คัดเลือกพันธุ์เบญจมาศตัดดอกชุดที่1/2557รุ่นMV3 – MV4
คัดเลือกพันธุ์เบญจมาศตัดดอกชุดที่1/2557รุ่นMV3 – MV4
Selective breeding cutting of chrysanthemum. Series 1/2557 in MV3 – MV4.
พฤกษ์ คงสวัสดิ์1/ นิตยา คงสวัสดิ์1/ ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์1/ นาตยา ดำอำไพ2/
บทคัดย่อ
ประเทศไทยปลูกเบญจมาศมานาน เป็นพืชที่มีผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง เดิมปลูกเฉพาะที่สูงแต่ปัจจุบัน แหล่งปลูกเบญจมาศสำคัญอยู่บริเวณที่ราบแต่ยังไม่มีพันธุ์เบญจมาศที่เหมาะสม ส่งผลให้ประเทศไทยยังต้องมี การนำเข้าเบญจมาศจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี จำเป็นต้องปรับปรุงพันธุ์เบญจมาศ สำหรับพื้นที่ราบโดยการ ทดลองนี้ต่อเนื่องมาจากชักนำให้เบญจมาศกลายพันธุ์ในปี 2557 ได้ต้นเบญจมาศรุ่น M1V3 ใน 5 พันธุ์ จำนวน 1,675 เบอร์ นำต้นดังกล่าวคัดเลือกเป็นเบญจมาศประเภทตัดดอกในรุ่น M1V4 แบบเรียบตามเบอร์/ ต้นโดยมีเบญจมาศพันธุ์ไรวารี และพันธุ์ตั้งต้นก่อนฉายรังสีเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ และคัดเลือกต่อเนื่องในรุ่น MV5 ให้ได้ 5-9 สายพันธุ์/พันธุ์ตั้งต้น ทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษในปี 2558-2559
ผลการทดลอง ในปี 2558 สามารถคัดเลือกพันธุ์เบญจมาศกระถางดีเด่นจากเบญจมาศรุ่น M1V3 ได้ทั้งหมด 225 เบอร์ แบ่งเป็น พันธุ์ม่วงยะลารุ่น M1V4 ได้พันธุ์ดอกช่อ 73 เบอร์ พันธุ์เหลืองยะลารุ่น M1V4 ได้พันธุ์ดอกช่อ 40 เบอร์ พันธุ์เหลืองขมิ้นรุ่น M1V4 ได้ดอกช่อ 16 เบอร์ พันธุ์ขาวญี่ปุ่นรุ่น M1V4 ได้พันธุ์ดอกเดียว 86เบอร์ และพันธุ์เรโซมีรุ่น M1V4 ได้พันธุ์ดอกเดียว 13 เบอร์
ปี 2559 คัดเลือกต้นดีเด่นจากพันธุ์เบญจมาศดีเด่นจากรุ่น M1V4 ได้ทั้งหมด 40 เบอร์ แบ่งเป็นพันธุ์ม่วงยะลารุ่น M1V 5 ได้พันธุ์ดอกช่อ 10 เบอร์ สำรอง 3 รวม 13 เบอร์ พันธุ์เหลืองยะลารุ่น M1V5 ได้พันธุ์ดอก ช่อ 8 เบอร์ พันธุ์เหลืองขมิ้นรุ่น M1V5 ได้พันธุ์ดอกช่อ 6 เบอร์ พันธุ์ขาวญี่ปุ่นรุ่น M1V5 ได้พันธุ์ดอกเดียว 10เบอร์ และพันธุ์เรโซมีรุ่น M1V 5 ได้พันธุ์ดอกเดียว 3 เบอร์ สรุปผลการทดลอง คัดเลือกเบญจมาศตัดดอก 54 เบอร์ เป็นพันธุ์ดอกเดียวได้ 19 เบอร์ และดอก ช่อ 46 เบอร์ เพื่อปลูกทดสอบในปี 2560-2561
หมายเหตุ การมีพันธุ์สำรองไว้เนื่องจากเบญจมาศการขยายพันธุ์โดยการชำยอดหากพันธุ์คัดเลือกขยายปริมาณได้ยาก อาจต้อง
เปลี่ยนเบอร์ใหม่
ทะเบียนเลขที่
1/ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังกวัดศรีสะเกษ