Search for:

ชื่อสามัญ พลัม Plum

ชื่อวิทยาศาสตร์  Prunus domestica L

ชื่ออื่นๆ  ลูกไหน ลูกพรุน

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

พลัมที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพวกพลัมญี่ปุ่น ซึ่งปลูกกันมานานแต่ยังไม่แพร่หลาย ต่อมามูลนิธิโครงการหลวงได้นำเอาพลัมพันธุ์ Gulf Ruby จากรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา มาทดสอบที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางในปี พ.ศ.2522 และได้วิจัยและพัฒนาจนกระทั่งประสบความสำเร็จ ทำให้พลัมเป็นไม้ผลที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นอาชีพชนิดหนึ่ง แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ แม่ปูนหลวง แกน้อย และอ่างขาง

ลักษณะทั่วไป

ไม้ผลที่มีผลแบบผลเมล็ดเดียวแข็ง ตรงหน่อมีตายอดและตาข้างเดี่ยว (ไม่เป็นกลุ่ม) ดอกออกเป็นกลุ่ม 1-5 ดอกบนก้านสั้นๆ ผลมีร่องยาวด้านข้าง และเมล็ดเรียบ เมื่อผลโตเต็มที่มีมีนวลสีขาวปกคลุม เมื่อสุกเปลือกสีม่วงอมดำ เนื้อสีเหลือง รสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว

พันธุ์และการขยายพันธุ์

พันธุ์ :  พันธุ์ Gulf Ruby  พลัมพันธุ์ Gulf Gold พันธุ์เหลืองบ้านหลวง พันธุ์แดงบ้านหลวง  และพันธุ์จูหลี่

วิธีการปลูก

นิยมใช้ระยะ 4×4 เมตร

การดูแลรักษา

การตัดแต่งกิ่ง : ทรงต้นที่เหมาะสมควรจะเป็นแจกันหรือเป็นพุ่มแจ้

การปลิดผล ควรปลิดผลควรปลิดให้เหลือผลห่างกันประมาณ 7-10 เซนติเมตร ผลที่อยู่เป็นกลุ่มๆควรปลิดออกให้เหลือเพียงผลเดียว

การใส่ปุ๋ย : ในระยะการเจริญเติบโตหลังปลูกใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15, 16-16-16 หรือ 13-13-21 ใส่ในตอนต้นฤดูฝนอัตราประมาณ 0.4, 0.8, 1.2, 1.6 กิโลกรัมต่อต้นในปีที่ 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ อาจเสริมปุ๋ยเดี่ยวไนโตรเจน เช่น 46-0-0 ตอนกลางฤดูฝนอัตราประมาณ 0.2, 0.3, 0.4, 0.5 กิโลกรัม/ต้น ในปีที่ 1, 2, 3 และ 4 เช่นเดียวกัน

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

โรค : โรคราสนิม โรคราแป้ง โรคแอนแทรคโนส โรคใบรู

แมลง : เพลี้ยไฟ แมลงวันทอง

การใช้ประโยชน์

ช่วยในการชะลอวัย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ป้องกันและต่อต้านมะเร็ง ส่งเสริมสุขภาพหัวใจ ฯลฯ

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่

<<กลับไปหน้าฐานข้อมูลไม้ผล