ชื่อสามัญ ชา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia sinensis (L.) O. Kuntze.
ชื่ออื่นๆ –
ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา
ชา เป็นไม้ไม่ผลัดใบในวงศ์ (Family) Theaceae สกุล (Genus) Camellia พืชในสกุลนี้มีมากกว่า 200 ชนิด แต่ชนิดที่จัดว่ามีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุดคือ ชา (Tea) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis (L.) O. Kuntze. มีจำนวนโครโมโซม (2n)=30
ชาชนิดที่ใช้แปรรูปเป็นเครื่องดื่มสามารถแบ่งตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์ประกอบด้วย 3 กลุ่มพันธุ์ ดังนี้
- กลุ่มพันธุ์ชาจีน (C. sinensis var. sinensis)
- กลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม (C. sinensis var. assamica)
- กลุ่มพันธุ์ชาเขมร (C. sinensis var. Indo-china)
แต่การแบ่งกลุ่มตามประโยชน์ในทางการค้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
- กลุ่มชาจีน (China tea) เป็นกลุ่มที่เหมาะสำหรับใช้แปรรูปเป็นชาใบ เช่น ชาเขียว ชาจีน
- กลุ่มชาอัสสัม (Assam tea) เป็นกลุ่มที่เหมาะสำหรับใช้ยอดชาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาฝรั่งชนิดต่าง ๆ
- กลุ่มชาลูกผสม (Hybrid tea) จัดเป็นกลุ่มที่มีปริมาณมากที่สุด เนื่องจากชาเป็นพืชผสมข้าม จึงทำให้ชาที่ปรากฏโดยทั่วไปเป็นชาลูกผสมระหว่างกลุ่มพันธุ์ชาทั้งสามกลุ่มดังกล่าวข้างต้น สำหรับการใช้ประโยชน์จากชากลุ่มนี้ สามารถใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาได้ทั้งชาใบและชาฝรั่ง
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะลำต้นเป็นพุ่มเตี้ย สูงประมาณ 2-6 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม ขนาดเล็ก ยาวแคบ ตั้งตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ผิวใบเรียบ ใบค่อนข้างตั้งกว่าชาอัสสัม การเรียงตัวของใบเป็นแบบสลับและเกลียว ต้นเจริญเติบโตช้ากว่าชาอัสสัม ทนทานต่ออุณหภูมิต่ำและสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนได้ดี
พันธุ์และการขยายพันธุ์
ใช้กิ่งปักชำ สามารถนำเมล็ดไปเพาะได้
วิธีการปลูก
1.เลือกพื้นที่ เมื่อเลือกพื้นที่ได้แล้ว ต้องทำการกำจัดต้นไม้ขนาดเล็ก และวัชพืชออก อาจเหลือต้นไม้ขนาดใหญ่ไว้เป็นร่มเงาของชาได้ ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันควรทำขั้นบันได (กว้างไม่น้อยกว่า 2 ม.)
- ขุดหลุมปลูก กว้างxยาวxลึก ประมาณ 40x40x40 ซม. โดยขุดเป็นร่อง (ควรเตรียมหลุมปลูกก่อนย้ายปลูกประมาณ 6 เดือน)
- ย้ายกล้า ช่วงกลางฤดูฝน ทำการย้ายต้นกล้า (อายุกล้า 12-18 เดือน) ลงปลูกในร่องโดยใช้ระยะระหว่างต้น 40-50 ซม. ระยะระหว่างแถวประมาณ 150-180 ซม. ก่อนปลูกควรรองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต 50-80 กก./ไร่
การดูแลรักษา
1.หลังย้ายปลูก ควรคลุมโคนต้นหรือแปลงปลูก เพื่อควบคุมความชื้น มีการบังร่มให้กับต้นกล้า (กรณีฝนทิ้งช่วง และ แดดจัด) เมื่อต้นกล้าตั้งตัวดีแล้ว จึงตัดยอดที่ความสูง 10-15 ซม. จากพื้นดิน
2.การควบคุมทรงพุ่ม ในปีที่ 2 ตัดที่ระดับ 25-30 ซม. ปีที่ 3 ตัดที่ระดับ 30-35 ซม. ปีที่ 4 ตัดที่ระดับ 40-45 ซม. (การตัดแต่งประจำปีควรทำในช่วงปลายพฤศจิกายน-ต้นมกราคม) หลังจากต้นชาอายุ 4 ปี ให้ตัดทรงพุ่มสูงเพิ่มขึ้น 3-5 ซม. จากระดับตัดแต่งในปีที่ผ่านมา
3.การใส่ปุ๋ย แนะนำให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 80 กก. ฟอสฟอรัส อัตรา 24 กก. และ โพแทสเซียม อัตรา 26 กก. ต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฝน และ ปลายฝน โดยในปีที่ 1 ใส่อัตรา 20 กก./ไร่ ปีที่ 2 ใส่อัตรา 40 กก./ไร่ ปีที่ 3 ใส่ 60 กก./ไร่ หลังจากปีที่ 4 เป็นต้นไป ใส่อัตรา 80 กก./ไร่ และควรใส่ปุ๋ยคอกอย่างน้อยปีละ 2 ตัน
4.การเก็บผลผลิต
4.1 สำหรับชาจีน ควรเก็บเมื่อใบยอดคลี่ออกเต็มที่อย่างน้อย 5 ใบ โดยเลือกเก็บยอดที่มี 3 ใบ (1 ยอดตูม 2 ใบบาน) เริ่มเก็บเมื่อมีใบยอดอย่างน้อย 70 % ของพื้นที่
4.2 สำหรับชาฝรั่ง ควรเลือกเก็บแบบเดียวกับชาจีน แต่ถ้าเก็บใบมากกว่าที่กำหนดจะได้ชาฝรั่งคุณภาพต่ำ
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
การใช้ประโยชน์
- ส่วนประกอบสำคัญในใบชาสารโพลีฟีนอลสารโพลีฟีนอลที่พบในใบชามี 8 ชนิด ได้แก่ catechin (C), gallocatechin (GC), catechin gallate (CG), gallocatechin gallate (GCG), epicatechin (EC), epicatechin 3-gallate (ECG), epigallocatechin (EGC) และ epigallocatechin3-gallate (EGCG) ในจำนวนทั้งหมดนี้ สาร EGCG จะมีความสำคัญต่อคุณสมบัติในการป้องกันและรักษาโรคมากที่สุด โดยช่วยต่อต้านขบวนการเกิดมะเร็ง (anticarcinogenic) ต่อต้านขบวนการอักเสบ(antiinflammatory) ลดระดับน้ำตาล และคลอเลสเตอรอลในเลือด ให้ความร้อนแก่ร่างกาย (thermogenic) กระตุ้นการเจริญของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ (probiotic) และ ต่อต้านการเจริญของจุลชีพที่เป็นโทษ (antimicrobial)คาเฟอีนการดื่มชาจะทำให้เกิดความกระปรี้กระเปร่า เนื่องจากสารเคมีที่เรียกว่าคาเฟอีนที่มีอยู่ในใบมีอิทธิพลต่อระบบประสาทส่วนกลาง(เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่มีในกาแฟ)คลอโรฟิลล์ในผลิตภัณฑ์ชาโดยเฉพาะชาเขียว จะมีขบวนการแปรรูปที่ไม่ทำให้คลอโรฟิลล์ และ แร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบสลายตัว ซึ่งคลอโรฟิลล์ที่มีอยู่นี้จะปลดปล่อยธาตุที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการเมตาโบลิซึมในร่างกายวิตามินซีในชาเขียว มีปริมาณวิตามินซี ซึ่งล้วนจำเป็นต่อร่างกายในการเสริมสร้างทางด้านสุขภาพ นอกจากนี้ชาเขียวยังมีคุณประโยชน์ คือ สามารถช่วยระงับกลิ่นปากได้ดีอีกด้วย
แหล่งพืชอนุรักษ์
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่