Search for:

ชื่อสามัญ ขนุนสำปะลอ

ชื่อวิทยาศาสตร์  Artocarpus altilis  Fosberg

ชื่ออื่นๆ ขนุนสำปะลอ(ภาคกลาง) สาเก(ภาคกลาง)

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

ขนุนสำปะลอ ไม่ใช่ขนุนแต่เป็นสาเกที่มีเมล็ด เมล็ดมีขนาดหัวแม่มืออัดแน่นเต็มผล แต่ละเมล็ดก็มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน โดยสามารถนำเมล็ดของขนุนสำปะลอมาต้มหรือเผารับประทานกับน้ำตาลทราย

ลักษณะทั่วไป

ขนุนสัมปะลอ หรือ สาเก มีสายพันธุ์มากกว่า 120 สายพันธุ์ มีการเพาะปลูกกันมานานมากกว่า 3,000 ปีแล้ว ซึ่งในเกาะมาวีและเกาะกาวาย คือแหล่งสะสมต้นสาเกสายพันธุ์ต่าง ๆ ไว้หลายสายพันธุ์ โดยปลูกเอาไว้ให้ชมกันมากที่สุดในโลก สาเกเป็นไม้ผลที่ออกลูกดก (ในหนึ่งฤดูต้นสาเกอาจออกผลราว 200 ผล) แต่ที่นิยมปลูกในบ้านเราคือ สาเกพันธุ์ข้าวเหนียว ขนุนสัมปะลอ หรือ สาเก เป็นไม้ยืนต้นนสูง 15-20 เมตร ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านทรงพุ่มแผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกัน มีขนาดใหญ่ กว้าง 25-35 เซนติเมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร ใบเว้าเป็นแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ก้านใบและเส้นใบมีสีเหลืองเห็นชัดเจน แผ่นใบสีเขียวเข้ม หนา ยอดอ่อนมีกาบสีเหลืองอมเขียวหุ้ม ดอกออกเป็นช่อ แยกเป็นช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกตัวเมีย ช่อดอกตัวผู้เป็นช่อยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร รูปทรงคล้ายกระบองห้อยลง ส่วนช่อดอกตัวเมียเป็นรูปทรงกลม ออกดอกตลอดปี ผล เป็นผลรวม มีรูปทรงรูปไข่หรือเกือบกลม ขนาดประมาณ 15-20 เซนติเมตร ภายในมีเนื้อไม่มีเมล็ด สีเขียวอมเหลือง สายพันธุ์หนึ่งมีแต่เมล็ดเรียกว่า ขนุนสำปะลอ

พันธุ์และการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบยอด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเพาะเมล็ด

วิธีการปลูก

วิธีการปลูกโดยใช้วิธีการสกัดราก หรือ การตัดรากไปเพาะชำ เพื่อให้เกิดต้นใหม่ โดยการตัดบริเวณรากของต้นที่ต้องการจะเพาะชำประมาณ 1-2 นิ้วและนำไปปักหว่านลงดินผสมสำหรับเพาะชำ รอให้แตกใบก็สามารถย้ายมาปลูกต่อในถุงเพาะ หรือ ในกระบะเพาะ รอเวลาให้ต้นแข็งแรงจึงจะย้ายปลูกลงแปลงปกติ วิธีการปลูก เริ่มจากการเตรียมดิน โดยให้ขุดหลุมเตรียมดินที่จะปลูกให้มีความกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50-100 เซนติเมตร และนำดินที่เหลือ ตากแดดไว้เป็นเวลา 7-15 วัน ให้พรวนไถดินไปด้วย เพื่อกำจัดวัชพืชและแมลงต่างๆ ไม่ให้รบกวนพืชที่ปลูก หากดินมีความร่วนซุยอยู่แล้วก็อาจจะขุดหลุมขนาดไม่ใหญ่มาก แต่หากดินที่มีความร่วนซุยน้อย แนะนำให้ขุดหลุมให้ใหญ่กว่าเล็กน้อย เพื่อที่จะนำดินมาบำรุงได้อย่างทั่วถึง จากนั้นนำปุ๋ยคอกผสมกับดินและคลุกเคล้าให้ทั่ว ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมแล้วนำต้นกล้าที่สมบูรณ์ลงปลูก รถน้ำให้ชุ่ม หากปลูกหลายต้นให้เว้นระยะห่างระหว่างแถว ประมาณ 8×10 เมตร หรือประมาณ 12×10 เมตร เมื่อต้นเริ่มเจริญเติบโตให้ใช้ไม้ค้ำยันไว้เพื่อไม่ให้ลมพัดต้นจนล้ม ดูแลรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ

การดูแลรักษา

เมื่อต้นขนุนสำปะลอ สามารถยืนต้นได้และมีอายุมากกว่า 5 ปีสามารถให้ผลผลิตได้ การบำรุงและดูแลทำได้ดังนี้ ใส่ปุ๋ยคอก ปีละ 2 ครั้ง คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

หนอนเจาะลำต้น

การใช้ประโยชน์

  1. ผลไม้มีวิตามินหลากหลายชนิด ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ โดยช่วยเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL) และช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL)
  2. เส้นใยอาหารจากผล ช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลในร่างกาย มันจึงช่วยควบคุมโรคเบาหวานได้ ช่วยในการทำงานของลำไส้และระบบขับถ่าย ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช่วยกำจัดสิ่งตกค้างในลำไส้ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื้อให้พลังงานสูง มีแคลเซียมและวิตามินเอที่จำเป็นต่อร่างกาย
  3. ต้นนิยมปลูกตามบ้านจัดสรรทั่วไปเพื่อเป็นไม้ประดับและใช้เป็นร่มเงา
  4. ผลสามารถนำมาย่าง ต้ม อบ หรือนำมาเชื่อมได้ ใช้ทำเป็นขนมสาเก เช่น แกงบวด สาเกเชื่อม เป็นต้น
  5. มีการนำสาเกไปป่นเป็นแป้งเพื่อนำมาใช้ทำเป็นขนมปังกรอบ สำหรับชาวอินโดนีเซียจะนิยมนำสาเกไปอบกรอบใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง
  6. ยางจากต้น นิยมนำมาใช้เป็นชันยาเรือ
  7. ดอก สามารถใช้ไล่ยุงได้
  8. เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ และทำเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรือนำมาสร้างบ้านได้
  9. สามารถนำมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิว ใช้ทำเป็นสารทำให้ผิวขาว (Skin whitening agent)

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย

<<กลับไปหน้าฐานข้อมูลไม้ผล