ชื่อสามัญ พลับ Persimmon
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros kaki L.f. (ญี่ปุ่น), Diospyros virginiana L. (ยุโรป)
ชื่ออื่นๆ
ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา
มีแหล่งกำเนิดในจีน
ลักษณะทั่วไป
พลับเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ ใบรูปหัวใจสีเขียว ดอกสีเหลือง ทรงดอกคล้ายระฆัง ผลมีรูปทรงได้หลายแบบ ทั้งทรงกรวย ทรงกลม ทรงกลมแบน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เนื้อสีส้ม เนื้อแข็ง ภายในมีเมล็ด 8 เมล็ด สีน้ำตาล
พันธุ์และการขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยวิธีการเสีบยอด โดยนิยมใช้ต้นตอเป็นพันธุ์ พันธุ์เต้าซื่อ และ กล้วยฤาษี พันธุ์ 1. พลับฝาด ได้แก่ พันธุ์พี 2 หรือซือโจ เยะกุเมะ ฮาชิยา ไนติงเกล ทาเนนาชิ หรือชิราทาเนนาชิ 2. พลับหวาน ได้แก่ พันธุ์ฟูยุและจิโร่
วิธีการปลูก
ปลูกระยะ 6 x 6 หรือ 8 x 8 เมตร ในช่วงตอนต้นของฤดูฝน โดยปลูกพันธุ์ที่มีดอกตัวผู้มากสลับกันไปกับต้นที่มีดอกตัวเมียในอัตราส่วน 1:8
การดูแลรักษา
การตัดแต่งกิ่ง : โดยตัดแต่งประมาณเดือนมกราคมซึ่งอยู่ในช่วงที่พลับพักตัว จะตัดแต่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และต้องระวังการตัดแต่งบริเวณปลายกิ่งเนื่องจากเป็นบริเวณที่มีตารวมซึ่ง เป็นตาที่มีดอกอยู่ด้วย
การปลิดผล : แนะนำให้มีใบ 20-25 ใบต่อการไว้ผล 1 ผล
การห่อผล : ป้องกันแมลงที่จะมาทำลายผลพลับ
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
โรค : โรคโคนเน่า โรคใบจุดเหลี่ยม โรคใบจุดดำ โรคขั้วผลเน่าและโรคผลเน่า
แมลง : เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย และหนอนผีเสื้อกัดกินใบ
การใช้ประโยชน์
สามารถประทานเป็นผลไม้สด และยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นลูกพลับแห้ง พลับเชื่อม น้ำลูกพลับ แยมลูกพลับ เป็นผลไม้ที่มีแคลอรีและไขมันต่ำ ทั้งยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก
แหล่งพืชอนุรักษ์
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่