอาจทำให้ใบเสียหายได้ หรือถ้าหากใส่ปุ๋ยมากเกินไปทำให้ใบเหลืองและเน่าเสีย

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

  1. โรคใบจุด และใบไหม้ (Leaf spot and Leaf blight) สาเหตุ : รา Lasiodiplodia sp.  และ Rhizoctonia sp. 

ลักษณะอาการ : โรคใบจุด เกิดจากรา Lasiodiplodia sp. ลักษณะอาการ เกิดจุดแผลค่อนข้างกลมสีขาวครีม ขึ้นบนใบปัญจขันธ์ ล้อมรอบแผลด้วยรอยช้ำฉ่ำน้ำเป็นวงสีเขียวอ่อน หรือสีเทาอ่อน เกิดกระจายทั่วแผ่นใบ เมื่อมีอาการรุนแรงขึ้นจะทำให้เนื้อเยื่อใบที่เป็นแผลบาง และทะลุเป็นรู

2.โรคใบไหม้   เกิดจากรา Rhizoctonia sp.  ปรากฏแผลสีเขียวเข้ม ลักษณะรูปร่างไม่แน่นอนขึ้นบนใบ อาการคล้ายน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและลุกลามเป็นรอยไหม้สีน้ำตาลดำ  ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงเชื้อราสาเหตุของโรค จะสร้างเส้นใยค่อนข้างหยาบสีขาวขึ้นที่บริเวณรอยแผลบนใบ   เมื่อเส้นใยแก่มากจะพัฒนาเป็นเม็ดสเคลอโรเทียม ซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อที่สามารถรอดชีวิตอยู่ข้ามฤดูในดินได้นาน

            การป้องกันกำจัด

1.สำรวจแปลงปลูกปัญจขันธ์อย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคใบจุด ใบไหม้ หรือ ใบเน่าให้ตัดแต่งใบที่เป็น

โรคออกไปทำลายนอกแปลงปลูก ลดแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อสาเหตุโรค

2.ลดความชื้นภายในโรงเรือนปลูก ด้วยการเปิดระบายอากาศออกด้านข้างของโรงเรือน และควรงดการให้น้ำแบบพ่นฝอยเหนือทรงพุ่มหากมีโรคนี้ระบาด

3.ป้องกันกำจัดเชื้อโรคในดินแปลงปลูก โดยใช้ราไตรโคเดอร์มา ชนิดเชื้อสด ใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก

ในอัตรา 20 กรัมต่อต้น และใช้ราไตรโคเดอร์มา อัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร (100 กรัมต่อน้ำ  20 ลิตร) พ่นทุก 5-7 วัน เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรค (จิระเดช, 2548)

  1. โรคเน่าเปียก (Wet rot) สาเหตุ : รา Choanephora sp.

ลักษณะอาการ : อาการเริ่มแรกของโรคเน่าเปียก หรือราขนแมว เชื้อราเจริญบนผิวเนื้อเยื่อที่บริเวณขอบใบของยอดอ่อนหรือใบอ่อน มีลักษณะแผลช้ำฉ่ำน้ำสีเขียวเข้ม ต่อมาแผลจะขยายขนาดทำให้ใบเกิดอาการคล้ายโรคใบไหม้ และใบเน่าเปียกเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ในบริเวณรอยแผลเห็นก้านชูสปอร์ของเชื้อราลักษณะเป็นก้านใสคล้ายขนแมว ชูขึ้นมาจากส่วนของใบที่เป็นโรค ส่วนปลายเป็นตุ่มสีดำซึ่งเป็นกลุ่มของสปอร์หรือส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา ซึ่งสามารถปลิวแพร่ระบาดไปกับน้ำค้าง ลม ฝน และแมลง ทำให้เกิดการระบาดรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกชุกและสภาพอากาศมีความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด 

2.1 การเตรียมพื้นที่ปลูก ไถดินตากแดดไว้ 2-3 สัปดาห์ ทำความสะอาดแปลงปลูกโดยกำจัดเศษซากพืชหรือวัชพืชออกจากแปลง ไม่ควรใช้ระยะปลูกที่ชิดมาก เพื่อให้มีการระบายอากาศภายในแปลงปลูกได้ดี

2.2 ควรสำรวจยอดและใบอ่อนของปัญจขันธ์ ในช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง หรือมีฝนตกติดต่อกันหลายวัน เมื่อพบอาการของโรคเน่าเปียก ให้ตัดแต่งส่วนใบที่เป็นโรคออกไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดแหล่งระบาดของเชื้อโรค และลดความชื้นภายในแปลงปลูก โดยการเปิดตาข่ายพรางแสงด้านข้างโรงเรือนปลูก

2.3 พ่นด้วยน้ำปูนใส โดยกรรณิการ์และคณะ (2552) พบว่าน้ำปูนใสสามารถควบคุมโรคเน่าเปียกของพริกได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี วิธีการเตรียมน้ำปูนใส ใช้ปูนขาว 1 กิโลกรัมผสมน้ำ 60 ลิตร คนให้เข้ากันแล้วปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืนเพื่อให้ปูนขาวตกตะกอน ส่วนบนเป็นน้ำปูนใสเข้มข้น จากนั้นใช้น้ำปูนใสเข้มข้น 1 ส่วน ผสมน้ำธรรมดา 3 ส่วน พ่นควบคุมโรคในแปลงปลูกทุก 3-5 วัน เพื่อควบคุมโรคและเสริมความแข็งแรงให้พืช

            3.โรคเหี่ยว หรือโรครากเน่าโคนเน่า (Wilt /Root rot , Crown rot) สาเหตุ : รา Fusarium sp.

            ลักษณะอาการ : ใบบริเวณด้านล่างของลำต้นมีอาการเหี่ยวคล้ายขาดน้ำ จากนั้นสีใบจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเขียวอ่อนซีดและเหลือง อาการลุกลามจากใบด้านล่างขึ้นสู่ใบส่วนบนของลำต้น และต่อมาใบเหี่ยวเหลืองทั้งต้น อาการรุนแรงมากขึ้นจนกระทั่งทำให้ยืนต้นตาย

            การป้องกันกำจัด

3.1 ไถดินตากแดดนาน 2-4 สัปดาห์ ช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในดินก่อนปลูก ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่าผสมคลุกเคล้าในดินแปลงปลูก ปรับโครงสร้างดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปัญจขันธ์

3.2 ใส่ราไตรโคเดอร์มา รองก้นหลุมก่อนปลูก ในอัตราการใช้เชื้อสด 20 กรัมต่อหลุม และในระยะการเจริญเติบโตควรหว่านราไตรโคเดอร์มา ซึ่งผสมกับปุ๋ยหมัก อัตรา 50 กรัมต่อต้น (เชื้อสด 1 กิโลกรัม : ปุ๋ยหมัก 50 กิโลกรัม) เพื่อช่วยกำจัดเชื้อโรคในดิน และป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรค

3.3 เมื่อพบต้นเกิดโรคให้รีบกำจัดออกจากแปลงปลูก ควรระบายน้ำออกจากแปลงปลูกให้เร็วที่สุด เนื่องจากสภาพที่มีน้ำท่วมขังและความชื้นสูง จะทำให้ต้นพืชอ่อนแอช่วยส่งเสริมให้โรคแพร่ระบาดได้เร็วขึ้น

4.ด้วงเต่าแตงแดง (Red Cucurbit Leaf Beetle)  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aulacophora indica (Gmelin)

ลักษณะการทำลาย : ด้วงเต่าแตงแดงเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของเจียวกู้หลาน การเข้าทำลายโดยตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ในดินใกล้โคนต้นเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ ตัวหนอนสีขาวฟักจากไข่อาศัยอยู่ในดิน และกัดกินรากพืชเป็นอาหาร ตัวเต็มวัยและตัวอ่อนแทะกัดกินใบปัญจขันธ์โดยกัดใบให้เป็นวงก่อน จากนั้นจึงกินส่วนที่อยู่ในวงจนหมดเกิดเป็นรูตามใบ หากระบาดรุนแรงอาจทำให้ต้นเจียวกู้หลานชะงักการเจริญเติบโต พบการระบาดตลอดฤดูปลูก

การป้องกันกำจัด

4.1 ควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกในเวลาเช้าที่อากาศยังไม่ร้อน  โดยใช้วิธีกลให้จับตัวด้วงเต่าแตงแดงนำไปทำลายนอกแปลงปลูก หรือติดกับดักกาวเหนียวสีเหลืองเพื่อดักจับตัวเต็มวัย และช่วยลดการระบาด

4.2 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บเศษซากพืช และหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลง ทำลายแหล่งอาศัย และไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของด้วงเต่าแตงแดง

4.3 ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ฉีดพ่นเพื่อกำจัดตัวอ่อน เต็มวัยด้วงเต่าแตงแดงทั้งพื้นดินและบนต้น

โดยนำเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ชนิดเชื้อสด ในอัตรา 200 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน ฉีดพ่นให้ถูกตัวหรือบริเวณที่ด้วงเต่าแตงแดงอาศัยอยู่  ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น เพราะสภาพอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราเมตาไรเซียม   (อนิตรา, 2563)

  1. หนอนชอนใบ (Leaf miner) ชื่อวิทยาศาสตร์: Liriomyza spp. วงศ์: Agromyzidae

ลักษณะการเข้าทำลาย : ใบปัญจขันธ์ที่ถูกทำลายเกิดจากหนอนแมลงวันชอนใบ ซึ่งเป็นแมลงวันขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ที่มีขนาดเล็กไว้ใต้ส่วนของเนื้อเยื่อพืช (ระยะไข่ 2-4 วัน)  เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนที่มีลักษณะหัวแหลมท้ายป้าน (รูปกระสวย) ไม่เป็นปล้องชัดเจน ไม่มีขา เคลื่อนไหวโดยดีดตัว และชอนไชใบตามเนื้อเยื่อในใบทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา  เมื่อนำใบมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กๆ สีเหลืองอ่อนโปร่งแสงใสอยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช ระยะหนอนใช้เวลา 7-10 วัน จากนั้นเข้าดักแด้รูปคล้ายเมล็ดข้าวสาร ตามใบที่ถูกทำลายและใบที่ร่วงหล่นลงดิน ดักแด้ใช้เวลา 5-7 วันจะพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยมีสีดำหรือเหลือง มีอายุ 9-10 วัน รวมวงจรชีวิตประมาณ 23-31 วัน หากระบาดรุนแรงทำให้ใบเสียหายร่วงหล่น ซึ่งมีผลต่อผลผลิตเพราะใช้ประโยชน์จากใบ พืชอาหารของหนอนแมลงวันชอนใบ ได้แก่  พืชตระกูลกะหล่ำ ตระกูลถั่ว พืชตระกูลแตง กระเจี๊ยบเขียว หอม และพริก (พิสุทธิ์, 2550)

การป้องกันกำจัด 

5.1 ใช้วิธีกล โดยเก็บใบและเศษใบปัญจขันธ์ที่ถูกทำลายเนื่องจากหนอนชอนใบตามต้น หรือบนพื้นดิน

ออกไปทำลายนอกแปลงปลูก จะช่วยลดการแพร่ระบาดได้ดี เนื่องจากดักแด้ที่อยู่ตามเศษใบพืชจะถูก

ทำลายไปด้วย และติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลืองเพื่อดักจับตัวเต็มวัยหนอนมลงวันชอนใบไปทำลาย

5.2 ใช้เชื้อราเมตาไรเซียม ในอัตราเชื้อสด 200 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วันเพื่อกำจัดตัวหนอนทั้งพื้นดินและบนต้น ซึ่งควรพ่นในช่วงเวลาเย็นที่มีอากาศไม่ร้อน

การใช้ประโยชน์

1.เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ การรับประทานเจียวกู่หลานครั้งละ 2 เม็ดวันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 60 วัน พบว่า คนที่เข้ารับการรักษาทุกคนแข็งแรงดีขึ้น ความจำฟื้นคืนปกติ อาการนอนไม่หลับและปวดหลังปวดเอวหายไป

2.ใช้เป็นยารักษามะเร็ง ต้านทานการเจริญเติบโตของเชื้อมะเร็ง ด้วยการรับประทานสารสกัดจากเจียวกู่หลานครั้งละ 40 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้ง จากคนที่เข้ารับการรักษาจำนวน 30 คน โดยทำการรักษาเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่า มี 27 ราย ได้ผลดีขึ้น ประสิทธิภาพในการรักษาประมาณ 87%[1] บางข้อมูลระบุว่าเจียวกู่หลานมีสรรพคุณช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด มะเร็งในช่องท้อง มะเร็งลำไส้ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม และอื่นๆ อีกรวมกว่า 20 ชนิด

3.ช่วยลดระดับคอลเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด ด้วยการใช้ใบเจียวกู่หลานแห้ง นำมาชงกับน้ำรับประทานแทนน้ำชา ครั้งละ 2-3 กรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 40 วันอย่างต่อเนื่อง พบว่า ผู้ที่เข้ารับการรักษาจำนวน 29 คน มี 19 คน ที่เห็นผลดี และมี 1 คน ที่ได้ผล โดยมีประสิทธิภาพในการรักษาอยู่ที่ 68.97%

4.ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มีอาการปวดบิดทางหัวใจ ด้วยการใช้ใบเจียวกู่หลานแห้ง นำมาชงกับน้ำรับประทานแทนน้ำชา ครั้งละ 2-3 กรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 40 วัน พบว่า คนไข้ที่เข้ารับการรักษาจำนวน 23 คน มี 7 คน ที่ได้ผล และมี 5 คน ที่ให้ผลเด่นชัด ส่วนอีก 11 รายยังไม่เห็นผลชัดเจน โดยมีประสิทธิภาพการรักษาอยู่ที่ 68.17%[1] แต่ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำจะปรับความดันให้เป็นปกติ

แหล่งพืชอนุรักษ์

  • ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย
  • ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่

<< กลับไปหน้าฐานข้อมูลพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ