Search for:

ชื่อสามัญ ลางสาด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lansium parasiticum

ชื่ออื่นๆ เตียน, ล่อน, สะท้อน (ภาคใต้) มะต้อง (ภาคเหนือ, อุดรธานี) มะติ๋น (ภาคเหนือ) สตีย,า สะตู (มาเลย์-      นราธิวาส) สะโต (มาเลย์-ปัตตานี)

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

เกาะมาลายูหมู่เกาะชวา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์  และประเทศไทย

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้ผลเมืองร้อน มีลำต้นตรง  สูงประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นมุมแหลมกระจายกึ่งกลางลำต้นขึ้นไป ลักษณะปลายกิ่งตั้ง ส่วนผิวของลำต้นชั้นนอกมีสีเทาและขรุขระ เปลือกไม่หลุดออก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยหรือในดินร่วนปนทราย เป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดด อากาศชื้นปานกลาง และมีน้ำปานกลาง

พันธุ์และการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การติดตา และการต่อกิ่ง

วิธีการปลูก

การเตรีมหลุมปลูกขนาด 50×50×50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักตัวสมบูรณ์แล้ว ระยะปลูกระหว่างแถว 6-8 ม.

การดูแลรักษา

ช่วงลงปลูกใหม่ต้องรดน้ำทุกวัน หรือเหมาะในการปลูกช่วงฤดูฝน บำรุงต้นโดยใส่ปุ๋ยเคมีทางดิน สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16ช่วงพัฒนาดอกและติดผล เมื่อพบการแตกใบอ่อน พ่นด้วยปุ๋ยทางใบ 3 ครั้ง ช่วงพัฒนาการของผลใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 13-13-21 อัตรากิโลกรัมต่อต้น การให้น้ำในสวน พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 15 วัน

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

1.โรคราสีชมพู เข้าทำลายกิ่ง โดยขึ้นปกคลุมกิ่ง เห็นเป็นเส้นใยสีขาวต่อมาเปลี่ยนเป็นสีชมพู ทำให้ใบเหลืองและกิ่งแห้ง มักพบระบาดมากในช่วงฝนชุก โดยเฉพาะในแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง เมื่อพบเชื้อราเริ่มเข้าทำลายตามกิ่งที่มีขนาดใหญ่ ควรใช้มีดขูดเปลือกกิ่งออกบางๆ แล้วทาด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์รอบๆกิ่งให้ทั่ว

  2.หนอน กินใต้ผิวเปลือก กัดกินเปลือกล้าต้นและกิ่ง ทำลายท่อน้ำท่ออาหาร ทำให้ต้นทรุดโทรม มีการระบาดตลอดเกือบทั้งปี การป้องกันก้าจัด :  ใช้ไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีมา อัตรา 40 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3 ลิตรต่อต้น ตามกิ่งและลำต้นที่มีหนอนเข้าทำลายในตอนเย็น และควรพ่นไส้เดือนฝอยหลัง

ศัครูอื่นๆ ได้แก่ โรครากเน่า โรคผลเน่า โรคราดำ เพลี้ยไฟ แมลงวันผลไม้

การใช้ประโยชน์

โดยทั่วไปจะนิยมรับประทานเป็นผลไม้สด เมล็ดของลางสาดมีสารอัลคาลอยด์ (Acid Alkaloid) ซึ่งเป็นพิษกับหนอนและแมลง สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาฉีดพ่นกำจัดแมลงได้  พื้นที่ปลูกภายในศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา จำนวน 0.25 ไร่

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา

<<กลับไปหน้าฐานข้อมูลไม้ผล