Search for:

ชื่อสามัญ กล้วยหิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa acuminata × balbisiana (ABB Group)

ชื่ออื่นๆ  กล้วยซาบา (saba)  กล้วยการ์ดาบา (cardaba)  กล้ายหวาน (sweet plantain)  กล้วยแน่น (compact banana)  saba, sab-a, or kardaba  (ภาษาฟิลิปิโน)    biu gedang saba (ภาษาชวา)  pisang nipah หรือ pisang abu (ภาษามลายู)  dippig (ภาษาอีโลกาโน)  pisang kepok (ภาษาอินโดนีเซีย)  opo-’ulu or dippig (ภาษาฮาวาย)  กล้วยมะละกอ (papaya banana)

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

  • เป็นกล้วยป่าชนิดหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้นตระกูลของกล้วยที่รับประทานได้ในปัจจุบัน ร่วมกับกล้วยตานี กล้วยหิน หรือ กล้วยซาบา (Saba banana) เป็นกล้วยลูกผสมกลุ่ม (ABB)
  • กล้วยหินอยู่ในกลุ่มย่อยกล้วยหิน (ABB) ซึ่งรวมพันธุ์ที่คล้ายกันมากคือการ์ดาบา ทั้งสองพันธุ์เคยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม BBB และใช้ปรุงอาหารฟิลิปปินส์ได้หลายอย่าง โดยกล้วยการ์ดาบาเป็นที่นิยมในหมู่เกาะวิซายาและมินดาเนา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย กลุ่มย่อยนี้รวมพันธุ์ ‘Benedetta’ หรือ ‘Inabaniko’ และ ‘Uht Kapakap’ ใน ไมโครนีเซีย, ‘Praying Hands’ ใน ฟลอริดา, และ ‘Ripping’ ในฟิลิปปินส์
  • สำหรับประเทศไทย พบครั้งแรกในพื้นที่ตำบลบาเจาะ และ บริเวณสองฝั่งแม่น้ำปัตตานี อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา จำนวนมาก

ลักษณะทั่วไป

ต้น กล้วยหินมีลำต้นสูงประมาณ 3-4 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 ซม. กาบด้านนอกเขียวมีนวล

ใบ ก้านใบค่อนข้างสั้น ร่องใบเปิด ใบกว้าง 40–50 ซม. ยาว 1.5 ม.

ดอก ปลีค่อนข้างป้อมสั้น ลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดง เมื่อกาบเปิดจะไม่ม้วนงอ

ผล ผลขนาดกลางถึงใหญ่ ป้อมสั้น เป็นเหลี่ยม เปลือกหนา  สีเหลือง เนื้อผลสีขาวครีม เนื้อละเอียด ผลมีแกนกลาง รสหวาน เป็นกล้วยที่ใช้ทำอาหารแม้ว่าจะรับประทานดิบได้ ในหนึ่งเครือมี 7-10 หวี หวีหนึ่งมี 10-15 ผล ผลเป็นรูปห้าเหลี่ยมเปลือกหนา ผลเรียงกันแน่นเป็นระเบียบ ช่องว่างระหว่างหวีน้อย ปลายจุกป้าน เมื่อสุกสีเหลืองเนื้อสีขาวอมเหลือง

พันธุ์และการขยายพันธุ์

  • การแยกหน่อ โดยการขุดแยกหน่อที่แทงจากต้นแม่ขึ้นมาขยายพันธุ์ต่อ
  • การผ่าหน่อโดยการขุดหน่อที่มีอายุประมาณ 2-3 เดือน นำมาผ่าออกเป็น 4-6 ชิ้นต่อหน่อแล้วนำมาเพาะในวัสดุเพาะชำ

วิธีการปลูก

วิธีการปลูก กรณี ในพื้นที่ปลอดโรคเหี่ยวในกล้วยหิน

  • ขุดหลุมขนาด 50 X 50 X 50 ซ.ม ผสมดินปลูก อัตราส่วน 2 :1 : 1 ดินร่วน : แกลบดิบ: ปุ๋ยคอก ผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันแล้วนำใส่หลุมที่ขุดเตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำต้นกล้วยปลูกในหลุม

การดูแลรักษา

  • การให้น้ำในระยะแรก ให้น้ำ วันเว้นวัน อายุหลังปลูก 1 เดือน ให้น้ำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ แต่ในระยะหลังจากกล้วยออกปลีแล้ว 1 เดือน ในช่วงพัฒนาผลให้น้ำวันเว้นวัน ( หากฝนไม่ตก)
  • การใส่ปุ๋ยอายุหลังปลูก 2 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 200 กรัมต่อต้น หรือ ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 100 กรัมต่อต้น โดยใส่ 2 เดือนครั้ง และหลังออกปลี 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 200 กรัมต่อต้น โดยใส่ 2 เดือนครั้ง
  • การตัดแต่งทาง เริ่มตั้งแต่อายุหลังปลูก 4-5 เดือน โดยเลือก ใบแก่ ใบที่เป็นโรค ออก ให้เหลือ 9-11 ใบต่อต้น
  • การตัดแต่งหน่อกล้วยให้ตัดแต่งออกจนกล้วยมีอายุหลังปลูก 7 เดือน จึงเริ่มไว้หน่อทดแทน 1-2 หน่อ โดยอายุหน่อทดแทน ควรห่างกัน 3 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความสมบูรณ์ และมีผลิตกล้วยตลอดทั้งปี
  • การตัดปลี ควรตัดปลีออกจากเครือเมื่อปลีบาน หรือ ระยะหวีตีนเต่า
  • การเก็บเกี่ยวผลผลิต อายุหลังปลูกหลังตัดปลีแล้ว 3-4 เดือน หรืออายุหลังปลูก 10 -11 เดือน

วิธีการปลูก กรณี พื้นที่เคยเกิดโรคระบาด

ปลูกกล้วยหินเชิงเดี่ยว

  • ทำการไถดินพรวนหน้าดินและ ใช้ยูเรียอัตรา 80 กิโลกรัมผสมกับ ปูนขาว 800 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านในทั่วแปลงและไถกลบอีกครั้ง ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ยูเรียและปูนขาวเมื่อได้รับความชื้นแตกตัวเป็นแก๊สพิษฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เมื่อได้ครบกำหนดไถพรวนหน้าดินให้แก๊สพิษที่อยู่ในดินสลายออกมา จากนั้นทำการปลูกกล้วยได้ตามปกติในกรณีที่ปลูกกล้วยหินแซมพืชอื่น
  • ทำการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในดินบริเวณหลุมโดยขุดปลูกโดยขุดพรวนย่อยดินให้ละเอียดแล้วใช้ยูเรียอัตรา 0.5 กิโลกรัมผสมกับ ปูนขาว 5 กิโลกรัมต่อหลุม โรยบริเวณหลุม กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ยูเรียและปูนขาวเมื่อได้ความชื้นแตกตัวเป็นแก๊สพิษฆ่าแบคทีเรีย เมื่อครบกำหนดใช้จอบขุดพรวนดินให้แก๊สพิษที่อยู่ในดินสลายออกมา จากนั้นทำการปลูกกล้วยได้ตามปกติ

การปลูกต้นกล้วย

  • ใช้หน่อปลอดเชื้อ จากเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและผ่านการตรวจเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวให้เกิดโรคเหี่ยว
  • ขุดหลุมขนาด 50 X 50 X 50 ซ.ม ผสมดินปลูก อัตราส่วน 2 :1 : 1 ดินร่วน : แกลบดิบ: ปุ๋ยคอก ผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันแล้วนำใส่หลุมที่ขุดเตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม และใช้ชีวภัณฑ์สายพันธุ์ BS-DOA 24 อัตรา 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร รด 1 หลุม ต่อ น้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำต้นกล้วยปลูกในหลุม
  • หลังปลูกต้นกล้วยลงในแปลงเรียบร้อยแล้ว ใช้ด้วยชีวภัณฑ์บาซิลัสซับทีลิส สายพันธุ์ BS-DOA 24 อัตรา 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร รดรอบ ๆ บริเวณโคนต้น 10 ลิตร ต่อต้น และรดซ้ำทุก ๆ 30 วัน
  • สำรวจในแปลงปลูกกล้วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อโรคและแมลงศัตรูพืชหากพบโรคและแมลงศัตรูพืช ให้รีบกำจัดออกจากแปลงทันที
  • ทำความสะอาดเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการเกษตร เช่น มีดตัดผลกล้วย จอบ เสียม รองเท้า เป็นต้น โดยใช้น้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ อัตรา 250 มิลลิลิตรผสมน้ำ 3 ลิตร หรือ ปูนคลอรีน 100 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ใส่ในขวดสเปรย์ ฉีดล้างอุปกรณ์ทางการเกษตร
  • ตัดหญ้า ระหว่างแถวปลูก 15วันต่อครั้ง กำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้น 7 วัน ต่อ ครั้ง ทำความสะอาดแปลงอยู่สม่ำเสมอ รดน้ำ 3 วันต่อ ครั้ง ใส่ปุ๋ยคอก 2 กิโลกรัม ต่อต้นทุกๆ 3 เดือน และให้น้ำ 3 วัน ต่อ ครั้ง หากฝนไม่ตก

การดูแลรักษา

  • การให้น้ำในระยะแรก ให้น้ำ วันเว้นวัน อายุหลังปลูก 1 เดือน ให้น้ำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ แต่ในระยะหลังจากกล้วยออกปลีแล้ว 1 เดือน ในช่วงพัฒนาผลให้น้ำวันเว้นวัน ( หากฝนไม่ตก)
  • การใส่ปุ๋ยอายุหลังปลูก 2 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 200 กรัมต่อต้น หรือ ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 100 กรัมต่อต้น โดยใส่ 2 เดือนครั้ง และหลังออกปลี 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 200 กรัมต่อต้น โดยใส่ 2 เดือนครั้ง
  • การตัดแต่งทาง เริ่มตั้งแต่อายุหลังปลูก 4-5 เดือน โดยเลือก ใบแก่ ใบที่เป็นโรค ออก ให้เหลือ 9-11 ใบต่อต้น
  • การตัดแต่งหน่อกล้วยให้ตัดแต่งออกจนกล้วยมีอายุหลังปลูก 7 เดือน จึงเริ่มไว้หน่อทดแทน 1-2 หน่อ โดยอายุหน่อทดแทน ควรห่างกัน 3 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความสมบูรณ์ และมีผลิตกล้วยตลอดทั้งปี
  • การตัดปลี ควรตัดปลีออกจากเครือเมื่อปลีบาน หรือ ระยะหวีตีนเต่า
  • การเก็บเกี่ยวผลผลิต อายุหลังปลูกหลังตัดปลีแล้ว 3-4 เดือน หรืออายุหลังปลูก 10 -11 เดือน

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

  • โรคตายพราย หรือ โรคเหี่ยวที่เกิดจากการเชื้อรา ลักษณะอาการของโรคจะเห็นเป็นสีเหลืองอ่อนตามก้านใบหรือใบแก่ก่อนตามมาปลายใบหรือขอบใบจะเริ่มเหลือง ป้องกันกำจัดโดยตัดทำลายต้นที่เป็นโรคด้วยการเผาหรือก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา
  • โรคเหี่ยว จากเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการของโรค แสดงออการเหี่ยวที่บริเวณใบธง (ใบอ่อน) ใบเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง ต่อมาใบอื่น ๆ แสดงอาการเหี่ยวเปลี่ยนเป็นเหลือง เมื่อตัดดูลักษณะภายในลำต้นเทียมจะเห็นท่อน้ำท่ออาหารเปลี่ยนสีสีเป็นสีน้ำตาล ปลีกกล้วยแคระแกร็นและหากติดผลเนื้อภายในจะเป็นสีดำ ถ้ารุนแรงมากยืนต้นตาย มาสามารถเก็บผลผลิตได้ แบคทีเรียเข้าทำลายและอาศัยอยู่ในท่อน้ำท่ออาหารของต้นกล้วยทำให้ต้นกล้วยแสดงอาการของโรคเหี่ยว การป้องกัน ใช้ชีวภัณฑ์สายพันธุ์ BS-DOA 24

การใช้ประโยชน์

1.ผล ไม่นิยมบริโภคผลสด แต่นิยมนำไปแปรรูปเป็น ขนมหวาน อาหาร และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น แป้งกล้วยหินเหมาะในการนำไปแปรรูป เป็นกล้วยหินสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยา อาทิเช่น
2.ราก นำมาต้มดื่มแก้ไข้

3.หยวกกล้วยเป็นอาหารเพื่อใช้ล้างทางเดินอาหาร

4.ผลดิบ ใช้เป็นยาสมานแผล

5.หัวปลี ช่วยแก้โรคกระเพราะอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด และรักษาโรคเบาหวาน

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา