Search for:

ชื่อสามัญ มะขาม Tamarind

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tamaindus indica Linn.

ชื่ออื่นๆ

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

อยู่ในเขตร้อนของทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน จากนั้นได้ถูกนำมาปลูกในอินเดีย เปอร์เซีย เอเชียตะวันออก หมู่เกาะในทะเลแปซิฟิก โดยมะขามต้นแรกที่ปลูกในเกาะฮาวายเมื่อ ปี ค.ศ.1797 จากนั้นได้ถูกนำไปปลูกในเขตร้อนของทวีปอเมริกา โดยเริ่มจากหมู่เกาะ Bermuda, Bahamus และ West Indies จากนั้นเข้าสู่รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก กัวเตมาลา ประเทศในแถบอเมริกากลาง และตอนเหนือของประเทศบราซิลในที่สุด

ลักษณะทั่วไป

มะขามเปรี้ยว เป็นไม้พื้นบ้านไทยขนาดใหญ่ สูงประมาณ 6-20 เมตร ขนาดทรงพุ่มแน่นและแผ่เป็นวงกลม ขนาดประมาณ 18-20 เมตร ลำต้นแข็งแรง มีเปลือกสีน้ำตาลอ่อนและแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็กซึ่งใช้จำแนกพันธุ์ได้ ปลายกิ่งมักจะห้อยลง

ใบมะขามเปรี้ยวฝักยักษ์ มีลักษณะเป็นใบรวม จะออกเป็นใบคู่เรียงตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีประมาณ 10-18 คู่ ลักษณะของใบย่อย เป็นรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบโค้งมน มีสีเขียวแก่ ใบจะลู่และหุบในเวลาที่ไม่มีแสงดอก ขนาดเล็กสีเหลือง มีจุดประสีแดงอยู่ตรงกลางดอกออกดอกเป็นช่อยาวตามซอกใบและปลายกิ่ง

ช่อดอก เป็นแบบ raceme ช่อหนึ่งมีดอก 10-15 ดอก ดอกมี 5 กลีบ มองเห็นชัดเพียง 3 กลีบ ส่วนอีก 2 กลีบ มองเห็นเพียงเป็นเกล็ดเล็กอยู่ด้านหลังดอก ดอกเป็นแบบสมบูรณ์เพศ ดอกมีรสเปรี้ยว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

ฝัก แก่ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นแบบแบน โค้งงอ เปลือกหนาไม่แตก มีสีน้ำตาลปนเขียว

เปลือก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลอมเทา ข้างในผลมีเนื้อ ฝักดิบมีสีเหลืองนวล เมื่อสุกเนื้อจะเปียกสีน้ำตาลแก่ ผลมขนาดโตมาก

เมล็ดอ่อน มีสีเขียว จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมดำเมื่อแก่ ใน 1 ฝัก มีเมล็ดตั้งแต่ 5-12 เมล็ด ลักษณะเมล็ดใหญ่แบน

พันธุ์และการขยายพันธุ์

การทาบกิ่ง และการเสียบยอด

วิธีการปลูก

มะขามเปรี้ยวฝักยักษ์สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดที่มีการระบายน้ำได้ดี ต้องปลูกในสภาพกลางแจ้งที่ถูกแสงแดดได้ตลอดทั้งวัน คือไม่ชอบมีการบังร่มเงากัน ควรใช้ระยะแถวห่างกัน 8 เมตร ระยะต้นห่างกัน 8 เมตร จะได้จำนวน 25 ต้น ต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกและร็อกฟอสเฟต การดูแลรักษามะขามเปรี้ยวฝักยักษ์ในช่วง 2 ปีแรก โดยช่วงต้นฝนควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 5-10 กิโลกรัม ต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น จากนั้น ควรตัดแต่งกิ่งเพื่อจัดการให้ทรงพุ่มแข็งแรง โดยตัดแต่งกิ่งที่โคนต้นออกสูงเหนือพื้นดินประมาณ 1 ฟุต ควรตัดแต่งกิ่งมะขามเปรี้ยวฝักยักษ์คล้ายทรงพีระมิด ในช่วงนี้อย่าปล่อยให้ต้นมะขามเปรี้ยวฝักยักษ์ออกดอกติดฝักเป็นอันขาด พอย่างเข้าปีที่ 3 จึงปล่อยให้ต้นมะขามเปรี้ยวฝักยักษ์แตกกิ่งอย่างอิสระเพื่อให้ติดผลต่อไป

  การตัดแต่งกิ่งต้นมะขามเปรี้ยวฝักยักษ์ ที่ให้ผลแล้ว หลังจากเก็บฝักหมดแล้วช่วงปลายเดือนมีนาคม-เมษายน ควรดำเนินการตัดแต่งกิ่งมะขามเปรี้ยวฝักยักษ์ เพื่อช่วยให้มีการออกดอกติดฝักอย่างสมบูรณ์และมีคุณภาพดังนั้น ต้องพิจารณาตัดแต่งกิ่งที่ไม่ต้องการออก เช่น กิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค กิ่งฉีกขาด และกิ่งที่อยู่ภายในทรงพุ่ม โดยตัดให้ปากแผลเฉียงชิดลำต้นหรือกิ่งหลักแล้วทายากันเชื้อรา ในกรณีที่ต้นมะขามเปรี้ยวฝักยักษ์มีอายุแล้ว หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จเรียบร้อยแล้วปล่อยพักตัวในช่วงฤดูร้อนระยะหนึ่ง ซึ่งจะแตกต่างจากไม้ผลทั่วไป คือหลังจากเก็บผลแล้วจะต้องมีการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยหมักบำรุงต้น สำหรับมะขามเปรี้ยวฝักยักษ์ถ้าใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหลังตัดแต่งกิ่ง จะทำให้แตกใบอ่อนเฝือใบจนออกดอกไม่มาก หลังตัดแต่งกิ่งในช่วงฤดูแล้ง ห้ามใส่ปุ๋ยที่เกี่ยวข้องกับไนโตรเจนเด็ดขาด โดยเฉพาะยูเรีย หรือปุ๋ยคอกที่อุดมไปด้วยไนโตรเจน เพราะมีผลต่อการติดฝักของมะขาม นอกจากนี้ เมื่อฝนตกปุ๋ยนี้จะไปบำรุงใบอ่อนทำให้เกิดสภาพเฝือใบ มีผลให้ออกดอกน้อยเกินไป พอเข้าช่วงต้นฤดูฝนราวเดือนพฤษภาคม มะขามเปรี้ยวฝักยักษ์จะเริ่มออกดอกเมื่อฝนตก พอมะขามเปรี้ยวฝักยักษ์เริ่มติดฝักอ่อน ค่อยใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 20-40 กิโลกรัม ต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 2-4 กิโลกรัม ต่อต้น โดยขุดใส่รอบรัศมีพุ่มใบ หลังจากนั้น เมื่อมะขามเปรี้ยวฝักยักษ์มีขนาดฝักโตแล้ว อาจใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 0-0-40 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น เพื่อทำให้ฝักมะขามมีคุณภาพดี

การดูแลรักษา

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

โรคราแป้ง หนอนเจาะลำต้น หนอนเจาะฝัก

การใช้ประโยชน์

รับประทานสด

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

<<กลับไปหน้าฐานข้อมูลไม้ผล