Search for:

ชื่อสามัญ : โกโก้ (Cocoa)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Theobroma cacao L.
ชื่ออื่นๆ    : –

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

ได้จากคู่ผสมระหว่างพันธุ์ Pa7 กับ Na32 จัดอยู่ในกลุ่ม Upper Amazon ที่ได้จากการเก็บรวบรวมตั้งแต่ ปี พ.ศ.2481 ในประเทศเอกวาดอร์ นำไปรวบรวมที่ประเทศทรินิแดดชาวอังกฤษได้ส่งไปปลูกที่ประเทศกานาในปี พ.ศ.2487

สำหรับประเทศไทยนำเข้ามาจากรัฐซาบาร์ประเทศมาเลเซีย ปี พ.ศ.2522 และได้ดำเนินการค้นคว้าวิจัยตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตรที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรตั้งแต่ปีพ.ศ.2523-2536 พบว่าให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ที่เกษตรกรปลูกอยู่เดิม

ลักษณะทั่วไป

ใบ
มีความกว้าง ปลายใบมีลักษณะแหลม

ดอก
มีขนาดเท่าหัวเข็มหมุด เมื่อโตเต็มที่ดอกมีสีเขียวอ่อนๆ ก้านดอก สีเขียว

ผล
ลักษณะผลป้อม ไม่มีคอ และก้นไม่แหลม ผิวเรียบ ร่องค่อนข้างตื้น

เมล็ด
มีเนื้อในเป็นสีม่วง

พันธุ์และการขยายพันธุ์
พันธุ์ลูกผสมชุมพร 1 ให้ผลผลิตสูงและสม่ำเสมอ เมล็ดมีขนาดตรงตามมาตรฐานและเปอร์เซ็นต์ไขมันสูงประมาณ 57.27 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งทนทานต่อโรคกิ่งแห้ง

การขยายพันธุ์
โกโก้สามารถขยายพันธุ์ได้ 2 แบบ คือ
1. การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการเพาะเมล็ด
2.การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยใช้ส่วนต่างๆ ของต้น เช่น การชำ การติดตา การเสียบยอด การตอน แต่วิธีที่นิยมปฏิบัติ คือ การเพาะด้วยเมล็ด

 วิธีการปลูก
การปลูกโกโก้ทำได้ 2 ระบบ คือ
1. ปลูกเป็นพืชเดี่ยว การปลูกวิธีนี้ไม่นิยมปลูกเนื่องจากมีความยุ่งยากเพราะจ้ะองดูแลทั้งโกโก้และพืชร่มเงา ซึ่งในระยะแรกที่ปลูกโกโก้จำเป็นต้องสร้างร่มเงาให้โกโก้ก่อนแล้วจึงตัดร่มเงาเหล่านั้นออก
2. การปลูกเป็นพืชแซมในสวนมะพร้าวและไม้ผล – โกโก้เล็กหรือโกโก้ที่อยู่ในระยะก่อนให้ผลผลิต ต้องการแสงแดดประมาณ 30 % และต้องการมากขึ้นประมาณ 60-70 % เมื่อโกโก้ตกผลแล้ว

การดูแลรักษา

การให้น้ำ
หลังจากปลูกโกโก้แล้วควรมีการให้น้ำแก่ต้นโกโก้ประมาณ 2-3 วัน/ครั้ง ในฤดูแล้ง ควรพลางแสงต้นโกโก้ด้วยใบหรือกาบมะพร้าวหรือวัสดุหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อรักษาความชื้นของดินบริเวณโคนต้นโกโก้ สำหรับต้นที่ให้ผลผลิตแล้วต้องการน้ำประมาณ 20 ลิตร/ต้น/วัน สามารถให้แบบน้ำหยดหรือมินิสปริงเกอร์

การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมด้วน ปุ๋ย 0 – 3 – 0 (หินฟอสเฟต) อัตรา 100 ก./ต้น
ช่วงอายุ 6 เดือน ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นและใบ 15-15-6-4 อัตรา 45 ก./ต้น
ช่วงอายุ 12 เดือน ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นและใบ 15-15-6-4 อัตรา 60 ก./ต้น
ช่วงอายุ 24 เดือน ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นและใบ 15-15-6-4 อัตรา 110 ก./ต้น
ช่วงอายุ 36 เดือน ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นและใบ 15-15-6-4 อัตรา 180 ก./ต้น
ตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นและใบ 15-15-6-4 อัตรา 400 ก./ต้น

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

โรค
1. โรคผลเน่าดำ เกิดจากเชื้อรา Phytophthora sp. เข้าทำลายส่วนของผล เกิดแผลสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำลักษณะฉ่ำน้ำลุกลามไปทั่วผล

แมลงศัตรู
1. มวนโกโก้ (Helopeltis sp.) ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและผลอ่อนระยะวางไข่ตัวแก่จะวางไข่ฝังในเปลือกผิวของโกโก้และเจริญเติบโตออกมาทำลายผลและยอดอ่อนของโกโก้ต่อไป
2. ด้วงกินใบ 
ที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ด้วงกุหลาบ ด้วงงวง แมลงค่อมทอง

การใช้ประโยชน์
โกโก้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด กระตุ้นหัวใจ ขยายหลอดเลือด ทั้งยังมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะด้วย
นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมยา อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมยาสูบ เป็นต้น

แหล่งพืชอนุรักษ์

  • ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร
  • ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา

<<กลับไปหน้าฐานข้อมูลพืชอุตสาหกรรม