Search for:

มะพร้าวลูกผสมสามทาง : พันธุ์ชุมพร 1, พันธุ์ชุมพร 2

ชื่อพืช          มะพร้าวลูกผสมสามทาง
พันธุ์             ชุมพร 1
วันที่รับรอง     : 1 มีนาคม 2562
ประเภทพันธุ์   : พันธุ์รับรอง

ลักษณะเด่น

       1.ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 102 ผล/ต้น/ปี หรือ 2,252 ผล/ไร่/ปี สูงกว่าพันธุ์ลูกผสมชุมพร 2 ร้อยละ 25
        2.ผลขนาดกลางถึงใหญ่ โดยมีน้ำหนักเฉลี่ย 1,882 กรัม/ผล มากกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 และลูกผสมชุมพร 2 หรือเกณฑ์มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร
       3.น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ยสูง 337 กรัม/ผล/ปี หรือ 766 กิโลกรัม/ไร่/ปี สูงกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1และลูกผสมชุมพร 2 ร้อยละ 34 และ 53 ตามลำดับ
       4.น้ำมันต่อเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ย 61 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และคิดเป็นผลผลิตน้ำมันเฉลี่ย 21 กิโลกรัม/ต้น/ปี สูงกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 และลูกผสมชุมพร 2 ร้อยละ 31 และ 50 ตามลำดับ

พื้นที่แนะนำ
 
        ควรปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับมะพร้าว หมายถึง พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตร/ปี มีช่วงแล้งติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือน หรือมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร/เดือน และดินมีการระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำท่วมขัง พื้นที่ปลูกไม่ควรเป็นดินดาน หรือดินที่มีชั้นหินแข็งอยู่ลึกจากผิวดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร

ข้อควรระวัง หรือข้อจำกัด
        เนื่องจากการผลิตพันธุ์มะพร้าวเป็นลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) จึงไม่ควรนำผลที่ได้ไปขยายพันธุ์ต่อเพราะจะทำให้ได้มะพร้าวที่มีการกระจายตัว

มะพร้าวลูกผสมสามทางชุมพร2

ชื่อพืช  มะพร้าวลูกผสมสามทาง

พันธุ์  ชุมพร 2

วันที่รับรอง : 1 มีนาคม 2562

ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง

ลักษณะเด่น

  1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 108 ผล/ต้น/ปี หรือ 2,372 ผล/ไร่/ปี สูงกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 และลูกผสมชุมพร 2

ร้อยละ 3 และ 32 ตามลำดับ

  1. ผลขนาดกลาง โดยมีน้ำหนักเฉลี่ย 1,509 กรัม/ผล มากกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 และลูกผสมชุมพร 2

หรือเกณฑ์มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร

  1. น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ยสูง 250 กรัม/ผล/ปี หรือ 584 กิโลกรัม/ไร่/ปี สูงกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1

และลูกผสมชุมพร 2 ร้อยละ 2 และ 17 ตามลำดับ

  1. น้ำมันต่อเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ย 62 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และคิดเป็นผลผลิตน้ำมัน

เฉลี่ย 17 กิโลกรัม/ต้น/ปี สูงกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 และลูกผสมชุมพร 2 ร้อยละ 6 และ 21 ตามลำดับ

พื้นที่แนะนำ

        ควรปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับมะพร้าว หมายถึง พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า

1,200 มิลลิเมตร/ปี มีช่วงแล้งติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือน หรือมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร/เดือน และดินมีการระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำท่วมขัง พื้นที่ปลูกไม่ควรเป็นดินดาน หรือดินที่มีชั้นหินแข็งอยู่ลึกจากผิวดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร

ข้อควรระวัง หรือข้อจำกัด

        เนื่องจากการผลิตพันธุ์มะพร้าวเป็นลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) จึงไม่ควรนำผลที่ได้ไปขยายพันธุ์ต่อเพราะจะทำให้ได้มะพร้าวที่มีการกระจายตัว

พันธุ์สวีลูกผสม 1

ชื่อวิทยาศาสตร์: cocos nucifeca L.
ชื่อสามัญ: coconut, มะพร้าว

ลักษณะประจำพันธุ์

ต้น      เป็นลำต้นเดี่ยว ความสูงของลำต้นจะเพิ่มตามอายุ
ใบ       พุ่มใบเป็นรูปวงกลม แต่ละใบจะประกอบด้วยใบย่อยเล็กๆ มีสีเขียว ใบที่ 14 มีความยาวประมาณ 480 เซนติเมตร มีอัตราการเพิ่มของใบประมาณ 14-16 ใบต่อปี
ดอก     ช่อดอกสีเหลือง ประกอบด้วยดอกเพศผู้เล็กๆ จำนวนมากและดอกเพศเมียที่มีขนาดใหญ่กว่าบริเวณโคน ช่อดอก
ผล      รูปทรงค่อนข้างรี เปลือกมีสีเขียวหรือน้ำตาลอมเขียว รูปทรงของผลปอกเปลือกค่อนข้างกลม น้ำหนักผลแก่ทั้งเปลือกเฉลี่ย 1,280 กรัม และมีน้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งต่อผลประมาณ 200-220 กรัม

ลักษณะทางการเกษตร

  1. เนื้อมะพร้าวแห้งผลผลิตประมาณ 500 กิโลกรัม/ไร่/ปี
  2. เนื้อมะพร้าวมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันประมาณ 68 เปอร์เซ็นต์
  3. ให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 4 ปี หลังจากปลูก
  4. ไม่ปรากฏว่าเป็นโรคแมงศัตรูมะพร้าวระบาดอย่างรุนแรง

 ลักษณะเด่น

ให้ผลดก เหมาะสำหรับเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแปรรูป

วันที่รับรองพันธุ์

กรมวิชาการเกษตร รับรองวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2525 พันธุ์ เมื่อ เป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 14/2540 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2540

 

 

พันธุ์ลูกผสมชุมพร 2

ชื่อวิทยาศาสตร์: cocos nucifeca L.
ชื่อสามัญ: coconut, มะพร้าวลักษณะประจำพันธุ์                              

ต้น       เป็นลำต้นเดี่ยว ความสูงของลำต้นจะเพิ่มตามอายุ
ใบ        พุ่มใบเป็นรูปวงกลม แต่ละใบจะประกอบด้วยใบย่อยเล็กๆ มีสีเขียว ใบที่ 14 มีความยาวประมาณ 465 เซนติเมตร มีอัตราการเพิ่มของใบประมาณ 13-14 ใบต่อปี
ดอก     ช่อดอกสีเหลือง ประกอบด้วยดอกเพศผู้เล็กๆ จำนวนมากและดอกเพศเมียที่มีขนาดใหญ่กว่าบริเวณโคน ช่อดอก
ผล       รูปทรงค่อนข้างกลม  เปลือกมีสีเขียวหรือน้ำตาล รูปทรงของผลปอกเปลือกค่อนข้างกลม มีก้นป้าน น้ำหนักผลแก่ทั้งเปลือกเฉลี่ย 1,500 กรัม และมีน้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งต่อผลประมาณ 261 กรัม

ลักษณะทางการเกษตร

  1. เนื้อมะพร้าวแห้งผลผลิตประมาณ 500 กิโลกรัม/ไร่/ปี

  2. คุณภาพ เนื้อมะพร้าวมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันประมาณ 66 เปอร์เซ็นต์

 ลักษณะเด่น

  1. มีอายุตกผลเร็ว

  2. เปอร์เซ็นต์น้ำมันค่อนข้างสูงประมาณ 66 เปอร์เซ็นต์ ใกล้เคียงกับพันธุ์สวีลูกผสม 1 ที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันประมาณ 68 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่ามะพร้าวใหญ่ที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 60 เปอร์เซ็นต์

ข้อจำกัด

เป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 ที่ไม่สามารถนำผลไปปลูกต่อไป

พื้นที่แนะนำ

แหล่งปลูกมะพร้าวในเขตภาคกลาง และภาคใต้

วันที่รับรองพันธุ์

กรมวิชาการเกษตร รับรองพันธุ์ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2538

พันธุ์ชุมพรลูกผสม 60

ชื่อวิทยาศาสตร์: cocos nucifeca L.
ชื่อสามัญ: coconut, มะพร้าว

ลักษณะประจำพันธุ์

ต้น      เป็นลำต้นเดี่ยว ความสูงของลำต้นจะเพิ่มตามอายุ
ใบ       พุ่มใบเป็นรูปวงกลม แต่ละใบจะประกอบด้วยใบย่อยเล็กๆ มีสีเขียว ใบที่ 14 มีความยาว ประมาณ 530 เซนติเมตร มีอัตราการเพิ่มของใบประมาณ 13-14 ใบต่อปี
ดอก     ช่อดอกสีเหลือง ประกอบด้วยดอกเพศผู้เล็กๆ จำนวนมากและดอกเพศเมียที่มีขนาดใหญ่กว่าบริเวณโคน ช่อดอก
ผล      รูปทรงกลมรี เมื่อมองจากด้านขั้วของผลจะเป็นเหลี่ยม เปลือกมีสีเขียวหรือน้ำตาลอมเขียว รูปทรงของผลปอกเปลือกค่อนข้างกลมรี น้ำหนักผลแก่ทั้งเปลือกเฉลี่ย 1,350 – 1,600 กรัม และมีน้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งต่อผลประมาณ 260-290 กรัม

ลักษณะทางการเกษตร

  1. เนื้อมะพร้าวแห้งผลผลิตประมาณ 500 กิโลกรัม/ไร่/ปี

  2. เนื้อมะพร้าวมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันประมาณ 64 เปอร์เซ็นต์

  3. ให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 5 ปี หลังจากปลูก

  4. ขนาดผลอยู่ระหว่างมะพร้าวกลางและมะพร้าวใหญ่ มีเปลือกค่อนข้างหนา

  5. ไม่ปรากฏว่าเป็นโรคแมงศัตรูมะพร้าวระบาดอย่างรุนแรง

ลักษณะเด่น

             ตกผลเร็ว เก็บผลผลิตได้ในปีที่ 5 หลังจากปลูก สูงช้ากว่าพันธุ์ไทย ต้นสูง คือ อายุ 10 ปี สูง 5.25-5.75 เมตร ขนาดผลมีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ตรงตามความต้องการของชาวสวนมะพร้าว ให้ผลผลิตสูง เมื่ออายุ 10 ปี ให้ผลผลิตแห้งต่อผลอยู่ระหว่าง 280-290 กรัม เปอร์เซ็นต์น้ำมันสู’ระหว่าง 64-67 เปอร์เซ็นต์ ทนทานต่อความแห้งแล้ง ดีกว่าพันธุ์พ่อเวสต์แอฟริกันต้นสูง พอ ๆ กับพันธุ์ไทยต้นสูง ไม่ปรากฏโรคและแมลงศัตรูที่ร้ายแรง ตอบสนองต่อปุ๋ยดีกว่าพันธุ์ไทยพื้นเมืองต้นสูง

ข้อจำกัด

          เป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 ที่ไม่สามารถนำผลไปปลูกต่อไป

พื้นที่แนะนำ

          ปลูกได้ดีในพื้นที่ๆสามารถทำการเกษตรได้และผิวหน้าดินลึก 1-1.5 เมตร ไม่มีดินลูกรังหรือ ดินดานอัดแน่น แหล่งปลูกมะพร้าวในเขตภาคกลาง และภาคใต้

วันที่รับรองพันธุ์

กรมวิชาการเกษตร รับรองพันธุ์ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2530 เป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 18/2540 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2540

ลูกผสมกะทิพันธุ์ชุมพร 84-1

ชื่อวิทยาศาสตร์: cocos nucifeca L.
ชื่อสามัญ: coconut, มะพร้าว

ลักษณะประจำพันธุ์

ลำต้นตั้งตรง ใบแคบยาว ขนาดใบย่อย (กว้างxยาว) 5.7×116 เซนติเมตร ความยาวทาง 526 เซนติเมตร ก้านทาง (กว้างxยาวxหนา) 8.7x137x4.6 เซนติเมตร รอบโคนต้น 155 เซนติเมตร ก้านทางสีเขียวและน้ำตาลแกมเขียว จั่นมีความยาวครึ่งหนึ่งของสวนออกจั่นเมื่ออายุ 3 ปี 1 เดือน ให้ผลผลิตสูงสุดจำนวน 3,378 ผลต่อไร่ (เฉลี่ย 3 ปีแรก)

 ลักษณะเด่น

  1. ให้ผลผลิตรวม 3 ปีแรก 3,378 ผลต่อไร่ โดยให้ผลผลิตเป็นมะพร้าวกะทิไม่น้อยกว่า 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต้นมะพร้าวธรรมดาไม่มีผลเป็นมะพร้าวกะทิ

  2. ให้ผลผลิตเร็วโดยต้นแรกออกจั่นเมื่ออายุ 2 ปี 5 เดือน และต้นมะพร้าวจำนวนครึ่งหนึ่งของสวนออกจั่นเมื่ออายุ 3 ปี 1 เดือน และให้ผลผลิตเมื่อทะลายแรกสูงจากพื้นดิน 73 เซนติเมตร

พื้นที่แนะนำ

ควรมีอุณหภูมิเฉลี่ย 20-34 องศาเซลเซียส หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ดินมีการระบายน้ำดี ถ้าปลูกในที่ลุ่ม ควรยกร่อง ไม่ควรปลูกให้สูงเกิน 500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ถ้าพื้นที่ปลูกแล้งนานเกิน 3 เดือน ต้องมีระบบให้น้ำ

ข้อจำกัด

  1. ปลูกให้ห่างจากมะพร้าวธรรมดา ถ้ามีต้นไม้ใหญ่ล้อมรอบ ให้ห่างจากมะพร้าวธรรมดาอย่างน้อย 300 เมตร ถ้าเป็นทุ่งโล่ง ให้ห่างจากมะพร้าวธรรมดาอย่างน้อย 5 กิโลเมตร เพื่อป้องกันการผสมข้ามหรือถ่ายละอองเกสร (เรณู) จากละอองเกสรมะพร้าวธรรมดา ซึ่งจะทำให้ผลมะพร้าวกะทิไม่ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ (ตามกฎของเมลเดล)

  2. หากต้องการให้ผลผลิตมะพร้าวกะทิสูงขึ้นควรใช้เทคโนโลยีการทำหมันและช่วยผสมพันธุ์มะพร้าวด้วยละอองเกสรมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้

วันที่รับรองพันธุ์

กรมวิชาการเกษตร แนะนำพันธุ์ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2554 เป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 017/2554 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554

ลูกผสมกะทิพันธุ์ชุมพร 84-2

ชื่อวิทยาศาสตร์: cocos nucifeca L.
ชื่อสามัญ: coconut, มะพร้าว

ลักษณะประจำพันธุ์

              ลำต้นตั้งตรง ใบแคบยาว ขนาดใบย่อย (กว้างxยาว) 5.9×110 เซนติเมตร ความยาวทาง 521เซนติเมตร ก้านทาง (กว้างxยาวxหนา) 8.8x131x4.8 เซนติเมตร รอบโคนต้น 157 เซนติเมตร ก้านทางสีเขียวและสีเขียวแกมน้ำตาล จั่นมีความยาวครึ่งหนึ่งของสวนออกจั่นเมื่ออายุ 3 ปี 3 เดือน ให้ผลผลิตสูงสุดจำนวน 1,917 ผลต่อไร่ (เฉลี่ย 3 ปีแรก) ได้มะพร้าวลูกผสมกะทิที่ให้ผลผลิตเป็นมะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอมทั้งน้ำและเนื้อจำนวน 55 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนต้นที่ปลูก

 ลักษณะเด่น

  1. ให้ผลผลิตรวม 3 ปีแรก 1,917 ผลต่อไร่ โดยให้ผลผลิตเป็นมะพร้าวกะทิไม่น้อยกว่า 18 เปอร์เซ็นต์

  2. ต้นแรกออกจั่นเมื่ออายุ 2 ปี 7 เดือน และต้นมะพร้าวจำนวนครึ่งหนึ่งของสวนออกจั่นเมื่ออายุ 3 ปี 3 เดือน ให้ผลผลิตเมื่อทะลายแรกสูงจากพื้นดิน 71 เซนติเมตร

  3. ต้นมะพร้าวจำนวน 55 เปอร์เซ็นต์ ของสวนให้ผลผลิตมะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอม ซึ่งในแต่ละต้นจะให้ผลเป็นมะพร้าวกะทิ 25 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นมะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอม 6 เปอร์เซ็นต์

วันที่รับรองพันธุ์

กรมวิชาการเกษตร แนะนำพันธุ์ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2554 เป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเลขที่ 018/2554 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554