Search for:

ชื่อสามัญ  กาแฟอะราบิกา

ชื่อวิทยาศาสตร์  coffea arabica L.

ชื่ออื่นๆ  

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

กาแฟอาราบิกามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6-9 องศาเหนือ ในประเทศเอธิโอเปียเจริญงอกงามอยู่ทั่วไปใต้ร่มเงาไม้ใหญ่บนที่สูงของเมืองคาฟฟา พบบางส่วนในป่าแถบรอยต่อระหว่างประเทศเอธิโอเปียกับซูดาน แถบที่ราบสูงบูมา และรอยต่อระหว่างประเทศเอธิโอเปียกับคีเนีย พื้นที่เหล่านี้มีความสูงระหว่าง 1,370-1,830 เมตร สภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ย 5-24 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,900 มิลลิเมตร ดินเป็นดินร่วมสีแดงหน้าดินค่อนข้างลึก เชื่อว่ามีการนำกาแฟอาราบิกาจากเอธิโอเปียไปสู่เปอร์เซียก่อนแพร่เข้าสู่เยเมมในเวลาต่อมา

ลักษณะทั่วไป

ไม้พุ่ม สูง 2 – 4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 8 – 12 ซม. ยาว 15 – 20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ติดกันเป็นหลอด มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลสด รูปไข่แกมทรงกลม เมื่อสุกสีแดง กาแฟเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอัฟริกา ปัจจุบันปลูกมากในเขตร้อนชื้นและกึ่งเย็น เมล็ดของกาแฟถูกนำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มที่แพร่หลายทั่วโลก เพราะสามารถกระตุ้นระบบประสาท ช่วยให้ร่างกายสดชื่นได้ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะพบว่าการดื่มกาแฟมากอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ประเทศไทยผลิตกาแฟอราบิกา และกาแฟโรบัสต้าได้มากพอ จนบางปีก็มีการส่งออก แต่ก็ยังตัองมีการนำเข้ากาแฟคุณภาพดีเข้ามาผสม เพื่อผลิตผงกาแฟสำเร็จรูป สำหรับการบริโภคในประเทศเช่นกัน

พันธุ์และการขยายพันธุ์

1.1 พันธุ์เชียงใหม่ 80 (พันธุ์รับรองกรมวิชาการเกษตร) เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่าง CIFC 19/1 Caturra Vermelho x 832/1 Hibrio de Timor ต้านทานโรคราสนิม มีลักษณะยอดสีเขียว ใบมีขนาดปานกลาง ผลสุกสีแดง เมื่ออายุ 8 ปี ให้ ผลผลิตเฉลี่ยเมล็ดกาแฟดิบ (green bean bean) 537.5 กรัมต่อต้น ปริมาณสารกาแฟ เกรด A เฉลี่ย 82-85 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการชิม 76 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100

1.2 พันธุ์เชียงราย 1 (พันธุ์แนะนำกรมวิชาการเกษตร) เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่าง Mundo Novo CIFC 1535/33 กับพันธุ์ H.W. 26/14 (CIFC 19/1 Caturra Vermelho x 832/1 Hibrio de Timor) ต้านทานโรคราสนิม มีลักษณะยอดสีเขียว ใบมีขนาดปานกลาง ผลสุกสีแดง เมื่ออายุ 8 ปี ให้ ผลผลิตเฉลี่ยเมล็ดกาแฟดิบ 569.6 กรัมต่อต้น ปริมาณสารกาแฟ เกรด A เฉลี่ย 81.8 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการชิม 78-79.5 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100

1.3 พันธุ์เชียงราย 2 (พันธุ์แนะนำกรมวิชาการเกษตร) เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่าง Mundo Novo CIFC 1535/33 กับพันธุ์ H.W. 26/14 (CIFC 19/1 Caturra Vermelho x 832/1 Hibrio de Timor) ต้านทานโรคราสนิม มีลักษณะยอดสีเขียว ใบมีขนาดปานกลาง ผลสุกสีแดง เมื่ออายุ 8 ปี ให้ ผลผลิตเฉลี่ยเมล็ดกาแฟดิบ 623.7 กรัมต่อต้น ปริมาณสารกาแฟ เกรด A เฉลี่ย 81.8 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการชิม 76-79 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด

วิธีการปลูก

ระยะปลูก ระหว่างต้น-แถว 2×2 เมตร หรือ 400 ต้น/ไร่ ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟตหลุมละ 100-200 กรัม และปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ 5 กิโลกรัมต่อต้น ควรปลูกช่วงเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม (ช่วงต้นฤดูฝน)

การดูแลรักษา

1.การใส่ปุ๋ย

กาแฟเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยค่อนข้างสูง โดยเฉพาะช่วงเริ่มออกดอก ติดผล ธาตุอาหารที่พืช

ต้องการ มี 3 กลุ่มคือ

1) กลุ่มธาตุหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม

2) กลุ่มธาตุรอง แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์

3) กลุ่มจุลธาตุ เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิดิบนัม คลอไรด์

การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและความต้องการของพืช เพื่อลดการใช้ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น

2.การให้น้ำ

ให้น้ำในช่วงฤดูแล้งอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ในกรณีพื้นที่ปลูกไม่มีแหล่งน้ำให้ใช้เศษวัชพืชหรือฟางข้าวคลุมบริเวณโคนต้นตั้งแต่หมดฤดูฝนโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกกาแฟกลางแจ้ง

3.การควบคุมทรงพุ่มและการตัดแต่งกิ่ง

ต้นกาแฟปลูกใหม่ ปีแรกควรใช้ระบบกาแฟลำต้นเดี่ยว แล้วปล่อยให้มีระดับความสูงตามต้องการ         หลังจากนั้นจึงทำการตัดยอด

ต้นกาแฟอายุมาก มี 2 วิธีคือ

1) แบบบังคับทรงพุ่ม เหมาะสำหรับต้นกาแฟอะราบิกาที่มีอายุ 8 ปีขึ้นไป แต่ให้ผลผลิตอยู่ โดยตัดที่ความสูง 160 เซนติเมตร ตัดแต่งและเล็มกิ่งที่แห้งที่ไม่ให้ผลผลิตออก และตัดปลายกิ่งแขนงที่ 1 เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งแขนงที่ 2 ปลิดหน่อข้าง (กิ่งหลัก) บริเวณปลายยอดที่ตัดแต่งทุกๆ 2 เดือน และควบคุมให้ต้นสูง 160 เซนติเมตรเสมอ

2) แบบตัดฟื้นต้น เหมาะสำหรับต้นกาแฟอะราบิกาที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ไม่ให้ผลผลิต หรือมีผลผลิตลดลง เริ่มให้ผลผลิตหลังจากตัดแต่ง 2 ปี ขึ้นกับการดูแลรักษา โดยตัดลำต้นที่โคนต้นระดับสูงจากผิวดิน 30-50 เซนติเมตร เลือกกิ่งที่มีลักษณะสมบูรณ์แข็งแรงจำนวน 2–3 กิ่ง เว้นระยะห่างให้ทั่วพุ่ม ให้ลำต้นอยู่ตรงข้ามกัน

2.5 การจัดการร่มเงา  กาแฟอะราบิกาเป็นพันธุ์ที่ตอบสนองต่อแสงแดดและปุ๋ยสูง จึงไม่ควรปลูกกลางแจ้ง โดยเฉพาะพื้นที่ต่ำกว่า 1,000 เมตร ควรปลูกไม้บังร่มเงาก่อนการปลูก ช่วยให้กาแฟอะราบิกามีการเจริญเติบโตได้ดี แนะนำให้ปลูกใต้ร่มไม้ยืนต้น ได้แก่

1) ไม้บังร่มชั่วคราว ควรเป็นไม้โตเร็ว และเป็นพืชตระกูลถั่ว เช่น ทองหลางไร้หนาม แคฝรั่ง ขี้เหล็กอเมริกัน ควรใช้ในระยะปลูก 4×6 หรือ 6×6 เมตร และปลูกหลายชนิดสลับกัน

2) ไม้บังร่มถาวร ควรเป็นไม้พุ่มใหญ่ ทรงพุ่มกว้างและให้ร่มเงาในระดับสูง เช่น ซิลเวอร์โอ๊ค พฤกษ์ ถ่อน กางหลวง ถั่วหูช้าง สะตอ เหรียง เป็นต้น ระยะปลูก 8×10 เมตร และควรปลูกหลายชนิดสลับกันกับไม้บังร่มชั่วคราว

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

 1.โรคราสนิม (Coffee lea frust) : เชื้อสาเหตุ Hemileia vastatrix

ลักษณะอาการ : ใบอ่อนและใบแก่ด้านบนใบจะมีสีเหลือง ส่วนด้านใต้ใบตรงจุดเดียวกันมักพบสปอร์ (แผล) สีส้ม เมื่ออาการรุนแรงจุดนี้จะขยายไปทั่ว ทั้งใบทำให้ใบร่วงผลผลิตกาแฟลดลง

การป้องกัน : ใช้พันธุ์ต้านทานโรค ดูแลรักษาให้ต้นกาแฟแข็งแรง เช่น การใส่ปุ๋ย การตัดแต่งให้ทรงพุ่มโปร่งเพื่อลดความชื้น

2.โรคแอนแทรคโนส (Antracnose) : เชื้อสาเหตุ Colletotrichum gloesporioides

อาการบนใบ เรียกว่า “โรคใบไหม้สีน้ำตาล” จะเกิดจุดกลมสีน้ำตาลแล้วขยายใหญ่ขึ้นเนื้อเยื่อกลางแผลจะตายมีสีน้ำตาลไหม้เมื่อแผลแต่ละจุดขยายจนติดกันจะมีอาการเหมือนใบไหม้ทั่วไปในสภาพอากาศแห้งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

อาการบนผล เรียกว่า “โรคผลเน่า” จะเห็นเป็นจุดกลมสีน้ำตาลเข้มด้านใดด้านหนึ่งของผล แล้วจะขยายใหญ่ขึ้น มีอาการเนื้อเยื่อยุบต่อมาผลจะหยุดการเจริญเติบโตและเปลี่ยนเป็นสีดำแต่ผลยังคงติดอยู่บนกิ่งกาแฟ

อาการบนกิ่ง เรียกว่า “โรคกิ่งแห้ง”  อาการไหม้บนกิ่งสีเขียวข้อและปล้องของต้นมีสีเหลืองซีด และขยายไปตามกิ่ง ใบเหลืองและร่วง กิ่งจะเหี่ยวและแห้ง ตาดอกเหี่ยว

การป้องกัน

1) เก็บผลและตัดแต่งกิ่ง ใบ ที่เป็นโรคไปเผานอกแปลงปลูก

2) ควรรักษาระดับร่มเงาให้เหมาะสม (ควรมีไม้บังร่ม) และคลุมดินใต้ทรงพุ่ม เพื่อรักษาระดับความชื้น และป้องกันการเกิดโรค

3) หลังเก็บเกี่ยว ควรตัดแต่งกิ่งและให้ปุ๋ยบำรุงต้น

แปลงเกษตรอินทรีย์  ให้ปฏิบัติตามข้อ 1-3

รหัสขนาด ขนาดของเมล็ดกาแฟ (มม.) ขนาดของตระแกรงร่อน (sieve No.)
 1 ≥ 7.14 18
 2 6.75 – < 7.14 17
 3 6.53 – < 6.75 16
 4 5.95 – < 6.35  15
 5 5.56 – < 5.95 14
 6 4.76 – < 5.56 12
 7 < 4.76

แปลง GAP ถ้าพบอาการโรคไม่รุนแรงในช่วงออกดอกและติดผลอ่อน ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช แมนโคเซบ 80 เปอร์เซ็นต์ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ถ้าพบอาการโรครุนแรงควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช อะซอกซี่สโตรบิน + ไดฟีโนโคโซล 20 เปอร์เซ็นต์ + 12.5 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู/วี เอสซี อัตรา 10 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เบโนมิล 50 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู/พี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรและปฏิบัติตามข้อ 1-3

3.มอดเจาะผลกาแฟ (Coffee Berry Borer) ชื่อวิทยาศาสตร์ Hypothenemus hampei

ลักษณะการเข้าทำลาย  ระยะผลอ่อน ความเสียหายรุนแรงจะเกิดกับเนื้อเยื่อภายในผล ระยะผลกำลังสุก ทำให้เมล็ดเป็นรูพรุน โรคพืชต่างๆ เข้าทำลายซ้ำ เมล็ดเสียคุณภาพ และทำให้ผลร่วงหล่นก่อนกำหนด

            การป้องกัน : ควรทำทุกวิธีร่วมกัน

1) สำรวจการระบาดของมอดเจาะผลกาแฟอย่างสม่ำเสมอ

2) รักษาความสะอาดแปลง เก็บเกี่ยวผลกาแฟให้หมดต้น และเก็บผลกาแฟที่ถูกมอดเจาะทำลายออกไปทำลายนอกแปลง

3) ตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่มให้โปร่ง

4) วางกับดักและสารล่อมอดเจาะผลกาแฟ (เมทิลแอลกอฮอล์ : เอทิลแอลกอฮอล์ อัตราส่วน 1 : 1) จำนวนกับดักอัตรา 5-10 จุด/ไร่

5) ใช้เชื้อราขาว (Beauveria bassiana) คือ บิวเวอเรีย บาสเซียนา  สายพันธุ์ ดีโอเอ บี 4 ฉีดพ่น อัตรา 200 กรัม/น้ำ 10 ลิตร

การใช้ประโยชน์

เมล็ดกาแฟชงดื่มทำให้ไม่ง่วงนอน

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่