Search for:

ชื่อสามัญ ชาจีน

ชื่อวิทยาศาสตร์  C. sinensis var. sinensis

ชื่ออื่นๆ  –

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

เริ่มขึ้นในประเทศจีน ไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาล การดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่าจักรพรรดิเสินหนิงของจีน (Shen Nung)  หลักฐานสำคัญที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับเรื่องชาที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้คือ “วรรณกรรมชาคลาสสิกฉาชิง (Cha Ching) เป็นตำราที่เกี่ยวกับชาเล่มแรกของโลก บรรยายถึงแหล่งกำเนิดของชา การปลูกชา การผลิตชา คุณภาพของชา วิธีการดื่มชา อุปกรณ์การชงชาและธรรมเนียมการชงชา นานนับศตวรรษที่หนังสือเล่มนี้กลายเป็นพื้นฐานการศึกษาของจีน

            ประวัติการปลูกชาในประเทศไทย ในสมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาอย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มน้ำชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมจะอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือของประเทศ โดยจะกระจายอยู่ในหลายจังหวัดแถบภาคเหนือ ที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปางและตาก จากการสำรวจของคณะทำงานโครงการหลวงวิจัยชาได้พบแหล่งชาป่าที่บ้านไม้ฮุง กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน บริเวณเขตติดต่อชายแดนประเทศพม่า ต้นชาป่าที่พบเป็นชาอัสสัม (Assam tea) อายุหลายร้อยปี เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 0.5 เมตร ชาวบ้านละแวกนั้นเรียกต้นชาพันปี  โดยสวนชาส่วนใหญ่ทางภาคเหนือ จะเป็นสวนเก่าที่ได้จากการถางต้นไม้ชนิดอื่นออก เหลือไว้แต่ต้นชาป่าที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า ต้นเมี่ยง จำนวนต้น/ไร่ต่ำ ประมาณ 50-200 ต้น/ไร่ ผลผลิตใบชาสดต่ำเพียง 100-140 กิโลกรัม/ไร่ การพัฒนาอุตสาหกรรมชาของประเทศไทย เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2480 โดย นายประสิทธิ์ และนายประธาน พุ่มชูศรี สองพี่น้องได้ตั้งบริษัท ใบชาตราภูเขา จำกัด และสร้างโรงงานชาขนาดเล็กขึ้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรับซื้อใบชาสดจากชาวบ้านที่ทำเมี่ยงอยู่แล้ว แต่ปรากฏว่าพบปัญหาอุปสรรคหลายประการ เช่น ใบชาสดมีคุณภาพต่ำ ปริมาณไม่เพียงพอ ชาวบ้านขาดความรู้ความชำนาญในการเก็บเกี่ยวยอดชาและการตัดแต่งกิ่งชา ส่วนที่อำเภอฝางนั้น นายพร เกี่ยวการค้า ได้นำผู้เชี่ยวชาญทางด้านชาชาวฮกเกี้ยนมาจากประเทศจีน เพื่อมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 สองพี่น้องตระกูลพุ่มชูศรี ได้แก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเริ่มปลูกสวนชาเป็นของตนเอง ใช้เมล็ดพันธุ์ชาพื้นเมืองมาเพาะ สวนชาตั้งอยู่ที่แก่งพันท้าว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่และต่อมาได้ขยายพื้นที่ปลูกมาที่บ้านเหมืองกืด และบ้านช้าง ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งเสริมการผลิตมากขึ้น โดยขอสัมปทานทำสวนชา จากกรมป่าไม้จำนวน 2,000 ไร่ ที่บ้านบางห้วยตาก ตำบลอินทขิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในนามของ บริษัทชาระมิงค์ และทำสวนชาที่ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง ในนามของ บริษัทชาบุญประธาน ชาที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะเป็นชาฝรั่ง ต่อมาเอกชนเริ่มให้ความสนใจอุตสาหกรรมการผลิตชามากขึ้นโดยในปี พ.ศ. 2530 บริษัทชาระมิงค์ได้ขยายสัมปทานสวนชา ให้แก่บริษัทชาสยาม จากนั้นชาสยามได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกไร่ในบริเวณใกล้เคียงปลูกสวนชาแบบใหม่ และรับซื้อใบชาสด จากเกษตรกรนำมาผลิตชาฝรั่งนามชาลิปตัน จนกระทั่งปัจจุบันนี้ สำหรับภาครัฐ การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2483 โดยปลัดกระทรวงเกษตร (ม.ล.เพช สนิทวงศ์) อธิบดีกรมเกษตร (คุณพระช่วงเกษตรศิลปาการ) และหัวหน้ากองพืชสวน (ม.จ.ลักษณากร เกษมสันต์) ได้เดินทางไปสำรวจหาแหล่งที่จะทำการปลูกและปรับปรุงชาที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในที่สุดได้เลือกบริเวณโป่งน้ำร้อน เป็นที่ทดลองปลูกชา โดยตั้งเป็น สถานีทดลองพืชสวนฝางมีนายพ่วง สุวรรณธาดา เป็นหัวหน้าสถานี ระยะแรกเมล็ดพันธุ์ชาที่นำมาปลูก ได้ทำการเก็บมาจากท้องที่ตำบลม่อนบินและดอยขุนสวยที่มีต้นชาป่าขึ้นอยู่ ต่อมามีการนำชาพันธุ์ดีมาจากประเทศอินเดีย ไต้หวัน และญี่ปุ่นมาทดลองปลูก เพื่อทำการค้นคว้าและวิจัยต่อไป ในส่วนของกรมเกษตรที่สูงหลายแห่ง เช่น สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จังหวัดเชียงราย และสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่

ลักษณะทั่วไป

ลักษณะลำต้นเป็นพุ่มเตี้ย สูงประมาณ 2-6 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม ขนาดเล็ก ยาวแคบ ตั้งตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ผิวใบเรียบ ใบค่อนข้างตั้งกว่าชาอัสสัม การเรียงตัวของใบเป็นแบบสลับและเกลียว ต้นเจริญเติบโตช้ากว่าชาอัสสัม ทนทานต่ออุณหภูมิต่ำและสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนได้ดี

พันธุ์และการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด

วิธีการปลูก

การเลือกพื้นที่สร้างสวนชา

พื้นที่ที่เหมาะสำหรับปลูกชา ควรเป็นพื้นที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี มีอินทรียวัตถุสูง pH 4-6 และต้องมีแหล่งน้ำสำหรับชาในช่วงฤดูแล้ง

  1. เมื่อเลือกพื้นที่ได้แล้ว ต้องทำการกำจัดต้นไม้ขนาดเล็ก และวัชพืชออก อาจเหลือต้นไม้ขนาดใหญ่ไว้เป็นร่มเงาของชาได้ ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันควรทำขั้นบันได (กว้างไม่น้อยกว่า 2 ม.)
  2. ขุดหลุมปลูก กว้างxยาวxลึก ประมาณ 40x40x40 ซม. โดยขุดเป็นร่อง (ควรเตรียมหลุมปลูกก่อนย้ายปลูกประมาณ 6 เดือน)
  3. ช่วงกลางฤดูฝน ทำการย้ายต้นกล้า (อายุกล้า 12-18 เดือน) ลงปลูกในร่องโดยใช้ระยะระหว่างต้น 40-50 ซม. ระยะระหว่างแถวประมาณ 150-180 ซม. ก่อนปลูกควรรองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต 50-80 กก./ไร่

4. หลังย้ายปลูก ควรคลุมโคนต้นหรือแปลงปลูก เพื่อควบคุมความชื้น มีการบังร่มให้กับต้นกล้า (กรณีฝนทิ้งช่วง และ แดดจัด) เมื่อต้นกล้าตั้งตัวดีแล้ว จึงตัดยอดที่ความสูง 10-15 ซม. จากพื้นดิน

การดูแลรักษา

  1. การควบคุมทรงพุ่ม ในปีที่ 2 ตัดที่ระดับ 25-30 ซม. ปีที่ 3 ตัดที่ระดับ 30-35 ซม. ปีที่ 4 ตัดที่ระดับ 40-45 ซม. (การตัดแต่งประจำปีควรทำในช่วงปลายพฤศจิกายน-ต้นมกราคม) หลังจากต้นชาอายุ 4 ปี ให้ตัดทรงพุ่มสูงเพิ่มขึ้น 3-5 ซม. จากระดับตัดแต่งในปีที่ผ่านมา
  2. การใส่ปุ๋ย แนะนำให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 80 กก. ฟอสฟอรัส อัตรา 24 กก. และ โพแทสเซียม อัตรา 26 กก. ต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฝน และ ปลายฝน โดยในปีที่ 1 ใส่อัตรา 20 กก./ไร่ ปีที่ 2 ใส่อัตรา 40 กก./ไร่ ปีที่ 3 ใส่ 60 กก./ไร่ หลังจากปีที่ 4 เป็นต้นไป ใส่อัตรา 80 กก./ไร่ และควรใส่ปุ๋ยคอกอย่างน้อยปีละ 2 ตัน

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

แมลงศัตรูชา

1.มวนยุงชา (Tea mosquito Bug) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helopeltis spp.

ลักษณะอาการ : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน และใบอ่อน ทำให้เป็นแผลช้ำจุดสีน้ำตาลไหม้ และเปลี่ยนเป็นสีดำทั่วทั้งใบ หงิกงอ ม้วนเป็นคลื่น ขอบใบห่อ ยอดไม่สำมำรถเจริญเติบโต

การป้องกันกำจัด

– สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบการเข้าทำลายให้รีบกำจัดโดยด่วน

– ใช้เชื้อราขาว Beauveria bassiana ฉีดพ่น

– หากพบการระบาดมาก ให้พ่นสารฆ่าแมลง เช่น carbaryl (1A) หรือ methiocarb (1A) หรือ lambda-cyhalothrin (3A)

2.มวนเมี่ยง มวนหลังเต่าชา (Camellia shield bug/Tea seed bug)

การใช้ประโยชน์

ดื่มแก้กระหาย

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่